Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540
"วิเนต พันธุนะ กับงานในร้าน 'Bookazine'"             

 


   
search resources

บุ๊คกาซีน
วิเนต พันธุนะ
Printing & Publishing




"บุ๊คกาซีน" เป็นหนึ่งในสองร้านหนังสือที่ขายเฉพาะหนังสือต่างประเทศนอกเหนือจาก "เอเชียบุ๊ค" ในช่วงปีที่ผ่านมาจะเห็นร้านดังกล่าวมีกิจกรรมแนะนำหนังสือและเชิญนักเขียนมาเปิดตัวหนังสือไม่ต่ำกว่า 6-7 ครั้ง ถือเป็นความสำเร็จในขั้นหนึ่งสำหรับการทำความรู้จักกับนักอ่านของร้านหนังสือที่ตั้งมาเพียง 6-7 ปีเท่านั้น

ความสำเร็จส่วนหนึ่งเป็นผลงานของวิเนต พันธุนะ ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ แผนกจัดซื้อและโฆษณา ของบริษัทดิสทริ-ไทย เจ้าของร้านบุ๊คกาซีนซึ่งวิเนตเข้ามาร่วมงานกับที่นี้ได้หนึ่งปีเศษ แต่ช่วยให้ชื่อของบุ๊คกาซีนเป็นที่รู้จักของนักอ่านมากขึ้นรวมทั้งได้รับความไว้วางใจจากนักเขียนด้วย

ล่าสุดไมค์ ชินอย นักข่าว CNN ประจำกรุงปักกิ่ง ซึ่งนำประสบการณ์ที่ทำข่าวในประเทศจีนกว่า 2 ทศวรรษมาเขียนเป็นหนังสือเล่มแรกในชีวิตใช้ชื่อว่า "Chaina Live : Two Decades in the Heart of the Dragon" ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่วางใจให้บุ๊คกาซีนขายหนังสือให้เขา

ชินอยได้เดินทางมาโปรโมตหนังสือของเขาที่เมืองไทยเป็นแห่งแรกก่อนที่จะออกไป ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยเลือกประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นหลัก และอาจเพราะเป็นพื้นที่ที่มีคนเชื้อสายจีนและสนใจ CNN ด้วย

เหตุผลที่เขาเลือก "บุ๊คกาซีน" แทนที่จะเป็นเอเชียบุ๊ค วิเนตเชื่อว่าคงเป็นเพราะผลงานในอดีตที่บุ๊คกาซีนได้จัดกิจกรรมแนะนำหนังสือ และมีการประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพจนเป็นที่รู้จักของนักอ่านทั้งหลาย

ส่วนเหตุผลในการรับขายหนังสือที่มีผู้เสนอเข้ามาให้พิจารณาอย่างของชินอยหรือการเลือกหนังสือเข้าร้านโดยทั่วไปนั้น วิเนตกล่าวว่าถ้าเปรียบเทียบกับร้านอื่นแล้วบุ๊คกาซีนยังถือว่าตั้งมาไม่นานนัก ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีแนวทางในการเลือกหนังสือที่เคร่งครัด "ถ้าอะไรที่คิดว่าน่าจะขายดีเราก็รับเข้ามาขาย เราใช้คอมมอนเซนต์เป็นหลัก"

แม้จะใช้ความรู้สึกว่าเรื่องใดจะขายได้ แต่ส่วนหนึ่งได้มาจากประสบการณ์การทำงานมากว่า 26 ปีในประเทศไทยที่ได้หล่อหลอมให้เธอได้เข้าใจคนไทยแลเข้าใจการประชาสัมพันธ์ว่าควรเลือกหนังสือเล่มใดและประชาสัมพันธ์อย่างไร

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2514 วิเนตเข้ามาในประเทศไทยหลังจากที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศฟิลิปปินส์ขณะมีอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น เนื่องจากระบบการศึกษาของที่นั่นใช้เวลาน้อยกว่าของไทย ถ้าเทียบกันแล้วจะใช้เวลาเรียนในระดับประถม 7 ปี มัธยม 4 ปี และระดับมหาวิทยาลัย 4 ปี และในช่วงประถมระดับ 6 วิเนตได้สอบเทียบผ่านระดับ 7 จึงลดเวลาเรียนลงได้อีก 1 ปี

ขณะที่ศึกษาในระดับปริญญาตรีอยู่นั้น เธอได้พบรักกับหนุ่มไทยที่ไปเรียนปริญญาโทอยู่ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน ซึ่งขณะนั้นเขาไปทำปริญญาโททางด้าน Management Engineering เป็นยุคที่คนไทยนิยมส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือที่นั่น

เมื่อสำเร็จการศึกษาเธอจึงตัดสินใจจากบ้านเกิดเมืองนอนมาเมืองไทยเพื่อแต่งงานและตั้งใจที่จะลงหลักปักฐานของชีวิต "แม้ประเทศไทยจะเป็นสิ่งแปลกใหม่ แต่ด้วยความที่ว่าเราเป็นคนชอบสิ่งท้าทายและการแสวงหาจึงกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจไปทุกอย่าง ตื่นเต้นว่าหน้าตาคนไทยช่างเหมือนกับคนฟิลิปปินส์" วิเนตกล่าว

เมื่อมาอยู่เมืองไทยงานแรกที่วิเนตเริ่มทำคืองานสอนหนังสือ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานสอนทางด้านภาษาอังกฤษตามความถนัดด้านภาษาของเธอ

แห่งแรกเป็นโรงเรียนของกองทัพบก ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ร.ร. สุรศักดิ์มนตรี ต่อมาจึงย้ายมาที่วิทยาลัยเซนต์จอห์น (ในขณะนั้น) วิเนตสอนอยู่ที่นี่ 3 ปีและช่วงนี้เองเธอมีเกร็ดเล็กๆ เกี่ยวกับลูกศิษย์ของเธอคนหนึ่งซึ่งต่อมาเป็นดาราดังคือ เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ เธอเล่าว่าลูกศิษย์ของเธอคนนี้มีนิสัยอย่างหนึ่งที่จำได้ไม่ลืมเป็นคนช่างอ้อนช่างเอาใจ

เช่นเดียวกับเมื่อเธอย้ายมาอยู่ที่ใหม่ "ย้ายไปสอนที่เอแบคอยู่ 2 ปี สอนระดับปริญญาตรีทางด้าน Personnel Management และภาษาอังกฤษที่นี่ได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของดาราดังอีกคนคือ อัญชลี จงคดีกิจ"

สำหรับลูกศิษย์คนนี้วิเนตเล่าว่าเป็นคนค่อนข้างขยันและฉลาด เงียบๆ เรียบร้อย ตั้งใจเรียนชนิดนั่งหน้าชั้นเป็นประจำ และแน่นอนเธอได้เป็นที่ปรึกษาตามหน้าที่ของครูกับนักเรียนคนนี้ด้วยเช่นกัน

ต่อจากนั้นเธอจึงผันตัวเองจากชีวิตครูไปเป็นพิธีกรประจำหมู่บ้านไทยของโรงแรมโรสการ์เด้นในสวนสามพราน ก่อนจะมาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ (Publication Officer) ที่ SEMEO ซึ่งเป็นหน่วยงานเอ็นจีโอเกี่ยวกับด้านการศึกษาในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ตอนอยู่ที่ซิมิโอวิเนตได้หาเวลาศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางด้านสื่อสารมวลชนที่ ม. กรุงเทพ เนื่องจากมองเห็นว่าการทำงานที่ผ่านมามักเกี่ยวข้องกับงานด้านนี้เป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับก่อนหน้านั้นเธอได้เป็นคอลัมนิสต์ดอิสระอยู่แล้วให้กับหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นซึ่งนับถึงปัจจุบันเธอเขียนติดต่อกันมาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว

และที่ซิมิโออีกนั้นแหละที่วิเนตได้มีโอกาสร่วมงานกับ ศจ. มจ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ประจำประเทศไทย เนื่องจากท่านทราบว่าเธอเป็นคอลัมนิสต์ที่เขียนบทความเกี่ยวกับวัมนธรรมของประเทศไทยอยู่ด้วย จึงให้วิเนตเขียนถึงกรณีทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ของไทยซึ่งสูญหายแล้วไปปรากฏว่าถูกนำไปตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ของสหรัฐอเมริกา

"เรื่องทับหลังนารายณ์บรรทมศิลป์พี่เป็นคนแรกที่เขียนถึงว่าถูกขโมย เพราะว่าเจ้านายในตอนนั้นคือ ท่านสุภัทรดิศ บอกให้ไปสัมภาษณ์ท่านเพราะยังไม่มีใครรู้ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร" วิเนตกล่าว

ในครั้งนั้นนับว่าวิเนตกล้าหาญมากในการนำเรื่องดังกล่าวมาเปิดเผยเพราะเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติ แต่เนื่องจากเธอมีข้อมูลถูกต้องโดยตรงจากทั้งเจ้านายและหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ และเนื่องจากเธอมีหน้าที่ทำเอกสารเผยแพร่ข้อมูลของซิมิโออยู่ด้วยแล้วจึงเป็นโอกาสสนับสนุนให้เธอมีข้อมูลสำหรับงานเขียนอยู่ตลอดเวลา

วิเนตทำงานในหน่วยงานของเอ็นจีโออยู่หลายปี แห่งท้ายสุดได้ทำให้กับหน่วยงาน "Service Children" เป็นหน่วยงานของอังกฤษที่ให้ความช่วยเหลือเด็กยากจน งานที่นี่ทำให้วิเนตมีโอกาสไปสัมผัสชีวิตเด็กยากจนและด้อยโอกาสในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ผู้อพยพชาวเวียดนามในฮ่องกง หรือศูนย์สุขภาพในพื้นที่ห่างไกลความเจริญของประเทศเนปาล เวียดนาม กัมพูชา หรือแม้แต่ประเทศไทย

วิเนตต้องไปเยี่ยมเด็กตามศูนย์ต่างๆ ในพื้นที่เอเชียอาคเนย์และให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก สุขภาพอนามัย รวมทั้งการคุมกำเนิด ทำให้ได้เห็นสภาพเด็กที่ค่อนข้างน่าสงสารอยู่เป็นเวลา 4-5 ปี ซึ่งทุกครั้งเมื่อกลับมาจากการลงพื้นที่เธอจะรู้สึกเหนื่อยมาเป็นสองเท่า เพราะเป็นความเหนื่อยทางด้านร่างกายและจิตใจ แม้ปัจจุบันเมื่อหวนคิดถึงการทำงานในช่วงนั้นความรู้สึกเศร้าสลดยังมีอยู่อย่างชัดเจน

หลังจากทำงานที่ไม่หวังผลกำไรในแวดวงเอ็นจีโอมาหลายปี ชีวิตของวิเนตก็ต้องมีอันพลิกผันให้มาทำงานในภาคธุรกิจอย่างในปัจจุบัน เพราะ "องค์กรเขาจะเริ่มปิดตัวเองเนื่องจากเงินสนับสนุนที่มาจากเงินบริจาคจากต่างประเทศน้ยอลงเพราะสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ" วิเนตกล่าว

สำหรับการทำงานที่บุ๊คกาซีนซึ่งต้องดูแลทางด้านฝ่ายจัดซื้อทั้ง 6 สาขา อันได้แก่ สาขาสีลมชั้น 1 อาคารซีพีทาวเวอร์, สาขาสุขุมวิท บางกะปิพลาซ่า, สาขาโรงแรมแอมบาสเดอร์, สาขาเพลินจิต ชั้น 3 ห้างโซโก้, สาขาพหลโยธิน ชั้น 1 อาคารพหลโยธินเพลส และสาขาพัทยา 1 และ 2 โรงแรมรอยัลการ์เด้นท์พลาซ่า

ขณะนี้ยังถือว่าเป็นสิ่งท้าทายสำหรับวิเนตเนื่องจากต้องคิดงานโดยอิงกับผลกำไรในเชิงธุรกิจเข้ามาด้วย ในขณะเดียวกันการทำงานในหน่วยงานเอกชนทำให้เธอรู้สึกคล่องแคล่วมากขึ้น ซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่เธอชอบโดยส่วนตัวอยู่แล้ว "พี่เป็นคนขอบศึกษา ค้นหาอยู่ตลอดเวลาอย่างหนังสือก็ไม่ใคร่อ่านพวกนวนิยาย แต่จะชอบอ่านพวกฮาวทู" ขณะเดียวกันเฑอยังมีงานเขียนอิสระที่ชอบคือเรื่องอาหารในเซกชั่นโฟกัสทุกวันอาทิตย์ในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น

ปัจจุบันวิเนตพำนักอยู่ย่านเมืองเอกกับสามีซึ่งหลังจากกลับมาเมืองไทยแล้วก็เข้ารับราชการทหาร จนได้ยศว่าที่พันเอกแห่งกองทับพอากาศไทย เธอมีบุตรชายหนึ่งคนวัย 18 ปี ที่เธอเปิดโอกาสให้ทำงานพิเศษในขณะที่เรียนไปด้วย เพื่อเป็นการหาประสบการณ์ชีวิตให้กับตัวเขาเองเช่นเดียวกับเธอที่ผ่านประสบการณ์การทำงานมาอย่างโชกโชน

วิเนตอยู่เมืองไทยมากว่า 26 ปีแล้วเมื่อให้กล่าวถึงความรู้สึกเกี่ยวกับเมืองไทยเธอว่า "ถ้าพูดถึงเมืองไทยแล้วพี่ชอบเมืองไทยมากกว่าฟิลิปปินส์ถึงแม้ว่ารถติด รู้สึกว่าเราเป็นคนไทยมากกว่าเพราะอยู่มาหลายปีและครอบครัวก็อยู่ที่นี่ด้วย ถ้าไปฟิลิปปินส์ก็รู้สึกว่าไปในฐานะนักท่องเที่ยวมากกว่า ญาติพี่น้องส่วนใหญ่ก็ย้ายไปอยู่อเมริกาเกือบหมดแล้ว"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us