|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
การบินไทยตรึงค่าเซอร์ชาร์จน้ำมัน 6 เดือน หวังลดความเสี่ยงหากสถานการณ์น้ำมันปรับขึ้น-ลงในช่วงเวลาดังกล่าว เผยปัจจัยลบปีหน้าหวัดนก ภัยก่อการร้าย กระทบอุตสาหกรรมการบินและท่องเที่ยว
นายวสิงห์ กิตติกุล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การบินไทยยังไม่มีนโยบาย ที่จะปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมัน หรือ Fuel Surcharge ในทุกเส้นทางบิน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจะตรึงราคาเช่นทุกวันนี้ไปอีกเป็นเวลา 6 เดือนนับจากนี้ไป
ทั้งนี้ บริษัทต้องการจะใช้เวลาดังกล่าว เพื่อประเมินสถานการณ์ความผันผวนของราคาน้ำมันที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ไป เพราะที่ผ่านมาราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มปรับตัวลดลงแล้ว แต่จากสถานการณ์โลกที่มีความ ไม่แน่นอนสูง อาจทำให้ราคาน้ำมันที่กำลังอยู่ในช่วงขาลง อาจเป็นเพียงระยะสั้นๆแล้วกลับพลิกมาเป็นปรับตัวเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ ดังนั้นการบินไทยจึงตัดสินใจที่จะตรึงค่าธรรมเนียมน้ำมันเพื่อกระจายความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยปัจจุบัน ค่าธรรมเนียมน้ำมัน ที่การบินไทยเรียกเก็บจากผู้โดย สาร จะอยู่ในเรตราคาคนละ 200 บาท สำหรับเส้นทางบินในประเทศและเริ่มต้นที่ 500 บาท สำหรับเส้นทาง บินต่างประเทศ แล้วแต่ระยะทาง
นายวสิงห์ กล่าวถึงผลประกอบ การของการบินไทยว่า ช่วงไตรมาสสุด ท้ายของปีงบประมาณของบริษัท ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา แต่คาดว่าผลกำไรเฉพาะไตรมาสสุดท้ายปีนี้ จะน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่รายได้รวมจะเพิ่มมากกว่าปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นตลอดทั้งปี แต่การบินไทยยังไม่ได้จัดเก็บค่าธรรม-เนียมน้ำมันได้ตามต้นทุนที่แท้จริง
ในส่วนของอัตราการผู้โดยสารเฉลี่ยเฉพาะเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1-2% คือประมาณ 72% ของจำนวนที่นั่ง ส่วนช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมขณะนี้มีการจองแล้ว 78% ของจำนวน ที่นั่ง
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบที่น่าจับ ตามองปีหน้า ที่อาจส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมการบิน และอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว คือ การระบาดของไข้หวัดนก และสถานการณ์ก่อการร้าย เพราะหากไข้หวัดนกมีการพัฒนาเชื้อจากคนสู่คน จะถือเป็นเรื่องใหญ่และน่ากลัว ซึ่งยอมรับว่าการเกิดโรคระบาด จะส่งผลกระทบกับการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยวมากที่สุด เห็นได้จากตอนเกิดภาวะโรคซาร์ส ดังนั้นสิ่งที่จะเห็นชัดเจนตอนนี้คือ มีระยะเวลาการจองตั๋วล่วงหน้าของผู้โดยสาร ที่มีระยะเวลาสั้นขึ้น
ในส่วนของการบินไทยการเติบ โตของบริษัท ส่วนหนึ่งจะมาจากการเปิดเส้นทางบินใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ล่าสุดไทยเปิดเส้นทางบินกรุงเทพฯ-มอสโก ประเทศรัสเซีย โดยบินด้วยเครื่องบิน MD-11 ความจุ 340 ที่นั่ง ซึ่งในเดือน ตุลาคมมีอัตราการท่องเที่ยวประมาณ 45% จะเพิ่มขึ้นเป็น 55-60% ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมนี้
|
|
 |
|
|