Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540
ดร.โอฯ รายวัน รับปรึกษาทั่วราชอาณาจักร             
โดย อนุสรา ทองอุไร
 

 
Charts & Figures

บริษัทในเครือของธนาคารไทยพาณิชย์


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
โอฬาร ไชยประวัติ
Banking and Finance




ในช่วงรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ถือว่าเป็นช่วงที่ผู้คนส่วนใหญ่ลงมติว่า เศรษฐกิจของประเทศกำลังถูกย่ำยีอย่างหนัก ภาพพจน์ของผู้นำประเทศติดลบลงเรื่อย ๆ แต่ในขณะเดียวกันบทบาทของคน ๆ หนึ่งก็โดดเด่นขึ้นมาในช่วงนี้เอง "เด่น" จนหาตัวจับยาก ด้วยบทบาทที่สวมอยู่มากมายหลายด้าน เขาทำได้อย่างไร และทำได้ดีแค่ไหน หลายคนเตือนว่า ระวังจะเล่นผิดบท!! ดร.โอฬาร ไชยประวัติ!!

เล่นหลายบททั้งภาครัฐและเอกชน ระวังจะงงไปกันใหญ่

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้ ชื่อของ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์จะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับมาตรการสำคัญ ๆ ในการช่วยเหลือเศรษฐกิจของทางการเกือบจะทุกเรื่อง บทบาทของเขาในระยะหลังเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่ได้รับเลือกให้เป็นประธานสมาคมธนาคารฯ คนล่าสุดต่อจาก ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ถ้าพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใดนัก เพราะในเรื่องความรู้ความสามารถนั้นก็มีอย่างล้นเหลือ

แม้กระทั่งผู้เกี่ยวข้องทางการเงินอย่าง เอกกมล คีรีวัฒน์ อดีตเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และอดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ยังเคยกล่าวอย่างจริงใจว่า

"ถ้าถามว่าตอนนี้ใครเก่งพร้อมทั้งเรื่องเศรษฐศาสตร์ การเงิน การธนาคาร และหุ้น ตอนนี้ผมรับประกันได้เลยว่า ดร.โอฬารติดหนึ่งใน 5 ของระดับเซียน"

นอกจากมีความรอบรู้เรื่องเศรษฐกิจเป็นอย่างดีแล้ว ถือว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจเรื่องการเมืองอย่างใกล้ชิดด้วย จึงมีข่าวอยู่เสมอ ๆ ว่า ได้ถูกเชิญให้เป็นที่ปรึกษาของนักการเมืองคนนั้นพรรคการเมืองโน้นนี้อยู่บ่อย ๆ

จะว่าไปแล้ว ดร.โอฬาร มิได้เป็นเพียงที่พึ่งในยามยากที่เกิดภาวะวิกฤตหรือขาดความเชื่อมั่นเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทในการผลักดันมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงทางอ้อม

และเมื่อถึงรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา ชื่อของ ดร.โอฬาร ก็ถูกเสนอเข้าเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี และควบเป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บดี จุณณานนท์ ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าในขณะนั้น ซึ่งอยู่ในช่วงที่ภาวะเงินเฟ้อสูงถึง 7.4% อีกทั้งตัวเลขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็ขยับมาที่ 8.1% ของจีดีพี

ทั้งที่ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมานั้น ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยประสบความสำเร็จในการใช้นโยบายการเงินคุมเข้ม รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจได้ดี ทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง จาก 7.4% เมื่อปลายปี 2538 มาเหลือที่ 5.4% ในเดือน ก.ค. 2539

ในยามที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2539 ทำให้นโยบายการตรึงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย อาจจะกลายเป็นดาบสองคมไปในสายตาของนักธุรกิจ ซึ่งทางหนึ่งที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจพ้นวิกฤตโอเวอร์ฮีทไปได้ แต่ก็ทำให้ธุรกิจของประเทศประสบปัญหาแบกรับต้นทุนที่สูงจนส่งผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะซบเซา

สถานการณ์ซบเซาของเศรษฐกิจที่กลายเป็นปัญหาการเมืองนี้เอง ที่ทำให้ข้อเสนอของ ดร.โอฬาร เริ่มเห็นผลมากขึ้น เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจาก ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทย มาเป็น บดี จุณณานนท์ ดร.โอฬารก็ถูกเรียกหาให้มาเป็นที่ปรึกษาตามเคย

"ตอนนี้นโยบายในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไม่ควรเน้นการควบคุมอุปสงค์ แต่หันมาใช้นโบบายด้านอุปทานได้แล้ว เรื่องคุมดอกเบี้ยตอนนี้อาจจะใช้ไม่ได้ผลเพราะสถานการณ์มันเปลี่ยนไป"

นั่นคือคำกล่าวของ ดร.โอฬาร ที่พูดถึงทฤษฎีการรับมือในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำภายหลังการประชุมตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 6 ราย ในการที่จะช่วยเหลือธุรกิจส่งออก 19 รายที่อยู่ในอาการโคม่า เมื่อ 3-4 เดือนที่ผ่านมาจากการประชุมในครั้งนั้น พอจะเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า ณ เวลานั้นข้อเสนอของ ดร.โอฬาร ที่เน้นเรื่องนโยบายด้านปริมาณการผลิตกำลังเป็นจริง

ถ้าจะว่าไปแล้วความสำเร็จครั้งนี้มิเพียงแต่จะเกิดจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่เป็นใจเท่านั้น แต่เพราะ ดร.โอฬาร ไม่เพียงแต่จะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศเท่านั้น แต่ถือว่ายังเป็นตัวแทนองสถาบันการเงินอย่างเต็มตัวในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย ตามด้วยตำแหน่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังควบมาด้วย

นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่งอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วนทั้งเวทีการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น การเป็นวุฒิสมาชิก เป็นคณะกรรมการนโยบายเพื่อเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น

"ทุกตำแหน่งที่คุณโอฬารได้รับล้วนมีหน้าที่ล้นมือทั้งสิ้น แค่เฉพาะงานที่ไทยพาณิชย์เองสองมือก็จะเอาไม่อยู่แล้ว แถมตำแหน่งประธานสมาคมธนาคารไทยก็ไม่ใช่น้อย ซึ่งบทบาททุกวันนี้มากกว่าประธานในสมัยก่อน ๆ เช่น การเข้าช่วยเหลือซื้อหุ้นในธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ (บีบีซี) การมีส่วนร่วมในการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นเพื่อช่วยฟื้นฟูภาวะตลาดหุ้น รวมถึงการร่วมกันแก้วิกฤตการณ์อุตสาหกรรมส่งออกที่มีปัญหา 19 รายการ" แหล่งข่าวระดับสูงในธนาคารไทยพาณิชย์กล่าวให้ความเห็น

และล่าสุดคือปัญหาเกี่ยวกับการขาดสภาพคล่องในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในช่วงต้นเดือน พ.ย. ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้หารือกับสมาคมธนาคารไทย เพื่อหารือถึงแนวทางการแก้วิกฤตธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะนโยบายด้านการเงินเพื่อกระทุ้งให้ทางการผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มสินเชื่อที่ดิน และเป็นการช่วยต่อลมหายใจให้กับธุรกิจอื่น ๆ ด้วย

ในช่วงที่ ดร.โอฬาร เล่นหลายบทเช่นนี้ ทั้งเป็นตัวแทนจากภาครัฐและตัวแทนของภาคเอกชน ทำให้ในบางครั้งก็มีคำถามเกิดขึ้นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการธนาคารพาณิชย์บ้างเหมือนกัน เช่น กรณีที่ต้องมีการลงขันของธนาคารทั้ง 14 แห่งเพื่อช่วยฟื้นฟูธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การนั้นมีแหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่งในแวดวงธนาคารพาณิชย์กล่าวด้วยความหงุดหงิดว่า

"การที่สมาคมธนาคารไทยจะต้องลงขันในกองทุนพยุงหุ้น หรือกองทุนฟื้นฟูให้บีบีซีนั้น สมาชิกส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้มาก่อน ในตอนแรกอาจจะเกิดจากประธานสมาคมฯ ไปรับเรื่องมาโดยที่ยังไม่ได้หารือกับสมาชิกเลย ในแต่ละปีที่มีปัญหาเราต้องลงเงินไปทีละ 700-800 ล้านบาท เราก็เสียดาย แล้วยิ่งถ้าเป็นธนาคารขนาดใหญ่ก็ต้องลงขันมากตามสัดส่วนของสินทรัพย์ ถ้าในภาวะที่เศรษฐกิจดีก็ไม่เป็นไรหรอก แต่เศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้ เราก็ต้องประคับประคองตัวเองอยู่เหมือนกัน แล้วปีนี้ลงเงินไปตั้ง 3 ครั้ง คือ กองทุนพยุงหุ้น 5,000 ล้านบาท โครงการปล่อยกู้ให้โบรกเกอร์อีก 6,400 ล้านบาท และของบีบีซีอีก 7,000 ล้านบาท รวมแล้วปีนี้พวกเราต้องลงขันทั้งหมด 18,400 ล้านบาท ถึงขนาดบางรายลุกขึ้นคัดค้านก็มี"

แหล่งข่าวอีกรายหนึ่งในวงการธนาคาร กล่าวเสริมในเรื่องเดียวกันนี้ว่า "บางครั้งเราก็พยายามมอง ดร.โอฬาร อย่างเข้าใจนะ แต่บางทีก็อดที่จะเกิดคำถามกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ไม่ได้ว่าสับสนหรือไร เช่น ในฐานะที่ปรึกษาของนายกฯ หรือรัฐมนตรีคลังก็อาจจะถูกขอร้องให้ช่วยเรื่องกองทุนพยุงหุ้น หรือ บีบีซี แต่ในฐานะประธานสมาคมทหารไทยก็จะถูกสมาชิกขอร้องให้ช่วยมาต่อรองกับรัฐบ้าง แต่ดร.โอฬารเหมือนอยู่ตรงกลาง โดนอัดมาจากทั้งข้างล่างและข้างบน แต่เพราะรับหลายบทอย่างนี้ภาพมันเลยซ้อนทับกันอย่างแยกไม่ออก"

ดึงธารินทร์คืนรัง หวังรีเอ็นจิเนียริ่งรอบใหม่

การรับหลายบทบาทเช่นนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดคำถามเฉพาะกรณีของสมาคมธนาคารไทยเท่านั้น แต่เคยมีคำถามในหมู่นักการเงินด้วยกันบ้างประปราย ในลักษณะที่การเป็นข่าวของ ดร.โอฬาร ในรอบ 3-4 เดือนที่ผ่านมาว่าทำอย่างไรถึงได้เป็นข่าวได้ทุกวัน

ภาวะงานล้นมือของ ดร.โอฬาร ในระยะหลังคงเข้าตาคณะกรรมการของธนาคารไทยพาณิชย์ จนกระทั่งการประชุมคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งมีประจิตร ยศสุนทร เป็นประธานกรรมการบริหาร เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมาได้ลงมติแต่งตั้งให้ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ กรรมการของธนาคารฯ และเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่คนก่อนหน้าของธนาคารไทยพาณิชย์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้มาดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2539 เป็นต้นไป

เหตุผลของประจิตร ในการดึงธารินทร์ มาคืนรังนั้น เขาบอกเพียงคร่าว ๆ ว่าที่ประชุมคณะกรรมการของธนาคารฯ เห็นว่า ธนาคารพาณิชย์กำลังเผชิญหน้าสู่ความยากลำบากในการบริหารงาน ขณะที่ ดร.โอฬาร เองก็มีงานล้นมือทั้งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และยังสวมหมวกหลายใบในเวทีการเมือง

"นอกจากนี้ บทบาทของประธานสมาคมธนาคารไทยยังมีภารกิจมากมาย จึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างให้เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารแบงก์ และแบงก์เองก็มีธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นมากมาย"

แหล่งข่าววงในรายหนึ่งในธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การแต่งตั้งธารินทร์ เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของธนาคารฯ นั้น เนื่องจากขณะนี้ธนาคารฯ และกิจการในเครือทั้งหมดอยู่ระหว่างการเตรียมปรับโครงสร้างการบริหารงานภายในหรือรีเอ็นจิเนียริ่งรอบใหม่ จึงต้องมีการจัดสรรบุคลากรให้เหมาะสมกับสายงาน

โดยเฉพาะในส่วนของผู้บริหารระดับสูง จำเป็นต้องปรับโครงสร้างการบริหาร เพื่อแบ่งแยกสายงานความรับผิดชอบออกเป็น 2 สายประกอบด้วยสายธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และสายธุรกิจการลงทุนหรือบริหารกิจการในเครือ

สำหรับโครงสร้างที่จะปรับเปลี่ยนใหม่นั้น สายธุรกิจธนาคารพาณิชย์จะมี ดร.โอฬาร เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานของธนาคารฯ ทั้งหมด ขณะที่ในด้านธุรกิจการลงทุนและบริหารกิจการในเครือของธนาคารฯ นั้น ธารินทร์จะเข้ามารับผิดชอบดูแลการลงทุนของธนาคารฯ และกิจการในเครือต่าง ๆ เช่น การร่วมทุนในบริษัทสยามอินโฟร์เทนเมนท์ หรือสถานีโทรทัศน์เสรีไอทีวี

เหตุผลที่ต้องมีการปรับโครงสร้างของธนาคารครั้งนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเพื่อให้งานของธนาคารฯ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีผู้ที่เข้ามาดูแลอย่างเหมาะสม

"ประกอบกับกรรมการผู้จัดการใหญ่เองก็ค่อนข้างมีงานล้นมือ หากจะให้รับผิดชอบทั้งหมดก็อาจจะหนักเกินไป อาจจะทำให้งานไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร การที่คุณธารินทร์เข้ามาจะมาช่วยกำหนดทิศทางและนโยบายการบริหาร ซึ่งจะทำให้กิจการทั้งเครือของค่ายไทยพาณิชย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรับมือกับการแข่งขันของธุรกิจการเงินที่มีความเข้มข้นขึ้นทุกขณะ" แหล่งข่ายรายเดิมกล่าว

การเข้าร่วมบริหารงานของธารินทร์ครั้งนี้ สร้างความเชื่อมั่นให้กับคณะกรรมการของธนาคารฯ มาก แม้ว่าสไตล์การบริหารงานของ ดร.โอฬาร กับธารินทร์ จะแตกต่างกันมาก แต่เชื่อว่า จะผสมผสานกันได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีผู้ช่วยบริหารมือดีอย่าง ชฏา วัฒนศิริธรรม รองผู้จัดการใหญ่ และประกิต ประทีปะเสน กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ร่วมบริหาร ยิ่งทำให้ทีมบริหารของธนาคารไทยพาณิชย์มีประสิทธิภาพและน่ากลัวมากยิ่งขึ้น

สำหรับความเห็นของ ดร.โอฬาร ในการกลับมาคืนรังครั้งนี้ของธารินทร์นั้นเป็นสิ่งที่ดี

"ทำไมทุกคนต้องมองว่าเป็นเรื่องแปลก ในเมื่อคุณธารินทร์ก็เป็นคนเก่าแก่ของที่นี่ และยังคงเป็นบอร์ดของธนาคารอยู่ ซึ่งตอนนั้นยังไม่สมัคร ส.ส. ก็ว่างอยู่ คนดีมีความรู้ความสามารถเราควรจะฉกฉวยไว้ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวคนอื่นจะชวนไปทำงานให้มาเป็นคู่แข่งเรา ทำไมงานที่ไทยพาณิชย์มีเยอะแยะก็มาช่วย ๆ กันก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ตอนนี้คุณธารินทร์ไปเล่นการเมืองอาจจะหยุดไปสักระยะก่อนแล้วอาจจะกลับมาใหม่พวกเราทุกคนที่นี่ยินดีต้อนรับเสมอ" ดร.โอฬาร กล่าวด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส

เมื่อธารินทร์ตัดสินใจไปเล่นการเมืองในครั้งนี้ บทบาทที่ไทยพาณิชย์จำต้องยุติไว้ชั่วคราวก่อน สำหรับผู้ที่จะไปดูแลแทนนั้นขณะนี้ยังไม่มี เพียงแต่ส่งผู้บริหารไป แต่ระดับบอร์ดนั้นอาจจะต้องพิจารณาดูใหม่หรือไม่อย่างนั้น ดร.โอฬารอาจจะต้องรับหน้าเสื่อแทนไปก่อนและทุกอย่างยังคงดำเนินไปตามปกติ

เปิด 4 กลยุทธ์รับมือเศรษฐกิจฟุบปีหน้า

เปิดใจ ดร.โอฬาร ถึง 4 กลยุทธ์แก้เศรษฐกิจซบเพื่อเตรียมรับมือและไปแข่งขันกับตลาดโลกเพราะมั่นใจว่าใช้นโยบายการเงินอย่างเดียวอาจไม่ได้ผล เนื่องจากตอนนี้ดีมานด์มีมากกว่าซัปพลาย แถมยังอยู่ในช่วงของเศรษฐกิจชะลอตัว การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่มีความทันสมัยระดับชาติในการที่จะแก้ปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

สำหรับกลยุทธ์ 4 ข้อที่ควรจะยึดปฏิบัติไว้ คือ ประการแรก ต้องมีการเร่งรัดการส่งออก เมื่อสิบปีที่ผ่านมา การส่งออกมีการขยายตัวสูงมาก ซึ่งขณะนั้นไม่มีใครทราบว่าสาเหตุที่แท้จริงแล้วอะไรที่ทำให้การส่งออกขยายตัวปีละไม่ต่ำกว่า 10-15%

ดร.โอฬาร กล่าวชี้แจงว่า "ปีนี้จึงตั้งเป้าการส่งออกให้โตในระดับ 18% โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีที่ 11 นี้ยังไปได้ดี โอกาสผิดพลาดมีน้อยซึ่งตอนแรกช่วงต้นปี ผมก็คิดว่าน่าจะขยายตัวได้เช่นนั้น แต่เมื่อการส่งออกในไตรมาสแรกของปีออกมาแค่ 5% แสดงว่ามีอะไรผิดปกติ ผมจึงเริ่มเตือนว่าเราคงจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อรับมือกันไว้บ้างแล้ว อะไร ๆ คงไม่สดใสเหมือนอย่างเคยซะแล้ว"

บิ๊กบอสแบงก์ไทยพาณิชย์ ขยายความต่อไปว่า ณ ระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ที่ไม่ได้สูงอย่างปีที่ผ่านมา ข้อสมมุติฐานของสภาพเศรษฐกิจที่ดีมานด์มากกว่าซัปพลายและใช้นโยบาย DEMAND MANAGEMENT โดยใช้ดอกเบี้ยแพงเริ่มไม่ได้ผลตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว เพราะขณะนี้ปัญหาดีมานด์มากกว่าซัปพลายในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งจะต่างกับเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาที่ดีมานด์มากกว่าซัปพลายในภาวะเศรษฐกิจขยายตัวสูง

ดังนั้น การแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากโจทย์ที่ไม่เหมือนเดิมแล้ว นโยบายการเงินจึงใช้ไม่ได้ผล ก็ต้องมาหาวิธีแก้ปัญหามาสู่อีกด้านหนึ่ง คือ ด้าน SUPPLY SIDE นั่นคือ ในเรื่องของประสิทธิภาพการผลิต โดยที่จะดูได้จากสินค้าส่งออก 42 รายการ เพื่อหาปัญหาตัวเลขที่ออกมาบ่งบอกได้อย่างชัดเจนในกลุ่ม ที่ส่งออกดีขยายตัวเพิ่มถึง 15% ขณะที่กลุ่มที่มีความซบเซามีด้วยกัน 18 รายการ มีการส่งออกลดลงถึง 20% ทั้ง ๆ ที่ผลิตในประเทศเดียวกัน สภาพเดียวกัน ตลาดเดียวกัน แต่ผลประกอบการของสินค้า 2 กลุ่มนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

จึงมีข้อสรุปออกมาชัดเจนว่า ความสามารถในการแข่งขันของแรงงานไทย ไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปแข่งขันกับประเทศเพื่อน และในตลาดโลกได้ ซึ่งก็ต้องมาหาสาเหตุให้ได้ว่าไทยแข่งขันไม่ได้เพราะอะไร เพราะเทคโนโลยีต่ำ หรือไทยไม่ได้ปรับสินค้าให้มีมูลค่าสูงขึ้น หรือคู่แข่งผลิตของเก่งกว่าไทย และหรือประเทศคู่ค้ากีดกันไทย เป็นต้น

ดร.โอฬาร เล่าให้ฟังต่อไปว่า "จากตัวเลขการส่งออกที่ชะลอตัวลง แบงก์ได้มีการศึกษามาตลอดและพอจะแยกแยะแต่ละรายการดูว่า คงจะเป็นเรื่องของประสิทธิภาพในการแข่งขันที่หมดไปแล้ว จึงทำให้เกิดภาวะตกต่ำ การแก้ไขต้องดูปัญหาหลักของแต่ละสินค้า และมุ่งแก้ไขปัญหาหลักก่อน เช่น ถ้ามีปัญหาคืนภาษีช้า ก็ต้องเร่งคืนภาษีให้กับผู้ผลิตเร็วขึ้น"

ส่วนการถ่ายทอดวิธีการแก้ปัญหาจำเป็นจะต้องมีสถาบันกลาง ทำหน้าที่เพื่อส่วนรวมในการถ่ายทอดกระบวนความสำเร็จ อาทิ สถาบันมันสำปะหลัง สถาบันสิ่งทอ โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนให้เอกชนก่อตั้งและเป็นศูนย์กลางในการที่จะถ่ายทอดความจำเป็นในการปรับตัว กระบวนการฝึกอบรม การปรับปรุงโรงงานตัวเอง เป็นต้น

ประการที่สอง ต้องมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น จะเรียกว่ารุ่งเรืองที่สุดก็เป็นได้ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโตติดต่อกันมาปีละประมาณ 9-10% ซึ่งตรงข้ามกับปัจจุบันนี้ที่เป็นแนวโน้มขาลง อีกทั้งมีปัญหาเรื่องการเมืองเข้ามาแทรกแซงทำให้ปัญหาเศรษฐกิจที่ขาดเสถียรภาพอยู่แล้วยิ่งตกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบถึงปัญหาเงินเฟ้อและขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ในความเห็นของ ดร.โอฬาร นั้นเขาเชื่อว่า ส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาดังกล่าว คือ การใช้นโยบายการเงินหรือ DEMAND MANAGEMENT เพราะเชื่อว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาในขณะนี้มาจากดีมานด์มากกว่าซัปพลาย

เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องมีโอเวอร์ฮีท เพราะความต้องการของคนในประเทศมีมากกว่าของที่มีในประเทศ โรงงานในประเทศก็โอเวอร์ฮีท มีเงินเฟ้อและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง เมื่อดีมานด์มีมากเกินไปก็ต้องดึงดีมานด์ให้ต่ำลง โดยการใช้นโยบายการเงิน คือ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอการใช้จ่าย และพยายามที่จะเพิ่มซัปพลายขึ้น โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อเป็นดังนั้นซัปพลายก็จะเท่ากับดีมานด์หรือมากกว่า

กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า สถานการณ์ของปัญหาเศรษฐกิจในแต่ละช่วงจะบีบให้ต้องคิดวิธีการใหม่ในการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาแต่ละครั้งจะไม่ตายตัวว่าวิธีนี้จะได้ผลทุกครั้งไป ต้องเลือกให้เหมาะสม ตามแต่สถานการณ์แต่ละครั้ง การแก้ปัญหาเหมือนกับเป็นพหูพจน์ ว่าจะเลือกแบบไหนให้เหมาะเจาะลงตัว จับคู่กันให้ถูกสถานการณ์ก็จะคลี่คลายได้

ดร.โอฬาร กล่าวเพิ่มเติมสำหรับการปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมนั้นต้องมีความชัดเจนว่าอุตสาหกรรมใดจะไปได้ และอะไรที่ไปไม่ได้แล้ว ซึ่งพอจะสรุปภาพรวมคร่าว ๆ ไว้ได้ 5 ประเภทด้วยกัน คือ

1. อุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานไม่สามารถที่จะแข่งขันได้แล้ว

2. อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขนาดกลาง มีแนวโน้มว่าพอจะไปได้


3. อุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสูงต้องพัฒนาคนให้ทันใน 10 ปีข้างหน้า

4. อุตสาหกรรมดั้งเดิม คือ อุตสาหกรรมการเกษตรจะต้องมีสถาบันกลาง ในการถ่ายทอดความสำเร็จ


5. อุตสาหกรรมบริการต้องใช้แรงงานมาก เทคโนโลยีปานกลางและล้ำสมัย และถ้าเป็นอุตสาหกรรมบริการทางด้านการเงินจำเป็นต้องใช้คนที่มีความรู้ความสามารถมีความเชี่ยวชาญมากกว่าอุตสาหกรรมโรงงาน

ประการต่อมา คือ การส่งเสริมหรือเร่งระดมเงินออมภายในประเทศ ซึ่งทางธนาคารไทยพาณิชย์ก็สนองนโยบายนี้ด้วยดีด้วยการออกบริการเงินฝากระยะยาวปราศจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินฝากที่มีการฝากเงินประจำเดือนละเท่า ๆ กันไม่น้อยกว่า 24 เดือน แต่ละเดือนไม่เกิน 25,000 บาท และมีวงเงินฝากรวมไม่เกิน 600,000 บาท ซึ่งล่าสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา ได้เปิดตัวบริการดังกล่าว 2 ประเภทด้วยกัน คือ เงินฝากเพิ่มทรัพย์ และเงินฝากวิวาห์เปี่ยมสุข

ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2538 ก็ได้ออกบริการเงินฝากระยะยาวในลักษณะใกล้เคียงกัน คือ เงินฝากเพื่อการศึกษา และเงินฝากเพื่อการเคหะ ซึ่งเงินฝากระยะยาว ทั้ง 4 รายการได้รับความสนใจเป็นอย่างดี เนื่องจากดอกเบี้ยสูงและบริการเสริมแบบครบครัน ซึ่งถือว่าธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้บุกเบิกการฝากเงินออมในระยะยาวและมีบริการแบบต่อเนื่องและหลากหลายซึ่ง ดร.โอฬาร บอกว่า

"ผมเคยพูดไว้ในงานสัมมนาต่าง ๆ หลายครั้งตั้งแต่ช่วยต้นปีที่ผ่านมาว่า ปีนี้เศรษฐกิจของประเทศจะไม่สดใสเหมือนที่ผ่าน ๆ มา ระบบการเงินตึงตัว เตือนผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เตรียมรับมือ แต่ก็ไม่ค่อยมีคนฟังเท่าไหร่ จนเวลาล่วงเลยกลางปีมาแล้ว ถึงเห็นภาพชัดเจนว่า ปีนี้เศรษฐกิจบ้านเราไม่ดีเลยถึงได้หันมาฟังสิ่งที่ผมพูด"

ประการสุดท้าย คือ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่างประเทศจากหนี้ระยะสั้นให้เป็นหนี้ระยะยาว อย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป เพื่อแก้ปัญหาบัญชีเดินสะพัด ซึ่งในความเห็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์นั้นเชื่อว่า ภายในสิ้นปี 2539 หนี้ระยะสั้นคงลดลงเหลือไม่ถึง 20% เนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่างประเทศมันง่ายและเร็ว

"คือมันเป็นการกู้ระหว่างสถาบันกับสถาบัน เช่น ธนาคารกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ มันง่าย และพวกนี้มีความเข้าใจในเรื่องการปรับโครงสร้างทางการเงินเป็นอย่างดี ไม่เหมือนรายย่อยมากู้จะยุ่งยากกว่า"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us