Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540
ก้าวใหม่ไทยพาณิชย์ ปีนี้ต้องเป็น LEARNING             
โดย อนุสรา ทองอุไร
 

   
related stories

ดร.โอฬาร ไชยประวัติ

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
วิชิต อมรวิรัตนสกุล
Banking and Finance




ในปีนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ก็กลับมาชิงตำแหน่งธนาคารแห่งปี 2539 จากการจัดอันดับของวารสารทางการเงินการธนาคาร และถือได้ว่าเป็นการครองตำแหน่งนี้เป็นสมัยที่ 5 หลังจากที่เคยได้รับตำแหน่งไปเมื่อปี 2531-2534

การที่แบงก์ไทยพาณิชย์กลับมาทวงแชมป์ได้อีกครั้ง เป็นผลสืบเนื่องมาจากความสามารถด้านการตลาดและการจัดการทั่วไปที่เป็นอันดับ 1 ทั้ง 2 ด้าน โดยในแง่การตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์มีอัตราการขยายตัวของสาขาอย่างต่อเนื่อง

โดยมีการขยายสาขาถึง 51 สาขา มากที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์ นอกจากนั้น การติดตั้งเครื่องกดเงินอัตโนมัติ หรือเอทีเอ็ม ถือว่าเป็นอันดับสองรองจากธนาคารกรุงเทพโดยไทยพาณิชย์มี 123 เครื่อง ส่วนของธนาคารกรุงเทพมี 227 เครื่อง

นอกจากนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ยังสามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสาขาได้ ในแง่ปริมาณเงินฝากต่อสาขา เดิมเคยทำได้เฉลี่ย 74.44 ล้านบาท ก็เพิ่มขึ้นเป็น 181.96 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 107%

ขณะเดียวกันในแง่สินเชื่อต่อสาขาเพิ่มจาก 122.46 ล้านบาท เป็น 204.99 ล้านบาท หรือมีอัตราการเติบโตถึง 67.37% ตัวเลขดังกล่าวเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่า จุดขายหรือสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์มีเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลจากการปรับรูปแบบงานขององค์กรของธนาคารเป็นระบบ CBPM (CUSTOMER BASED BUSINESS PROCESS MANAGEMENT) ที่ยึดเอาลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญ โดยสาขาแต่ละแห่งจะต้องเป็นผู้ที่กำหนด วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ที่รับผิดชอบ รวมถึงวิเคราะห์สินค้าผลิตภัณฑ์ที่จะตอบสนองกลุ่มลุกค้าและออกไปทำตลาดตามที่ได้วิเคราะห์ไว้

ในแง่การจัดการทั่วไป ธนาคารไทยพาณิชย์มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างมาก ขณะเดียวกันก็มีการปรับปรุงองค์กรและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต

สำหรับผลประกอบการช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2538 ธนาคารไทยพาณิชย์สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 มีกำไรหลังหักภาษี 2,333.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาจำนวน 339.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น 17.03%

ส่วนกำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 6.13 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 16.98% สำหรับสินทรัพย์ที่เป็นเงินสดและเงินฝากกับสถาบันการเงินมีทั้งสิ้น 13,456 ล้านบาทเศษ

ซึ่งวิชิต อมรวิรัตน์สกุล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโสสายงานเทคโนโลยี ของธนาคารไทยพาณิชย์เคยกล่าวกับผู้จัดการรายเดือนไว้ว่า

"ในแต่ละปีเราลงทุนเรื่องการพัฒนาคนและเทคโนโลยีสูงมาก โดยเฉพาะในระยะ 2-3 ปีมานี้ เราลงทุนในเรื่องการฝึกอบรมและเทคโนโลยีประมาณ 40% ของค่าใช้จ่ายรวม หรืออาจจะมากกว่า ซึ่งสูงมากนะครับ อาจจะมากที่สุดในกระบวนธนาคารทั้งหมดก็เป็นได้"

ทางด้านเป้าหมายสำคัญในอนาคตของธนาคารไทยพาณิชย์นั้น ก็คือการปรับปรุงองค์กรให้เป็นรูปแบบของ LEARNING ORGANIZATION ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นองค์กรที่กระตุ้นการเรียนรู้ และเกิดการถ่ายทอดงานระหว่างบุคลากรในองค์กรอย่างที่ไม่มีสะดุด และทำให้เกิดองค์กรที่สามารถสร้างคน ขณะเดียวกันคนก็จะมาช่วยสร้างองค์กรให้เข้มแข็ง

ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโสสายงานเทคโนโลยี บอกว่า "ในความเป็นจริงแล้ว นี่ก็ถือว่าเป็นการรีเอ็นจิเนียริ่งอย่างหนึ่งเหมือนกันแต่วิธีการอาจจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดฯ

ทางด้านแนวคิดหรือรูปแบบของ LEARNING ORGANIZAITON นั้น ดร.โอฬารเคยกล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่า ตนได้รับอิทธิพลมาจากแนวการคิดการบริหารของ ปีเตอร์ เซงกี้ ซึ่งปีเตอร์ เซงกี้นี้ถือได้ว่าเป็นศิษย์สถาบันเดียวกันกับ ไมเคิล แฮมเมอร์ ผู้เป็นต้นตำรับแนวคิดเรื่องรีเอ็นจิเนียริ่ง

"แต่ถึงแม้ทั้งปีเตอร์ เซงกี้ และไมเคิล แฮมเมอร์ จะจบการศึกษามาจากที่เดียวกันและเป็นผู้โด่งดังในฐานะเจ้าของแนวคิดทฤษฎีด้านการบรหารงานสมัยใหม่ด้วยกันทั้งคู่ แต่ว่ากระบวนการของการแปรสภาพองค์กรให้กลายเป็น LEARNING ORGANIZATION กับองค์กรที่ทำ RE-ENGINEERING นั้น ก็มีรากฐานและแนวความคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันอยู่มาก"

แต่ว่าขณะนี้สถาบันการเงินในประเทศไทยได้นำแนวคิดทั้งสองรูปแบบมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยซีกของธนาคารกสิกรไทยก็นำเอาเรื่องรีเอ็นจิเนียริ่ง มาใช้จนถือว่าเป็นรายแรกในประเทศไทย ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ ก็มาใช้เรื่องของ LEARNING ORGANIZATION เป็นอันดับแรก ๆ เช่นกัน ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารรายหนึ่ง กล่าวให้ฟังตอนหนึ่งถึงการสนทนากัน ในระหว่างผู้บริหารระดับสูงว่า

"สิ่งที่ธนาคารมุ่งเน้นที่สุดอีกเรื่องหนึ่งในปีหน้าก็คือ การเป็นธนาคารที่มีการบริหารการจัดการดีที่สุดในทุก ๆ ด้านทั้งบุคลากร เทคโนโลยี กำไร อัตราการเติบโต และวางเป้าหมายว่าพยายามรักษาระดับการเติบโตให้ได้เฉลี่ยปีละ 20%"

กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ ยังกล่าวต่อไปถึงนโยบายที่จะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของพนักงานทั้งระดับปฏิบัติการ และระดับบริหารว่ามีด้วยกันอยู่หลายส่วน เช่น ล่าสุดได้มีการตกลงร่างสัญญาไปแล้วกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยคณะเศรษฐศาสตร์และบัญชี เพื่อจะร่วมกันเปิดสอนทางด้านเอ็มบีเอในระดับบริหาร ซึ่งคาดว่าจะเริ่มได้ในปีการศึกษาหน้า

สำหรับที่กำลังทำอยู่ตอนนี้ คือ การร่วมกับมหาวิทยาลัยพายัพ ที่เชียงใหม่เปิดสอนวิชาทางด้านการบริหาร-การเงิน

"โดยเราให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี และคอยเสนอแนะว่า ทางด้านการเงินตอนนี้ต้องการบุคลากรแบบไหน เพื่อเขาจะผลิตได้สอดคล้องกับตลาดแรงงานจริง ๆ บางทีเราไปเซ็ทวิชาที่จะสอนให้ด้วยโดยที่สถาบันไม่ต้องเสียอะไรเราออกให้ทุกอย่าง มหาวิทยาลัยก็เก็บค่าหน่วยกิตไปฟรี ๆ ส่วนนักศึกษาที่เรียนวิชานี้และใกล้จบเราจะรับสมัครมาทำงานที่ธนาคารเลย โดยให้ผลตอบแทนสูงกว่าทั่ว ๆ ไปประมาณ 10%"

นอกจากนั้น ก็ยังมีที่ส่งไปอบรมและดูงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง หลังจากที่ทำงานไปได้ระยะหนึ่ง และระดับบริหาร ซึ่งขณะนี้ทางธนาคารส่งเสริมที่จะให้พนักงานมีการเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา

สำหรับบทบาททางด้านการเป็นประธานสมาคมของสมาคมธนาคารไทยนั้น ในปีนี้ มีเรื่องที่จะมุ่งเน้นใน 2 ประการหลัก คือ เรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะระยะ 1-2 ปีมานี้ สาขาของธนาคารต่าง ๆ ถูกปล้นกันบ่อยมากและไม่สามารถจับผู้ร้ายได้ แม้ส่วนใหญ่จะมีโทรทัศน์วงจรปิดอยู่แต่ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก โดยที่สมาชิกสมาคมทั้งหมดจะหามาตรการร่วมกันเพื่อช่วยตัวเอง หรือลดความถี่ให้น้อยที่สุด

และอีกเรื่องก็คือ การส่งเสริมด้านความรู้และวิทยากรใหม่เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นการแชร์ความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us