Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2548
ฟุตบอลในดินแดนกระทิงดุ             
โดย ธนิต แก้วสม
 


   
search resources

Sports




มักจะพูดถึงประเทศสเปนกันว่าเป็น "ดินแดนกระทิงดุ" มันก็ไม่ผิดนะ เพราะว่าการสู้วัวกระทิง เป็นกีฬา การละเล่น หรือเรียกได้ว่าเป็นประเพณีที่สืบต่อกันยาวนาน พอจะเทียบได้กับกีฬามวยไทยของคนไทยคือเป็นลักษณะของกีฬาที่เป็น "เอกลักษณ์" (deporte simbolico) มากกว่าจะเป็นกีฬายอดนิยม (deporte popular)

แต่ฟุตบอลนี่สิ เป็นกีฬา เป็นตำนาน เป็นความนิยม... เป็นถึงนิยามหนึ่งของตัวบุคคล (identidad) หากจะรู้จักใครสักคน ในประเทศนี้ก็ต้องถามชื่อ ตามด้วยนามสกุล, แดนเกิด และลำดับต่อมาก็น่าจะเป็นทีมไหน? รีล มาดริด หรือบาร์เซโลนา? หรือ อื่นๆ คือจะได้รู้ไว้ล่วงหน้า หากเป็นแฟนคนละทีมก็เป็นเพื่อนกันได้ คุยกันได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องเดียว คือ "เรื่องฟุตบอล" แต่ถ้าเป็นทีมเดียวกัน อันนี้น่าจะบ่งบอกถึงมิตรภาพที่แนบแน่นและยาวนานกว่า

ความเป็น "แฟน" ของทีมใดทีมหนึ่ง อาจย้อนไปได้ถึงรุ่นปู่ แล้วยึดถือสืบทอดกันมาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน มักจะไม่เปลี่ยนความนิยมกันง่ายๆ แม้ในช่วงที่ทีมตัวเองจะตกต่ำเพียงใดก็ตาม

แน่นอนที่สุดที่ทีมต่างๆ เป็นทีมประจำเมืองหรือประจำท้องถิ่น ย่อมมีแฟนประจำอยู่แล้ว คือชาวเมืองนั้นๆ แต่มีพิเศษ สำหรับทีมระดับประเทศ อย่างเช่น รีล มาดริด หรือบาร์เซโลนา ก็จะมีแฟนบอลอยู่ ทั่วประเทศ นั่นก็คือ หนึ่งคนมักเป็นแฟนสองทีม คือทีมบ้านเกิดกับทีมที่โปรดปราน

แล้วอะไรล่ะที่ทำให้กีฬาฟุตบอลเป็น ที่นิยมมายาวนาน จากการที่เฝ้าสังเกตอยู่หลายปี พอจะได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้

กีฬาฟุตบอลให้ความเพลิดเพลินผ่อนคลายในวันสุดสัปดาห์ ได้เฝ้าติดตามดูว่าใครแพ้ ใครชนะ ทีมตัวเองเป็นอย่างไร ทำให้ลืมเรื่องงาน หรือเรื่องราววุ่นๆ ในชีวิต ไปได้ชั่วคราว

กีฬาฟุตบอลให้ความมันส์ ให้ความรู้สึกที่พิเศษ ทำให้รู้สึกว่าเป็นผู้ชนะได้แม้นั่งเฉยๆ อยู่หน้าจอทีวี

กีฬาฟุตบอลช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับชุมชน คือเมื่อทีมในเมืองของตัวเองแข่ง คนทั้งชุมชนก็จะสามัคคีรวม ใจกันเชียร์ หรือหากไปแข่งที่เมืองอื่นก็ต้องตามกันไปเชียร์ถึงที่ และถ้าเป็นทีมชาติก็ถือเป็นการรวมใจคนในชาติได้ด้วย

กีฬาฟุตบอลเป็นรสนิยมที่ดีอันหนึ่ง เพราะเป็นกีฬาที่นิยมกันทุกเพศทุกวัย ไม่ล้าสมัย และก็ไม่ล้ำสมัยจนเกินไป อีกทั้งบุคคลสำคัญๆ ระดับประเทศ กษัตริย์ เจ้าชาย นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ต่างก็เป็น แฟนฟุตบอลกันทั้งนั้น มักปรากฏตัวให้เห็นในฐานะผู้ชมในสนามของนัดสำคัญๆ อยู่เสมอ

และสุดท้าย กีฬาฟุตบอลให้โอกาส รวยได้ง่ายๆ เนื่องจากว่าการพนันบอลแบบ "บนดิน" ที่ชื่อว่า Quiniela ของสเปนเป็นที่นิยมกันมาก เพราะลงทุนน้อย เพียงแค่ 0.30 ยูโร แต่มีโอกาสรับรางวัลถึง 10 ล้านยูโรในแต่ละสัปดาห์ นับว่าเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักอันหนึ่งที่ทำให้ต้องตามลุ้นกันทุกคู่ทุกนัด

อาจจะมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่เสริมความ นิยมให้กับกีฬาฟุตบอลที่ต้องเฝ้าศึกษาเรียนรู้กันต่อไป ก็เพราะความนิยมนี่แหละทำให้ในประเทศสเปนมีการจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่เป็นระบบมาก โดยมีสมาพันธ์ ฟุตบอลแห่งชาติ (Real Federacion espanola de futbol) เป็นผู้ควบคุมดูแล มีสโมสรฟุตบอลระดับท้องถิ่น ระดับเขต ระดับจังหวัด ดิวิชั่น 3 ดิวิชั่น 2 และที่เป็นที่รู้จักกันคือ ดิวิชั่น 1 หรือ La Liga อันโด่งดัง ระบบการจัดการที่ดีและความนิยมของผู้คนทำให้ฟุตบอลลีกของสเปนมีชื่อเสียงอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก และก็ด้วยระบบจัดการแข่งขันและการสนับสนุนที่ดีนี่แหละทำให้สเปนสามารถผลิตนักฟุตบอลคุณภาพระดับโลกมาอย่างต่อเนื่อง อย่างราอุล กอลซาเลส (เรียล มาดริด), เฟอร์ นันโด ทอเรส (อัตเลติโก้ มาดริด) หรือซาวี อะลองโซ (ลิเวอร์พูล) รวมถึงกุนซือชื่อโด่งดังอย่างราฟา เบนิเตส

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเรื่องราวประเภท "ถ้าไม่บอกก็ไม่รู้" เกี่ยวกับฟุตบอล ในสเปนมาเล่าให้ฟังกัน ในความนิยมที่กล่าว มานั้น ผู้คนที่นี่ "นิยมดู" มากกว่า "นิยมเล่น" โดยเฉพาะผู้ใหญ่จะดูและเชียร์เป็นอย่างเดียว แม้กระทั่งในกลุ่มเยาวชน ไม่ใช่ว่าเด็กๆ ส่วนใหญ่ที่นี่จะนิยมเล่นฟุตบอล เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เทียบไม่ได้กับเยาวชนไทยของเราเลยที่ต่างก็ชอบเล่นฟุตบอลกันเป็นชีวิตจิตใจ แต่เยาวชนสเปนที่สนใจเล่นฟุตบอลนั้น เป็นกลุ่มที่ชอบจริงๆ และทุ่มเทกับมันอย่างเต็มที่ หวังจะยึดเป็นอาชีพเลยก็ว่าได้ และในความจริงแล้วมันก็เป็นความหวังที่สดใสซะด้วย เพราะมีนักฟุตบอลอาชีพมากมายที่ประสบความสำเร็จ และมีชื่อเสียงให้ดูเป็นแบบอย่าง

ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้ก็จะไม่แปลกใจเลยที่ตามโรงเรียนประถมหรือมัธยมของที่นี่ ไม่มีสนามฟุตบอลขนาดใหญ่ ใครอยากจะเล่นก็ไปสมัครเป็นสมาชิก ของสโมสรประจำเมืองและฝึกฝนในสนามของสโมสรนั้นๆ หรือในสนามกลางของเมือง

เมื่อโลกเข้าสู่ยุคใหม่ ยุคแห่งการตลาด ยุคแห่งบริโภคนิยม กีฬาฟุตบอลก็ได้เปลี่ยนแปลงไปพอสมควร อาจจะกล่าว ได้ว่า จะเรียกว่ากีฬาฟุตบอลได้เต็มนิยามของคำว่า "กีฬา" ก็จะกล่าวได้เพียงฟุตบอล ในดิวิชั่น 2 ไปจนถึงระดับท้องถิ่น ส่วนดิวิชั่น 1 นั้นต้องเว้นไว้ เพราะเป็นการบริหาร กีฬายุคใหม่ในแบบกีฬา-มาร์เก็ตติ้ง เนื่อง จากว่ามีการซื้อ ขาย ทำกำไร ตั้งแต่ตัวนักเตะ เสื้อ หมวก นาฬิกา ตุ๊กตา ภาพ-ยนตร์ สัญญาณทีวี ฯลฯ ประธานสโมสรก็คล้ายกับประธานบริษัทขนาดใหญ่ ที่ต้องพยายามอย่างเต็มที่ที่จะทำกำไรให้กับบริษัท แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อแตกต่าง เพราะเขาต้องรับผิดชอบต่อความรู้สึกลูกค้า (แฟนบอล) นับล้าน ในการแข่งขันแต่ละนัด ที่จะต้องไม่สร้างความผิดหวังให้เกิดขึ้น ดูไปแล้วก็เหมือนจะเป็นลักษณะของบริษัทมหาชนอย่างแท้จริง ฉะนั้นบ่อยครั้งที่จะเห็นประธานสโมสรรีล มาดริด ออกมา ขอโทษแฟนบอล เมื่อทีมของตนไม่ประสบ ความสำเร็จจากการแข่งขัน

ขอทิ้งท้ายด้วยเรื่องราวที่แปลกอีกอย่างคือ คนสเปนไม่ได้สนใจฟุตบอลลีกต่างชาติเลย แม้แต่สื่อก็ไม่ให้ความสนใจ ไม่พูดถึง ไม่เสนอข่าว นอกเสียจากว่าจะมีนักเตะสเปนไปค้าแข้งอยู่ ก็จะพูดถึงกันบ้าง แต่ที่แปลกยิ่งกว่าคือแฟนบอลในเมืองไทยรู้จักแต่ลีกต่างชาติ ทุ่มใจเชียร์กันเป็นเรื่องเป็นราว ทั้งๆ ที่นักเตะบางคนที่นี่ยังไม่รู้เลย ว่าประเทศไทยตั้งอยู่ส่วนไหนของโลก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us