|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ลือปฏิวัติท่วมห้องค้า นักลงทุนตื่นทิ้งหุ้นขนาดใหญ่ เงินทุนหลักทรัพย์ ฉุดดัชนีหุ้นไทยทรุดสวนทางต่างประเทศ ขุนคลังเชื่อฝรั่งไม่ทิ้งหุ้นไทย ยอมรับความเสี่ยงด้านการเมืองเป็นสิ่งที่นักลงทุนยอมรับไม่ได้ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันขจัดความกลัว ยังมองกระแสต่อต้านรัฐเป็นปกติในระบอบประชาธิปไตย ด้าน "โฆษกรัฐบาล" กล่อมขวัญนักลงทุนอย่าหวั่นแค่ข่าวลือ
วานนี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยระส่ำระสายไปด้วยกระแสข่าวลือตามห้องค้าว่าจะมีการทำรัฐประหาร (ปฏิวัติ) เกิดขึ้น หลังจากนายภูมิธรรม เวชยชัย รองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ไม่พอใจเวทีแสดงความเห็นของนายสนธิ ลิ้มทองกุล และออกมาวิพากษ์ วิจารณ์นำไปโยงกับการปฏิวัติรัฐบาล ซึ่งตอกย้ำที่ก่อนหน้านี้มีบรรดา นายทหารระดับสูงออกมาตบเท้าแสดงท่าทีไม่พอใจ
แรงขายหุ้นขนาดใหญ่กดดัชนีหุ้นไทยลึกสุดที่ 664.13 จุด ก่อนจะฟื้นมาปิดที่ 669.18 จุด ลดลง 5.07 จุด หรือ 0.75% มูลค่าการซื้อขาย 13,277.41 ล้านบาท โดยเฉพาะหุ้นเงินทุนหลักทรัพย์ ราคาหุ้นทรุดตัวลงทั้งกระดานอย่างรวดเร็ว ดัชนีกลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์ ปิดที่ 1,051.16 จุด ลดลง 39.58 จุด หรือ 3.63% มูลค่าการซื้อขาย 2,117 ล้านบาท
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.พรูเด้นท์ สยาม กล่าวว่า เกิด Panic Sale จากความไม่มั่นใจในเสถียรภาพทางการเมืองของไทยเป็นประเด็นหลัก จึงมีแรงเทขายออกมา รวมถึงมีการฟอร์ซเซลล์ออกมาในหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยภายในประเทศ ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลก ทั่วเอเชีย รับข่าวเฟดทำ new high กัน
นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เนื่องจากความไม่ปกติทั้งในแง่ของด้านการเมืองที่มีความไม่แน่นอน รวมถึงตัวเลขการค้าดุลการค้าที่เพิ่งประกาศและเป็นตัวเลขการขาดดุลรวมถึงได้มีกระแสข่าวลือเรื่องการปฏิวัติทำให้มีแรงเทขายหุ้นออกมา การที่ภาวะตลาดหุ้นซบเซาและมีมูลค่าการซื้อขายเบาบางนั้น เชื่อว่าคงจะส่งผลต่อธุรกิจหลักทรัพย์ เพราะบริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่จะมีรายได้จากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ประมาณ 80-90% ดังนั้นจึงทำให้มีนักลงทุนเทขายหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ออกมา
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี และผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้คาดว่าบริษัทจดทะเบียนจะมีกำไรสุทธิรวมประมาณ 5 แสนล้านบาท โดยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาบริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวม 3.6 แสนล้านบาท ขณะที่ปีหน้าจะมีกำไรสุทธิ 6 แสนล้านบาท ทั้งนี้ กลุ่มธนาคารจะเป็น กลุ่มที่มีผลการดำเนินงานดีเนื่องจากได้รับผลดีจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
ปัจจัยลบที่เข้ามากระทบตลาดหุ้นไทยเป็นปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องภัยธรรมชาติ เรื่องโรคภัย ปัญหาทางสังคม ปัญหาทางด้านการเมือง ซึ่งในเรื่องดังกล่าวเกิดจากความเห็นที่ไม่ตรงกันของผู้ที่มีความคิดที่ต่างจากรัฐบาล
ส่วนนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงถึงกรณีที่มีการปล่อยข่าวลือในห้องค้าหุ้นตลาดหลักทรัพย์ว่า จะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นทำให้นักลงทุนต่างแตกตื่นพากันทิ้งหุ้นเทขายกันเป็นจำนวนมากนั้น ไม่เป็นความจริงไม่มีอย่างแน่นอน เพราะทางรัฐบาลได้สอบถามไปทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้วไม่มีสัญญาณใดๆ ที่จะทำให้เกิดการปฏิวัติ จึงอยากทำความเข้าใจกับประชาชนและนักลงทุนอย่าวิตกกังวล รัฐบาลยังดำเนินภารกิจตามปกติ ที่สำคัญทหารในยุคปัจจุบันเป็นทหารยุคประชาธิปไตย ถ้าหากมีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นจริงก็ถือว่าเข้ายุคถอยหลังเข้าคลอง
นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ปฏิเสธ กรณีที่ทางบริษัทหลักทรัพย์เจพี มอร์แกน จำกัด ออกมาระบุว่า เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติจะเริ่มไหลไปยังตลาดหุ้นเกาหลีและญี่ปุ่นมากขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับสื่อมวลชน ที่ส่งผลถึงความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของรัฐบาล โดยชี้แจงว่า ขณะนี้ต่างชาติยังซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยอยู่ ดังนั้นต้องดูข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นด้วยว่าเป็นอย่างไร
นายทนง กล่าวยอมรับว่า นักลงทุนสามารถยอมรับความเสี่ยงทางธุรกิจได้ทุกอย่าง แต่ไม่สามารถรับความเสี่ยงทางด้านการเมืองได้ และเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อมีความไม่มั่นคงทางการเมืองเกิดขึ้น ตลาดทุนก็จะไม่มีเสถียรภาพไปด้วย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ยังไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยงทางด้านการเมือง เพราะรัฐบาลยังมีความเข้มแข็ง มีเสียงข้างมากอยู่ในสภาฯ
ส่วนการที่มีบุคคลออกมาวิจารณ์รัฐบาล มองว่า เป็นเรื่องปกติของประเทศที่มีการปกครองในระบบประชาธิปไตย การที่ไม่มีใครออกมาวิจารณ์ถือเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากกว่าในสังคมประชาธิปไตย สำหรับกระแสการต่อต้านรัฐบาล ก็ยังมองว่า เป็นเพียงการรวมตัวกันมากขึ้นเป็นการต่อต้านกันในเชิงความคิด ขณะที่ปัญหายังคงเดิม
|
|
 |
|
|