|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้จัดการกองทุนทำใจยอดขายกองทุนรวมลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ไม่เข้าเป้า หลังการเมืองป่วนฉุดความมั่นใจการลงทุน บลจ. ทิสโก้เผยยอดขาย "กองทุนเปิดทิสโก้ โกลบอล อิควิตี้ ฟันด์" ขายได้แค่ 416 ล้านบาท จากมูลค่าโครงการ 900 ล้านบาท ขณะที่ "กองทุน แมกซ์ จีเซเว่น ฟิฟ" ขายได้แค่ 200 กว่าล้านบาท เท่านั้น อ้างบรรยากาศไม่เอื้อ
นางสาวธีรินทร์ สุวรรณเตมีย์ หัวหน้าสำนักบริการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนเปิดทิสโก้ โกลบอล อิควิตี้ ฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ของบริษัทมูลค่าโครงการ 900 ล้านบาท ซึ่ง เปิดขายหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 9-23 พฤศจิกายน ภายหลังปิดจองซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (ไอพีโอ) มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนผ่านกองทุนนี้ประมาณ 416 ล้านบาท ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร เนื่องจากภาวะตลาดหุ้นไม่ค่อยเอื้ออำนวยมากนัก ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ทั้งนี้ กองทุนเปิดทิสโก้ โกลบอล อิควิตี้ ฟันด์ มีนโยบายลงทุนในกองทุนเปิด DIAM Global Fund-DIAM HIR Global Allocation Fund ซึ่งเป็นกองทุนที่จดทะเบียนในประเทศลักเซมเบิร์ก บริหารและจัดการโดยบริษัทจัดการลงทุน DLIBJ ซึ่งกองทุนรวมดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุนในตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก โดยมีการกระจายการลงทุนตามสัดส่วนของดัชนี MSCI Kokusai Index แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลักทรัพย์ ดังมีรายชื่อคือ US HIR Equity Portforio,Canadian Passive Equity Portfolio,Euriopean HIR Equity Portfolio และ Pacific Equity Portfolio ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มหลักทรัพย์นี้รวมเรียกว่า DIAM Regional Equity Fund
โครงการจะลงทุนในกองทุนเปิด DIAM Global Fund-DIAM HIR Global Allocation Fund โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และอาจจะลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศอื่นๆ หรือตราสารการเงินอื่นๆ ตลอดจนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงตัวแปร ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายทางตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
นางสาวธีรินทร์กล่าวว่า บริษัทเตรียมเปิดขายหน่วยลงทุนครั้งต่อไปในวันที่ 9 ธันวาคม 2548 หลังจากนั้นจะเปิดขายอีกครั้งทุกสิ้นวันทำการของสัปดาห์ รวมเป็น 4 ครั้งภายในสิ้นปี 2548
ขณะที่รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า ยอดขายกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ของบริษัท ซึ่งถือเป็นกองแรกคือ กองทุนเปิด แมกซ์ จีเซเว่น ฟิฟ มูลค่าโครงการกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งเปิดขายหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 14-23 พ.ย. ปรากฏว่า มีนักลงทุนเข้ามาซื้อหน่วยลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับพอสมควร เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนไม่เอื้ออำนวยมากนัก
สำหรับกองทุน แมกซ์ จีเซเว่น ฟิฟ (MAX G7 FIF) มีนโยบายที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund) ลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ องค์กรของรัฐ หรือองค์กรกึ่งรัฐ ในประเทศ กลุ่ม G7 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี รวมทั้งพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน ตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขา ของธนาคารต่างประเทศ ซึ่งธนาคารต่างประเทศ ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใน 4 อันดับแรก (Category) จากสถาบันจัดอันดับความ น่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และ/หรือธนาคารพาณิชย์ในประเทศเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน หรือเงินฝากที่บุคคลดังกล่าวรับฝากไว้
ทั้งนี้ บลจ.นครหลวงไทยจะทำสัญญาป้องกัน ความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน โดยกองทุนจะจ่ายผลตอบแทนโดยการขายคืนหน่วยอัตโนมัติ ไม่น้อยกว่า 4% ต่อปี
รายงานข่าวกล่าวว่า บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ค่อนข้างซบเซา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมือง ซึ่งขณะนี้เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ขณะเดียวกันยังมีกระแสข่าว เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการเมือง โดยเฉพาะเรื่องของการทำปฏิวัติ หรือรัฐประหารเข้ามา ทำให้นักลงทุนชะลอการตัดสินใจลงทุน
|
|
|
|
|