|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2548
|
|
ข่าวดีของชาวแคนาดาช่วงนี้น่าจะเป็นเรื่องอัตราการว่างงานลดต่ำลงกว่า 6.6% นับจากเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี นับจากเมื่อเดือนเมษายน 1975 เป็นต้นมา อันเป็นผลสืบเนื่องจากเศรษฐกิจที่เติบโตสามารถจ้างงานได้ถึง 68,700 ตำแหน่ง โดยสามารถแยกเป็นการสร้างงานใหม่ได้ถึง 20,000 ตำแหน่ง
สำนักงานสถิติแห่งชาติของแคนาดา ระบุว่า งานส่วนใหญ่นั้นอยู่ในภาคของเอกชน และเป็นงานพาร์ตไทม์ งานเหล่านั้นเป็นงานภาคการบริการ การค้า การค้าส่ง และที่เห็น ได้ชัดคือเป็นงานภาคอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์การก่อสร้าง
ขณะที่ออนทาริโอเป็นมณฑลที่มีการสร้างงานมากที่สุด โดยมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอีก 21,000 ตำแหน่ง หรือมีอัตราการว่างงานอยู่ที่ 6.6% มณฑลบริติชโคลัมเบียมีอัตราการว่างงานเพียง 5.1% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี ส่วนที่แอลเบอร์ตามีอัตรา การว่างงานต่ำที่สุดในประเทศเพียง 4%
แม้นายกรัฐมนตรีพอล มาร์ติน จะเดินทางไปร่วมประชุมผู้นำ Weekend's Summit Americans ที่อาร์เจนตินา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ถูกนายเคน จีออเกตทิ สมาพันธ์แรงงานของแคนาดา Canadian Labour Congress ออกมาเตือนว่า ไม่ควรนำเรื่องตัวเลขอัตราการว่างงานดังกล่าวมาโอ้อวด เพราะเขาเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องที่จะหยิบยกขึ้นมาพูด โดยเฉพาะเรื่องการว่างงาน เป็นผลจากการปรับเปลี่ยนงานของฤดูกาล ที่เป็นเพียงข่าวที่เข้ามาเกื้อหนุนเท่านั้น
เคนบอกว่า มันเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ โต๊ะอาหารที่ชาวบ้านไม่รู้สึกอะไรมาก นัก แต่สิ่งสำคัญคือคุณภาพของงานใหม่ที่ควรเกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์จากงานที่เราสูญเสียไปและอัตราค่าจ้างงานก็ไม่เห็นจะมากกว่าครึ่งเปอร์เซ็นต์ของปีที่ผ่านมา
นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักวิเคราะห์ว่า สถิติดังกล่าวจะส่งผลต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของแบงก์แคนาดาในปีหน้าถึง 4% รวมถึงอัตราค่าครองชีพที่จะสูงขึ้นตามมาอีก 3.4% และที่แน่นอนที่สุดคือ ภาคพลังงานที่ขยับตัวสูงขึ้นอีก 35%
ไม่ว่าใครจะวิจารณ์อย่างไร แต่ผลสถิติ ดังกล่าวทำให้อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินแคนาดา ขยับสูงขึ้นถึง 1.1806 ดอลลาร์แคนาเดียน หรือประมาณ 84.6 เซ็นต์ต่อดอลลาร์สหรัฐ
เปิดประตูแรงงานแอลเบอร์ตา
ด้วยวิชั่นของมณฑลแอลเบอร์ตาที่ระบุว่าเป็นเมืองที่ดีที่สุดในการอยู่อาศัย การทำงาน และการเยี่ยมเยียน ทำให้ความพยายามของรัฐบาล มีการสร้างเครือข่ายของการจูงใจผู้คนเดินทางมาที่เมืองนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่าง รวดเร็ว เห็นได้ชัดจากเงินคงคลังที่คงเหลือ เพื่อนำมาพัฒนาเมืองนี้มีจำนวนสูงถึงกว่า 30 พันล้านเหรียญแคนาเดียน ทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาเพิ่มขึ้นทุกปี
เป้าหมายสำคัญของหน่วยงานในการสร้างสรรค์แรงงานของรัฐบาล ไม่น่าเชื่ออยู่ที่การพยายามนำผู้อพยพจากต่างประเทศเข้า มาเสริมแรงงานภายในประเทศ เนื่องจากประชากรในประเทศมีจำนวนเพียง 31 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยสูงอายุ และกำลังปลดเกษียณ อัตราของวัยทำงานอยู่ในขั้นต่ำ ทำให้แรงงานต่างชาติเป็นคำตอบของรัฐบาลที่จะนำเข้ามาในปีหน้ากว่า 200,000 คน
อย่างไรก็ตาม แรงงานดังกล่าวส่วนใหญ่มุ่งไปที่แรงงานที่มีคุณภาพ เช่น หมอ พยาบาล วิศวกร และบางส่วนเป็นแรงงาน ในภาคอุตสาหกรรมพลังงาน ปิโตรเลียม เหมืองแร่ และการบริการ และไม่น่าเชื่อว่าชาวจีนและชาวอินเดียเป็นสองชาติสำคัญที่เห็นได้ชัดจากตลาดของการจัดสรรแรงงาน ทั้งนี้น่าจะมีผลมาจากประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างจีนกับแคนาดาที่เกื้อกูลกันในเรื่องของพลังงาน และ การค้า และเป็นที่ทราบกันดีว่า สองชาติดังกล่าวมีประสิทธิภาพในตลาดการค้าของโลกปัจจุบัน รวมถึงนักเรียนต่างชาติที่นิยมเข้ามาศึกษาต่อในประเทศนี้มีระดับสูงขึ้นทุกปี
ปัจจุบันเราสามารถเห็นคลินิก แพทย์ชาวจีน อินเดีย บริษัทให้คำปรึกษา หรือสำนักงานทนายความที่มาจากสองเชื้อชาตินี้ มากกว่าชาติอื่น นอกจากนั้นเป็นตลาดแรงงาน ทางด้านภาคอุตสาหกรรม และการบริการ
แม้ราล์ฟ ไคลน์ ผู้นำของมณฑลแอลเบอร์ตาจะออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลกลางในออตตาวาออกมาพิจารณาเพิ่มอัตราการรับผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น เพราะจำนวน 918 คน ที่แอลเบอร์ตาได้รับไม่เพียงพอต่อตลาดแรงงาน ขณะที่ออตตาวาได้รับมากกว่า 3,400 คนเมื่อปีที่ผ่านมา
Alberta Human Resources and Employment (AHRE) หรือสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านแรงงานของแอลเบอร์ตา ระบุว่า ถ้ารัฐบาลไม่เตรียมพร้อมรองรับการสร้างงานอย่างมีคุณภาพแล้ว รัฐบาลจะประสบปัญหาในอนาคตอย่างแน่นอน ถ้าพิจารณาช่วงระหว่างปี 2005-2010 อัตราอายุวัยทำงานของชาวแอลเบอร์ตัน ระหว่าง 45 ปีจะสูงขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งคนเหล่า นั้นจะอยู่ในช่วงวัยเกษียณอายุในข้างหน้า
แผนงานของหน่วยงานดังกล่าว ได้พยายามผสมผสานและเตรียมการสร้าง แรงงานภาคอื่นๆ เพื่อรองรับเศรษฐกิจใน อนาคต ทั้งนี้ได้มีการเสริมการอบรมทางด้าน วิชาการเป็นพื้นฐาน เพราะเขาเห็นว่าใน อนาคตอีก 5 ปีข้างหน้า ตลาดแรงงานใหม่ที่มีคุณภาพมากกว่า 60% ของประเทศนั้นจะมีการกำหนดแรงงานที่มีความรู้ขั้นต่ำอุดมศึกษา
การอบรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากรัฐบาล โดยขึ้นอยู่กับระดับรายได้ของผู้เข้าอบรม หากผู้ใดมีรายได้น้อยก็ได้รับการช่วยเหลือเข้าฝึกอบรม พร้อมเงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นรายเดือนจนครบกำหนดโปรแกรม ทั้งนี้จะมีขั้นตอนการ กลั่นกรองอีกทีหนึ่ง หน่วยงานที่เข้ามาเกี่ยว ข้องในการฝึกอบรมส่วนใหญ่อยู่ในภาคเอกชน เพราะรัฐบาลแอลเบอร์ตามีนโยบายในการสนับสนุนภาคเอกชนให้ลงทุนในเรื่องธุรกิจ จึงเห็นชัดถึงหน่วยงานจากหลายๆ สำนักงานที่เข้ามาจัดการเตรียมประมูลการลงทุน ซึ่งมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าประเภทใด
Bredin Institute-Centre for Learning เป็นบริษัทฝึกอบรมแรงงาน และจัดสรรแรงงานให้ลูกจ้างและนายจ้างที่มุ่งเน้นทางด้านวิชาชีพชั้นสูง และแรงงานทางด้านการบริการสาธารณสุข บริษัท McBride Career Group เป็นบริษัทที่จัดหางานโดยตรงที่มีคุณสมบัติเด่นด้วยเงื่อนไขการได้รับเงิน สนับสนุนจากรัฐบาลจ่ายเงินเดือนให้นายจ้าง เทรนลูกจ้างกว่า 50% หรือที่เรียกว่า TOJ (Training On the Job) Edmonton Men-nonite Centre for Newcomers มุ่งเน้นให้บริการในการฝึกอบรมคนต่างชาติที่เข้ามาอาศัยในแคนาดาทางด้านวิชาชีพทั่วไป เช่น การบัญชี การตลาด และการบริการทั่วไป
แม้โครงการ TOJ กำลังเป็นที่นิยมในตลาดแรงงานภาคการบริการ เช่น ผู้ช่วยพยาบาล เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่การตลาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดูแลผู้ป่วย เด็ก และผู้ด้อยโอกาสในสังคม เพราะถือเป็น จุดเด่นที่ฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างได้เรียนรู้ในการทำงานร่วมกัน โดยมีรัฐบาลเข้ามารับผิดชอบในค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งก็ตาม แต่ผลกระทบก็เกิดขึ้นได้ถ้าหากไม่มีการตรวจสอบ หรือประสานงานอย่างรอบคอบ เนื่องจากลูกจ้างบางส่วนไม่ได้รับการบรรจุเข้าทำงานในภายหลัง
บางครั้งเกิดกรณีวิจารณ์กันถึงสาเหตุที่โครงการต่างๆ ไม่มีผลเท่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ เพราะมีสาเหตุของการเลือกปฏิบัติความไม่เข้าใจในการสื่อสาร วัฒนธรรมการทำงาน หรือมาตรฐานการทำงานที่ไม่ได้มาตรฐานของสังคมแคนาเดียน
นี่คือคำถามเบื้องต้นของชาวแคนา เดียนที่ AHRE และรัฐบาลแคนาดาจะต้อง หาคำตอบให้ได้มากกว่าจะออกมาชื่นชมตัวเลขอัตราการว่างงานที่ลดลง หรือจีดีพีที่สูงขึ้นเหมือนบางประเทศ
www.hrdc.gc.ca
www.emcn.ab.ca
www.bredin.ab.ca
www.mcbridecarreergroup.ab.ca
|
|
|
|
|