|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทีโอทีเตรียมยื่นไฟลิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 29 พ.ย.นี้และคาดว่าจะเข้าตลาดฯได้ภายในไตรมาส 2 ปี 2549 ซีอีโอยันปัญหาทุกอย่างแก้ไขหมดแล้วทั้งค่าธรรมเนียมไลเซนส์ที่ต่อรองเหลือไม่เกินปีละ 2 พันล้านบาท ค่าเลขหมายปีละ 260 ล้านบาท และเสนอทำ USO เอง
นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ทีโอที กล่าวภายหลังประชุมบอร์ดว่า บอร์ดมีมติให้ทีโอทียื่นแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ (ไฟลิ่ง) ภายในวันที่ 29 พ.ย. นี้ และ คาดว่าจะสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ภายในไตรมาส 2 ปี 2549 หากไม่มีปัจจัยภายนอกหรือภาวะฉุกเฉินมากระทบ ซึ่งการยื่น ไฟลิ่งก็เพื่อเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ ทางภาษีประมาณ 5% ตามกฎของตลาดหลักทรัพย์และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด โดยจะยื่นไฟลิ่งผล การดำเนินงาน 6 เดือน ส่วนการทำคำ ชี้ชวนนักลงทุนและประชาชนทั่วไปจะใช้ผลการดำเนินงานเต็มปี 2548
สำหรับปัญหาหรือปัจจัยภายนอก ที่จะทำให้แผนการเข้าตลาดฯเลื่อนออกไปอีกนั้น คาดว่าภายในปี 2548 จะสามารถได้ข้อสรุปทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็น เรื่องค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบ กิจการโทรคมนาคม ที่คณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรียกเก็บ 3% จากรายได้ ก็จะมีการต่อรองและหักลดหย่อนบางอย่าง ทำให้ค่าธรรมเนียมที่ทีโอทีต้องจ่ายให้ กทช.ในปีนี้จนถึงปี 2550 เหลือปีละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท
ส่วนค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมเลขหมายละ 1 บาท ทีโอทีจะจ่ายเฉพาะเลขหมายที่ทีโอทีใช้จริง ซึ่งรวมกับเลขหมายบริษัทคู่สัญญาร่วมการงานทั้งเอไอเอส ทรูและทีทีแอนด์ที รวมกันประมาณ 22 ล้านเลขหมาย หรือปีละประมาณ 260 ล้านบาท เนื่องจากนโยบายไม่แปรสัญญาทำให้ทีโอทีต้องรับภาระค่าเลขหมายแทนเอกชน
สำหรับบริการโทรคมนาคมทั่วถึง หรือ USO นั้นทีโอทีจะไม่จ่าย 4% จากรายได้ของทีโอที แต่จะใช้วิธีให้บริการ USO ตามที่ กทช.กำหนดปีละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท เพราะจะเสีย เงินน้อยกว่าจ่ายให้ กทช. 4% ซึ่งที่ผ่าน มาทีโอทีลงทุนบริการโทรคมนาคมทั่วถึงไปแล้วกว่า 10 โครงการ หรือมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท
บอร์ดยังมีมติให้ทำหนังสือขอลดหย่อนภาษีสรรพสามิตกับกระทรวง การคลัง โดยจะขอลดหย่อนค่าภาษีสรรพสามิตโทรศัพท์พื้นฐานจากเดิมจ่าย 2.2% จากรายได้ให้เหลือเพียง 0% และภาษีสรรพสามิต โทรศัพท์มือถือจากเดิมจ่าย 11% จะขอลดหย่อนเหลือ 5.5% แต่เอกชนคู่สัญญาที่ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานทั้งทรูและทีทีแอนด์ทียังต้องจ่ายภาษีสรรพสามิต 2.2% เหมือนเดิม รวมทั้งเอไอเอสก็ยังคงต้องจ่ายภาษีสรรพสามิต 11%
นายธีรวิทย์กล่าวถึงค่าเชื่อมโครงข่ายหรืออินเตอร์คอนเน็กชันชาร์จว่า หลังจากหารือกับบริษัท กสท โทรคมนาคม เกี่ยวกับบริการโทรศัพท์ ต่างประเทศได้ข้อสรุปที่อัตรานาทีละ 1.07 บาท จากเดิมในระบบไอดีดี ทีโอทีได้นาทีละ 3 บาท ระบบวอยซ์โอเวอร์ไอพีหรือโทร.ผ่านอินเทอร์เน็ต ทีโอทีได้นาทีละ 1.50 บาท เท่ากับทำให้ทีโอทีขาดรายได้ในส่วนนี้ไปปีละ 300 ล้านบาท
สำหรับค่าเชื่อมโครงข่ายในประเทศคาดว่าน่าจะสามารถสรุปได้ในอัตราเดียวกัน คือ 1.07 บาท แต่จะเป็นเพียงเพดานซึ่งผู้ประกอบการสามารถเจรจาลดหย่อนกันเองได้ โดยทีโอทีจะรับจ่ายค่าเชื่อมโครงข่ายแทนเอกชนภายใต้สัญญาร่วมการงาน
|
|
|
|
|