|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2548
|
|
ครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ของญี่ปุ่น (จากนี้ขอเรียกว่า ธนาคาร analogue*) หลายแห่งได้ปรับกลยุทธ์ในการบริหารจัดการขึ้นมาใหม่ในหลายมิติ เริ่มจากการรวมตัวกันเป็นธนาคาร analogue ขนาดใหญ่ไล่ไปจนถึงรายละเอียดเรื่องการ reform อาคารสถานที่เพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางการเงิน และให้บริการลูกค้าด้วยมาตรฐานที่สถาบันการเงินระดับโลกพึงมี ในภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นเช่นนี้ 7 BANK ซึ่งเป็นธนาคารใหม่ภายใต้รูปแบบของธนาคาร digital* สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องแบบก้าวกระโดดจนกลายเป็นที่จับตามองมาตลอด 5 ปี
ในปัจจุบันภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นอาจถูกมองว่าเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตั้งแต่ตื่นจนหลับ แต่นั่นไม่อาจใช้ได้กับระบบ ATM ของธนาคาร analogue เนื่องจากเหตุผลเรื่องความปลอดภัย ATM ของธนาคาร analogue ทั้งหลายจึงพร้อมใจกันงดให้บริการในยามวิกาล (ยกเว้นแต่ธนาคาร UFJ ที่เพิ่งหันมาเอาใจลูกค้าด้วยการเปิดบริการ 24 ชั่วโมงเมื่อไม่กี่ปีมานี้) ในขณะเดียวกันการใช้บริการหลัง 6 โมงเย็นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษและจะยิ่งแพงขึ้นไปอีกเป็นเท่าตัวหากไปขอใช้บริการในวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดราชการ
ยิ่งไปกว่านั้นเครื่อง ATM ของธนาคาร analogue ดังกล่าวยังรักษาธรรมเนียมปฏิบัติในช่วงวันหยุดปีใหม่ของญี่ปุ่นไว้อย่างเหนียวแน่นโดยการหยุดทำการต่อเนื่องประมาณ 4-5 วัน (ขึ้นกับธนาคาร) ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับคนที่มีงานยุ่งช่วงปลายปีจนไม่มีเวลาได้วางแผนการใช้จ่ายล่วงหน้าหรือคนที่เกิดจำเป็นต้องใช้เงินขึ้นมาอย่างเร่งด่วน
การขยายตัวของกลุ่มบริษัท Seven & i Holdings ที่มีแกนนำหลักสองส่วนคือ Ito Yokado ซึ่งเป็น retailer รายใหญ่กับ 7-Eleven เมื่อปี 2001 กำเนิดแนวคิดของบริการลูกค้าแบบครบวงจรซึ่งนำไปสู่การจัดตั้ง IY BANK โดยดึงเอาผู้ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญแบบมืออาชีพอย่าง Takashi Anzai อดีต president ของ The Bank of Japan เข้ามาร่วมงาน
ถึงแม้ว่า 7 BANK เพิ่งจะ rebrand ทั้งชื่อและโลโกมาจาก IY BANK เมื่อวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา ด้วยหน้าตาใหม่ที่ละม้าย 7-Eleven มีส่วนสำคัญที่ทำให้ประชาชนทั่วไป จดจำ 7 BANK ได้ง่ายขึ้นซึ่งมีตัวเลขชี้ชัดจากยอดจำนวนครั้งการใช้บริการที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว
7 BANK นับเป็นธนาคารแรกที่นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ผนวกกับวิสัยทัศน์ ที่วางไว้ซึ่งปิดช่องว่างของธนาคาร analogue ได้อย่างลงตัว โดยมุ่งเน้นสนองความต้องการของลูกค้าว่าด้วยความสะดวก รวดเร็ว แน่นอน และมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เชื่อถือได้ ด้วยความเป็นธนาคาร digital ของ 7 BANK จึงไม่จำเป็นต้องมีอาคารที่ตั้งสาขา และการว่าจ้างพนักงานประจำเคาน์เตอร์เหมือนอย่างธนาคาร analogue ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนของธนาคารได้มหาศาล อีกทั้งไม่จำเป็นต้องมีสมุดบัญชีเงินฝาก ลูกค้าถือบัตร ATM ของ 7 BANK เพียงใบเดียวสามารถดำเนินการทุกอย่างผ่านระบบเครือข่าย ATM และอินเทอร์เน็ตของธนาคารได้ทุกที่ทุกเวลา
ในกรณีเกิดปัญหาใดๆ ก็ตาม สามารถโทรศัพท์สอบถามยังศูนย์บริการลูกค้า และ/หรือในกรณีที่จำเป็นจะมีพนักงานเดินทางไปพบลูกค้าได้ทันทีทุกที่ทุกเวลาเช่นกัน สำหรับลูกค้าที่ประสงค์จะมีหลักฐานเป็นบันทึกตัวเลข นั้นสามารถขอใบตรวจสอบบัญชีซึ่งจัดส่งถึงบ้านทางไปรษณีย์ทุกเดือน
แนวคิดนี้อาจฟังดูราวกับเป็นกลยุทธ์ของธนาคารในจินตนาการเกินกว่าจะสรรค์สร้างให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การดำเนินงานของ 7 BANK เป็นหนึ่งในโมเดลต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงานมนุษย์และแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรอันมีจำกัด ทั้งนี้ความสำเร็จนั้นมีส่วนสนับสนุนจากประชากรส่วนใหญ่ที่มีนิสัยซื่อตรงและมีความรู้คุ้นเคยกับการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นอย่างดี
ทุกคนที่มีที่อยู่แน่นอนในประเทศญี่ปุ่น พร้อมหลักฐานที่ตรวจสอบได้สามารถขอเปิดบัญชี 7 BANK ผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือส่งใบสมัคร ซึ่งวางไว้ที่ 7-Eleven ได้ทางไปรษณีย์ เมื่อเปิดบัญชีแล้วลูกค้าสามารถใช้บริการ ATM ของ 7 BANK ที่มีมากกว่า 10,000 เครื่องได้ 24 ชั่วโมงตลอด 365 วัน ที่ห้าง Ito Yokado และ 7-Eleven ทุกสาขา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศญี่ปุ่น
ทั้งการฝาก-ถอนและตรวจสอบยอดคงเหลือทำได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในระหว่างวัน (ตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 1 ทุ่ม) ของทุกวันรวมทั้งเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดราชการ เฉพาะการเบิกเงินสดหลังช่วงเวลาดังกล่าวจึงจะเสียค่าธรรมเนียมในราคา 105 เยน
นอกจากนี้ยังสามารถนำบัตร ATM ของ (1) ธนาคาร analogue (2) สินเชื่อ (3) ไปรษณีย์ (4) บรรษัทเงินทุน (5) บริษัทประกัน (6) credit cards มาใช้กับเครื่องของ 7 BANK ได้ตลอดเวลาโดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราเท่ากันหรือถูกกว่าค่าธรรมเนียมของบัญชีต้นสังกัดเสียอีก รูปแบบใหม่ที่เป็นจุดแข็งอีกอย่างของ 7 BANK คือบริการ internet Banking ซึ่งลูกค้าสามารถทำการโอนเงิน-ตรวจสอบยอดบัญชีได้ตลอดเวลาผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์จากเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในออฟฟิศหรือจากที่บ้าน หรือโน้ตบุ๊กที่ต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายขณะออกไปทำธุระข้างนอก และรวมถึงการ access โดย ตรงจากโทรศัพท์มือถือ (Mobile Banking) นอกจากนี้ลูกค้าของ 7 BANK ที่ทำการโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ตจะเสียค่าธรรมเนียมเพียงครึ่งเดียวในราคาเพียง 52 เยน
ในบางครั้งโดยเฉพาะช่วงที่จวนเจียนถึงกำหนดเส้นตายของงานบางอย่าง การประหยัดเวลาที่ต้องเดินทางไปต่อคิวที่ธนาคาร ได้เพียง 1 นาที ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ดังนั้นความสะดวกที่เชื่อถือได้นี้จึงกลายเป็นแนวโน้มใหม่ที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคยุค IT ในญี่ปุ่นที่สามารถทำธุระสองอย่างได้ในสถานที่เดียวกัน ทำให้ลูกค้า 7 BANK นับวันจะมีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ดี ความพึงพอใจจากลูกค้าที่มีต่อ 7 BANK หาใช่ 100% ไม่ อย่างน้อยในปัจจุบัน 7 BANK ยังไม่มีบริการสำหรับลูกค้าที่จำเป็นต้องติดต่อทางด้านการเงินกับต่างประเทศ ซึ่งความเป็นไปได้ในการพัฒนาส่วนนี้มีมากน้อยเพียงใดยังไม่สามารถประเมินออกมาได้เพราะไม่มีสิ่งใดในโลกที่สมบูรณ์แบบในตัวเอง ธนาคาร analogue ยังคงมีความสำคัญและจำเป็นในฐานะสถาบันหลักของระบบการเงินญี่ปุ่น ซึ่งหากเปรียบธนาคาร analogue เป็นซามูไรเศรษฐกิจ* แล้ว ความคล่องตัวในการบริการจากความมีตัวตนที่ดูเหมือนไร้ตัวตนของธนาคาร digital อย่าง 7 BANK นี้คงเทียบได้กับนินจาเศรษฐกิจ* ที่ทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กันในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของญี่ปุ่นต่อไป
หมายเหตุ * เป็นคำที่ผู้เขียนกำหนดขึ้นมาเอง
|
|
|
|
|