Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540
"ฉัตรชัย บุญยะอนันต์-สิงห์เฒ่าทีจี บทสรุปสายการบินใหม่ใครว่าง่าย?"             
 


   
search resources

ฉัตรชัย บุญยะอนันต์
Aviation




"ในภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ไม่อยู่ในสถานภาพที่ดีพอจะลงทุน" บทสรุปของฉัตรชัย บุญยะอนันต์ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งกล่าวถึงแผนการจัดตั้งสายการบินแห่งชาติสายที่ 2 ที่คงไม่คุ้มหากจะเข้าไปดำเนินการในขณะนี้ แม้ใครจะมองว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็ตาม

ซึ่งก็ปรากฏว่าไม่มีชื่อของลูกหม้อสายการบินแห่งชาติคนนี้เข้าร่วมกลุ่มใดเลย ในการเปิดประมูลรอบใหม่ของกรมการบินพาณิชย์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

บุคคลผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการบินมาตั้งแต่หยุดชีวิตราชการตำรวจไว้ไว้ที่ยศร้อยตำรวจโท เข้าร่วมงานกับสายการบิน SAS ของยุโรปที่มาช่วยบริหารสายการบินของไทยจนรุ่งเรือง และร่วมงานกับบริษัทการบินไทยหลังการจัดตั้งเป็นสายการบินแห่งชาติที่บินออกต่างประเทศเต็มตัว

ตำแหน่งเริ่มต้นเมื่อปี 2514 ก็คือรองผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการตลาด ด้วยความรู้ที่สะสมจากต่างประเทศหลายสถาบัน บ่งบอกถึงความสามารถที่จะเข้าร่วมกับกิจการสายการบิน อันเป็นงานเชิดหน้าชูตาของคนไทยในสมัยเมื่อ 36 ปีก่อนได้ไม่ยาก

และนับได้ว่างานด้านการบินทำให้บุรุษสูงวัยผู้นี้พร้อมที่จะหวนคืนอีกครั้งหากเป็นไปได้ แม้จะเกษียณจากบริษัทการบินไทยเมื่อเดือนกันยายน 2536 ด้วยตำแหน่งสูงสุดด้านบริหารคือกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ซึ่งใช้ระหัสโค้ดย่อในการบินไทยว่า DD อันเป็นตำแหน่งที่หลายคนหมายปองไม่ว่าจะเป็นคนนอก หรือคนในก็ตาม

ถึงแม้มีกิจการที่ฉัตรชัยรับบริหารงานในธุรกิจส่วนตัวของพล. อ. อ. ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ คือโครงการสนามกอล์ฟ เฟรนชิพ เมโดวส์ คันทรีคลับ ที่บริเวณปากช่องสระบุรีในฐานะรองประธานบริหาร

หรือกระทั่งการนั่งเป็นกรรมการในกลุ่มดุสิตธานีของคุณหญิง ชนัตถ์ ปิยะอุย กับกรรมการบริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดิเวลล๊อปเมนต์ จำกัด ของหมอชัยยุทธ กรรณสูต ตลอดจนรับบริหารโครงการสีลม พรีเชียส ทาวเวอร์ให้กับราศรี บัวเลิศ จนถึงตำแหน่งอันทรงเกียรติด้วยฐานะวุฒิสมาชิกในรัฐสภาไทย ก็ไม่ได้ทำให้คนผู้นี้หยุดคิดเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจการบินไปได้

เริ่มตั้งแต่ฉัตรชัยได้รับการทาบทามให้นั่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณารูปแบบและแนวทางในการจัดตั้งสายการบินแห่งชาติสายที่ 2 สมัยที่ชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อมีการเปิดรับข้อเสนอ ฉัตรชัยก็ได้ร่างแผนงานของการจัดตั้งสายการบินแห่งใหม่ไว้อย่างดี โดยอาศัยประสบการณ์ที่เคยบริหารงานในการบินไทย

แผนงานดังกล่าวไม่ได้ถูกนำออกมาใช้

เพราะเมื่อมีการเปิดให้ยื่นข้อเสนอของเอกชนที่จะจัดตั้งสายการบินแห่งชาติครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนปีที่แล้วปรากฏว่ามีเพียงกลุ่มเดียวที่ยืนหยัดอยู่ได้ ก็คือกลุ่มบริษัท ปริ๊นเซส แอร์ไลน์ซึ่งนำทีมโดยบริษัท เจวีเคโฮลดิ้ง จำกัด ในฐานะตัวกลางผู้สานผลประโยชน์กับธุรกิจกลุ่มอื่นๆ

ครั้งนั้นถึงกับมีการระบุว่า ฉัตรชัยจะเข้าร่วมในฐานะกรรมการผู้จัดการ หรือผู้บริหาร ในฐานะที่คร่ำหวอดด้านการบินมานาน

ข่าวนั้นแม้ไม่ได้รับการยืนยันชัดเจน แค่เป็นเพียงการถูกทาบทามเท่านั้น เพราะกิจการที่ฉัตรชัยร่วมเป็นกรรมการ ต่างก็เตรียมตัวพร้อมเข้าร่วมจัดตั้งสายการบินสายที่ 2 ด้วยไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบริษัท ดุสิตธานี อิตาเลียนไทย แม้กระทั่งราศรี บัวเลิศเองก็ตาม เพียงแต่กลุ่มหลังนี้เป็นการโยงเข้าหากันเท่านั้น ไม่ได้มีสัญญามั่นเหมาะเหมือนกับเพื่อน "กลุ่ม 11" แต่อย่างใด ที่แน่นอนว่าจะหนุนฉัตรชัยเต็มตัว

จนที่สุดกลุ่มปริ๊นเซสฯ ก็กลายเป็นกลุ่มเต็งหามที่ไม่มีใครกล้าทาบเพราะเกรงว่าจะเสียทั้งเงินและเวลาหากเข้าไปเทียบ เนื่องจากมีการประกาศตัวอย่างชัดเจนว่ากลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากภาคการเมือง

การกลับมาของสิงห์เฒ่าอย่างฉัตรชัยจึงไม่เกิดขึ้นและไม่ปรากฏว่มีรายชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งจัดอยู่ใน "กลุ่ม 11" ที่จะมีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมสนับสนุนทางการเงินก็ไร้วี่แววในการเสนอตัวครั้งนั้นแม้จะมีศักยภาพสูงเพียงพอก็ตาม

การยื่นเสนอเปิดสายการบินใหม่ในครั้งแรกของกลุ่ม ปริ๊นเซส แอร์ไลน์ จึงปรากฏแต่เพียงพันธมิตร 6 กลุ่มคือนอกจากเจวีเค โฮลดิ้ง แล้วยังมี กลุ่มยูคอม, สยามสตีล กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล, ไทย ฟลายอิ้ง เซอร์วิส, บริษัท อคิวเมนต์ จำกัด และบริษัท อดิสยเทพ ฟิเดลลิตี้ จำกัด เท่านั้น

แต่กลุ่มเหล่านี้ก็ไปไม่ถึงดวงดาวเมื่อแม้จะเป็นรายเดียวที่มาแรงที่สุด เหตุผลเพราะขาดหนังสือค้ำประกันจำนวน 500 ล้านบาทที่ต้องยื่นให้กับทางกรมการบินพาณิชย์ จนทำให้ต้องถูกล้มประมูลไปในที่สุด

แม้การประมูลรอบใหม่จะเปิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมาจะยังคงมี ปริ๊นเซสแอร์ไลน์เสนอตัวอีกครั้ง โดยมีกลุ่มม้ามืดนอกสายตาอันได้แก่กลุ่มบริษัท ดาต้า คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งไม่มีประสบการณ์ด้านการบินมาก่อนเข้ามาร่วมประชันข้อเสนอก็ใช่ว่าปริ๊นเซส แอร์ไลน์ จะได้รับชัยชนะ เพราะพันธมิตรกระเป๋าหนักที่เปลี่ยนขั้วไปอย่างแทบไม่เหลือ คงไว้แต่เจวีเค โฮลดิ้งในฐานะแกนนำอย่างเดิมเท่านั้น

โดยกลุ่มเจวีเคก็อาศัยวิทยา บัณฑิตกฤษดาเป็นแกนหลักในการเดินเรื่องออกหน้าเพื่อติดต่องาน ส่วนกลุ่มที่จะเข้ามาร่วมนั้น คงเป็นภายหลังที่กลุ่มนี้สามารถได้รับใบอนุญาตสำเร็จ

เห็นได้จากรายชื่อของผู้ร่วมก่อตั้งในรอบสองประกอบด้วย บริษัท เวิลด์ไวด์ เทรดดิ้ง แอนด์ ซัพพลายเออร์ จำกัด, บริษัท พีค แมนเนจเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนท์ เซอร์วิสเซส จำกัด

ซึ่งก็ไม่มีใครกล้าประกันได้ว่าใครจะเป็นผู้แสดงตัวในการรับเป็นผู้บริหารสายการบินใหม่หากได้รับการคัดเลือก เพราะฉัตรชัยเองก็บอกแต่เพียงว่ายังไม่รับบริหารให้ใครหากเงื่อนไขยังไม่เข้าตา

ที่สำคัญกลุ่มพันธมิตรที่เคยคิดจะชูบทบาทของฉัตรชัย ขึ้นมาเป็นผู้บริหารสายการบินแห่งชาติสายใหม่แข่งกับการบินไทยนั้นไม่มีใครพร้อมที่จะลงทุน

ฉัตรชัยระบุเงื่อนไขในการจัดตั้งสายการบินใหม่ที่เขาเขียนขึ้นกับมือเองนั้นต้องใช้เงินลงทุนอย่างต่ำ 5,000 ล้านบาท ขณะที่รับบาลกำหนดไว้ที่ 3,000 ล้านบาท

เงินจำนวนมหาศาลขนาดนั้นในยุคเศรษฐกิจฟุบเช่นนี้เป็นการยากที่จะมีนักลงทุนเสี่ยงตายมาร่วม หรือสถาบันการเงินที่ใจป้ำพร้อมที่จะปล่อยกู้ให้กับโครงการก็คงมีน้อยรายเช่นกัน

ในขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุนก็ใช่ว่าจะได้มาคล่องตัว เพราะสายการบินใหม่ที่เปิดบินไปต่างประเทศทับเส้นทางการบินไทย ยังต้องพึ่งพารัฐ และการเมืองในการเจรจาสิทธิการบินให้ และใช่ว่าฝ่ายรัฐจะให้การสนับสนุนแล้วจะเปิดบินได้ ก็ต้องดูประเทศที่จะเปิดทำการบินกับไทยด้วยว่าพร้อมที่จะรับเพิ่มสายการบินใหม่ด้วยหรือเปล่า

ถ้าจะให้รุ่งก็ต้องบินเฉพาะในประเทศไทยที่รัฐบาลสามารถจัดสรรเรื่องเส้นทางการบินให้โดยไม่ยากไปก่อน โดยสายการบินใหม่ต้องได้สิทธิ์การบินภายในประเทศทั้งหมดตามเงื่อนไขทีโออาร์ บินทับเส้นทางของการบินไทยได้ เพื่อเปิดให้มีการแข่งขันเสรี และให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือก

แต่สิ่งที่ฉั้ตรชัยย้ำเตือนกับสายการบินผู้มาใหม่ก็คือการเสนอตัวเข้าเปิดทำการบินนั้น ไม่ใช่มีเพียงแค่ข้อเสนอธรรมดาที่ไม่มีแผนการบินที่แน่นอนและชัดเจน เพียงทำเพื่อให้ได้สิทธิ์ใบอนุญาตในการจัดตั้งบริษัทเท่านั้น แล้วเรื่อการบริหารค่อยกันทีหลัง เพราะเงื่อนไขรัฐต้องการให้เปิดทำการบินให้ได้ภายใน 1 ปี ซึ่งหากทำไม่ได้ก็เท่ากับไม่เป็นการสร้างสรรค์ให้กับธุรกิจการบินของประเทศพัฒนาไปในทางที่ดี

และสิ่งที่ผู้คร่ำหวอดกับวงการบินผู้นี้ย้ำเตือนก็คือสายการบินแห่งชาติใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยสำหรับมือใหม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us