Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 พฤศจิกายน 2548
คลังเรียกธปท.ถกแก้ปัญหา"อีซี่บาย"             
 


   
www resources

โฮมเพจ สยาม เอ แอนด์ ซี - อีซี่ บาย

   
search resources

ทนง พิทยะ
Financing
อีซี่ บาย, บมจ.




"ทนง" เตรียมเรียกผู้ว่าฯแบงก์ชาติ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" หารือกรณีปัญหา "อีซี่บาย" คิดดอกเบี้ยโหด ชี้อาจต้องมีการแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสม หากพบช่องโหว่ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม ด้านผู้บริหาร"อีซี่บาย" ออกโรงโต้ทำธุรกิจตามกรอบธปท. แม้ก่อนประกาศใช้เกณฑ์ใหม่จะเคยคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดถึง 54% ขณะที่แบงก์กรุงเทพ หวังแบงก์ชาติ ผ่อนคลายเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง

นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีประชาชนผู้ได้รับความเสียหายดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีแกˆบริษัท อีซี่บาย จำกัด (มหาชน) ฐานเรียกเก็บดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูงกว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานจาก ธปท. ถึงรายละเอียดของปัญหาที่เกิดขึ้น แต่จะเชิญม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. มาหารือเพื่อรับทราบปัญหาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกันเร็วๆ นี้

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น จะต้อง พิจารณาว่าอีซี่บายปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่ ธปท. กำหนดไว้หรือไม่ หากในกรณีที่อีซี่บายไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ทางการจะต้องกลับมาทบทวนถึง ข้อกฎหมายว่ามีความเหมาะสมหรือมีช่องโหว่หรือไม่ และมีความจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมอย่างไร แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนจึงจำเป็นจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้พยายาม เข้าไปดูแลผู้บริโภค หรือประชาชนไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบมากเกินไป ล่าสุดการประกาศใช้มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์) ที่กำหนดเพดานดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมไม่เกิน 28% นับเป็นมาตรการหนึ่งที่ออกมาเพื่อดูแลผู้บริโภคอย่างหนึ่ง ขณะเดียวกัน ธปท. และกระทรวงยุติธรรม เองมีมาตรการดูแลเรื่องนี้อยู่แล้ว

"ผมยังตอบไม่ได้ว่าจะแก้ไขปัญหากันอย่างไร ต้องรอหารือกับธปท.ก่อน และต้องดูว่าธปท. จะมีแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างไร มากน้อยแค่ไหน ซึ่งในแง่ของกฎหมายถ้าทำไม่ถูกต้อง ก็ต้องถูกดำเนินการ ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมายได้" นายทนงกล่าว
อีซี่บายแจงทำธุรกิจตามกรอบ ธปท.

นายพีระพงษ์ กี้ประสพสุข ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อเงินสด บริษัท อีซี่บาย จำกัด (มหาชน) กล่าวยืนยันว่า บริษัทคิดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในระดับใกล้เคียงกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ และอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง เพราะหากคิดอัตราดอกเบี้ยสูงเกินไปจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันได้ รวมทั้งการดำเนินกิจการมากว่า 9 ปี เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ เพราะบริษัทยังไม่เคยถูกทางการฟ้องร้องหรือ โดนปรับหลักเกณฑ์ของทางการ

"การฟ้องร้องดังกล่าวคงจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าบ้าง แต่เชื่อว่าจะไม่มีผลต่อแผนการดำเนินธุรกิจบริษัท ทั้งเรื่องแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ"

นายพีระพงษ์ กล่าวว่า บริษัทได้ดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบของทางการ โดยเฉพาะหลังจากที่ ธปท. ประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่ กำหนด เพดานดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสินเชื่อบุคคลไว้ไม่เกิน 28% วงเงินปล่อยกู้ไม่เกิน 5 เท่าของเงินเดือน ของธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ห้ามเกิน 28% ต่อปี วงเงินปล่อยกู้ไม่เกิน 5 เท่า

อย่างไรก็ตาม ก่อนการประกาศหลักเกณฑ์ ดังกล่าว ผู้ประกอบการนอนแบงก์ทุกรายจะมีอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสูงกว่า 28% เฉลี่ยประมาณ 30-35% เพื่อสามารถดำเนินธุรกิจได้ และบริหารความเสี่ยง เพราะกลุ่มลูกค้า นอนแบงก์จะมีความเสี่ยงสูงกว่า และเป็นกลุ่มที่มีรายได้ประจำต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน

ขณะที่บริษัทอีซี่บาย ที่ผ่านมาคิดอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมกับลูกค้าเฉลี่ยประมาณ 30-35% และสูงสุดสำหรับลูกค้ากลุ่มพิเศษประมาณ 54% ซึ่งกลุ่มดังกล่าวจะมีอยู่ประมาณ 5% ของพอร์ตลูกค้าทั้งหมดที่มีอยู่ประมาณ 1.2 ล้านราย

ทั้งนี้ หลังจากธปท.ประกาศใช้มาตรการดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนสัญญาการกู้เงินใหม่ โดยลูกค้ารายใหม่จะเข้ามาอยู่ในเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนดใหม่ทันที ส่วนลูกค้าเดิมบริษัทได้พยายาม ที่จะเร่งให้ลูกค้าเข้ามาเปลี่ยนสัญญาเป็นเงื่อนไขใหม่ ครบทั้งหมดก่อนวันที่ 30 มิถุนายนปีหน้าตามเกณฑ์ ธปท.

"อีซี่บาย พยายามจะเร่งให้ลูกค้าเข้ามาเปลี่ยนสัญญาเงินกู้ใหม่ โดยเฉพาะลูกค้าที่มีประวัติการชำระเงินดี ทั้งในแง่ของการเพดานดอกเบี้ย และวงเงินปล่อยกู้ตามกรอบของธปท. ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาเงินกู้แก่ลูกค้าแล้วกว่า 5 แสนราย คงเหลืออีกประมาณ 3 แสนราย"

นายพีระพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ถือหุ้นกลุ่มญี่ปุ่นมองว่าธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในประเทศไทยยังมีโอกาสขยายตัวสูง ขณะที่หลักเกณฑ์ของธปท.จะส่งผลดีตˆอการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยที่ผ่านมาทำให้ลูกค้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงเดือนละประมาณ 20%
หวังธปท.ขยายเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิต

นายโชค ณ ระนอง ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า ในปี 2549 ธปท. คงจะมีการผ่อนคลายการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยธุรกิจบัตรเครดิต จากปัจจุบันกำหนดไว้ไม่เกิน 18% โดยเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่เหมาะสมน่าจะกำหนดให้อิงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด เช่น อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ บวกส่วนต่าง เป็นต้น

ส่วนแนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตในปี 2549 นั้น คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าปีนี้ โดยการใช้จ่ายผ่านบัตรของลูกค้าน่าจะเติบโตในอัตรา 20% เท่ากับปีนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อธุรกิจ เพราะเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ลูกค้ามีความระมัดระวังในการใช้จ่ายและมีวินัยมากขึ้น เพราะปกติลูกค้าจะมีการใช้จ่ายผ่านบัตรในอัตรา 30%

การกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ 18% อาจจะไม่สะท้อนความจริงในธุรกิจ เพราะต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้บริษัทบัตรเครดิตไม่มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมรายปีเป็นต้น เพื่อเป็นทางเลือกของธนาคารŽ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us