|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2548
|
 |

สาเหตุที่ China Europe International Business School (CEIBS) สถาบันภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการค้าต่างประเทศและความร่วมมือทางเศรษฐกิจจีน (MOFTEC) และคณะกรรมาธิการยุโรป กระโดดเข้ามาจับรายการ "ซูเปอร์ เกิร์ล" เป็นกรณีศึกษา (Case Study) ก็อันเนื่องมาจากสถาบันแห่งนี้มีศิษย์เก่านามซุนจ้วน ผู้วางแผนการตลาดให้กับรายการดังกล่าว
กุนซือการตลาดของ Chinese Idol ผู้นี้กล่าวให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ความสำเร็จของรายการซูเปอร์เกิร์ลนี้เป็นตัวอย่างของการผสมผสานสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และสื่อสิ่งพิมพ์ ในการทำการตลาดได้อย่างลงตัวที่สุด นอกจากผลทางธุรกิจแล้วกรณีนี้ยังเป็นตัวอย่างสาธิตให้เห็นถึงประสิทธิภาพและความทรงพลังของสื่อยุคใหม่ของจีนอีกด้วย
ซุนจ้วนศิษย์เก่า EMBA'99 จะเป็นผู้เขียนกรณีศึกษาของรายการซูเปอร์เกิร์ล ร่วมกับ ดร.ลิเดีย ไพร์ซ (Lydia Price) รองศาสตราจารย์ด้านการตลาดของ CEIBS โดยมีกำหนดจะตีพิมพ์กรณีศึกษานี้โดยเร็วที่สุด
ไม่น่าแปลกที่ความสำเร็จในเชิงธุรกิจของซูเปอร์เกิร์ลจะทำให้รายการในทำนองเดียวกันที่เกิดมาก่อน เกิดมาพร้อมๆ กัน และ เกาะกระแสภายหลัง ถูกโปรโมตอย่างหนักและได้รับความสนใจจากคนจีนทั่วประเทศ อย่างเช่น รายการ My Show ของสถานีโทรทัศน์เซี่ยงไฮ้ รายการสรรหาซูเปอร์พิธีกรของสถานี โทรทัศน์อานฮุย ทั้งกระแสยังแพร่จากทางสื่อโทรทัศน์เข้าไปยังสื่ออินเทอร์เน็ตอีกด้วย
ล่าสุดเว็บไซต์พอร์ทัลยอดนิยมติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศจีน นาม โซหู (Sohu) ก็กำลังจัดรายการแข่งขัน "ซูเปอร์ เกิร์ล" ภาคอินเทอร์เน็ต ที่ใช้ชื่อเต็มว่า "อินเทอร์เน็ตซูเปอร์เกิร์ล" ผ่านทางเว็บไซต์ของตัวเองอยู่เช่นกัน (เว็บไซต์ : http://supergirl. sohu.com/)
สิ่งที่น่าตกใจก็คือว่า ซูเปอร์เกิร์ลภาค อินเทอร์เน็ตนี้เปิดช่องทางให้มีคนเข้าร่วมได้ เยอะยิ่งกว่าและง่ายกว่าเดิมคือ สาวๆ สามารถสมัครและร้องเพลงส่งเสียงตัวเองเข้าคัดเลือก ผ่านช่องทางทางอินเทอร์เน็ตได้ทันที!!!
ด้วยฐานจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศจีนมากกว่า 130 ล้านคน วิธีการเช่นนี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ชาญฉลาดเอามากๆ แต่ที่หนักไปกว่านั้นก็คือ นอกจากอินเทอร์เน็ต แล้ว เว็บไซต์โซหูยังเปิดช่องทางการสมัคร-ส่งเพลงเข้าประกวดผ่านทางโทรศัพท์ได้ด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ เพียงแค่ยกหูโทรศัพท์ขึ้นมาร้องเพลงก็สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ โดยทางผู้จัดเน้นย้ำตรงที่ว่ารายการนี้ผิดกับรายการอื่นคือ กรรมการผู้คัดเลือกจะฟังความสามารถทางการร้องเพลงเป็นหลัก เพราะมีแต่เสียงเพลงให้ฟัง (แต่ถ้าใครจะแปะรูปสวยของตัวเองไว้ในเว็บไซต์ ลงประวัติ หรือเขียนบันทึกชักชวนคนให้ลงคะแนนก็ได้ไม่ว่ากัน)
การประกวด "อินเทอร์เน็ตซูเปอร์ เกิร์ล" ขยายขอบเขตการแข่งขันไปทั่วประเทศ จีนเช่นเดียวกับซูเปอร์เกิร์ลต้นตำรับ โดยจะแบ่งไปตาม 5 เขต/เมืองหลักของจีนประกอบ ด้วย ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เฉิงตู กวางเจา อู่ฮั่น โดยวิธีการคัดเลือกรอบแรกก็คือ ผ่านการให้คะแนนของกรรมการ ควบคู่ไปกับการรวบรวม คะแนนผ่านทางเว็บไซต์ ผ่านโทรศัพท์ ผ่าน SMS และ MMS หาผู้ได้คะแนนสูงที่สุด 100 คนแรกของแต่ละเขต
เมื่อรอบแรกคัดมาได้ 100 คน ต่อมาระหว่างช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลาง เดือนธันวาคม 2548 นี้ก็จะมีการคัดเลือกรอบสองตาม 5 เขตแข่งขันข้างต้น โดยคราวนี้ผู้เข้ารอบจะต้องปรากฏตัวให้กรรมการและผู้ชมเห็น โดยแต่ละเขตจะคัดจากจำนวน 100 คนให้เหลือ 3 คน ทั้งนี้เมื่อเหลือผู้เข้าแข่งขัน 15 คน แล้วก็จะมาจัดการแข่งขัน ณ กรุงปักกิ่ง เพื่อคัดเลือกหาผู้ชนะเลิศเอาในช่วงระหว่างกลางเดือนธันวาคมปีนี้ ไปจน ถึงช่วงต้นเดือนมกราคมปีหน้า
เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ รวมถึงไทย การดึงดูดวัยรุ่นชาวจีนด้วยคำว่า "มีโอกาสได้เป็นดารา-นักร้อง กับรายได้มหาศาล" นั้น ได้ผลชะงัดอย่างยิ่ง ส่งผลให้มีวัยรุ่นจีนแห่แหนกันมาสมัครเพื่อคัดเลือกเข้าแข่งขันในรายการต่างๆ เหล่านี้นับเป็นหมื่นๆ คนต่อรายการ (สำหรับซูเปอร์เกิร์ลของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมหูหนานนั้นมีสาวๆ มาสมัคร มากกว่าแสนคน)
ปรากฏการณ์เช่นนี้สร้างความหวั่นไหวให้กับบรรดานักสังคมวิทยา ครูบาอาจารย์ และพ่อ-แม่ ผู้ปกครองชาวจีนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อมีการหยิบยกเอาเหตุการณ์ที่เยาวชนจำนวนมากหนีเรียนมาสมัคร เข้าแข่งขันรอบคัดเลือก ฝึกซ้อมร้องเพลง ฝึกซ้อมการแสดง หรือกระทั่งพักการเรียนไปเลย นอกจากนี้ก็ยังมีกรณีหนักหนาสาหัสเข้าไปอีกก็คือ ก่อนเข้าร่วมคัดเลือกรายการซูเปอร์ เกิร์ลของโทรทัศน์หูหนาน มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ลงทุนลดน้ำหนักเพื่อให้ตัวเองดูหุ่นผอมเพรียว ตามแฟชั่นยิ่งผอมยิ่งดีในปัจจุบัน อย่างเกินขอบเขตจนกระทั่งเสียชีวิต!
แม้ในเชิงธุรกิจ-การตลาด รายการประกวด-แข่งขันคัดเลือก ดารา-นักร้อง ดูจะประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลดังเช่นที่กล่าวไปแล้ว แต่ผลกระทบเชิงวัฒนธรรม-สังคมของรายการเหล่านี้ต่อสังคมจีนก็ถือว่ามีมหาศาลไม่แพ้กัน
ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา หลังจากรายการซูเปอร์เกิร์ลจบลงไป หลีอี่ว์ชุนสาวหล่อ ผู้ได้ตำแหน่งชนะเลิศจากการแข่งขันครั้งนี้ในฐานะเป็นพรีเซ็นเตอร์ของคอมพิวเตอร์ยี่ห้อหนึ่ง ระหว่างรับงานไปโชว์ตัวที่มหา วิทยาลัยปักกิ่ง (มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของจีน ล่าสุดได้ตำแหน่งมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของเอเชีย และอันดับ 15 ของโลกจาก Times Higher Education supplement หรือ THES แห่งประเทศอังกฤษ) ปรากฏว่ามีนักศึกษามหาวิทยาลัยเข้าชมงานนี้มากกว่า 1,500 คน ทั้งยังมีการรุมล้อม-วิ่งไล่ตามถ่ายรูปและขอลายเซ็น หลีอี่ว์ชุน เกือบเข้าขั้นบ้าคลั่ง ตามรายงานของสื่อมวลชนจีน
ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่าในสายตาคนจีนนั้น มหาวิทยาลัยปักกิ่งเปรียบได้กับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสายตาของชาวโลก นักศึกษามหาวิทยาลัยปักกิ่งนั้นถือว่าเป็นเยาวชนระดับหัวกะทิของประเทศ ที่ถือว่าจะต้องปัญญาชนอันเป็นเสาหลักให้กับผู้ด้อยโอกาส และเป็นอนาคตในการสร้างชาติต่อไป
ทั้งนี้เมื่อข่าวเผยแพร่ออกไปก็มี ผู้ไม่เห็นด้วย กล่าวกระแนะกระแหนว่า "ที่มีการเชิญนักวิชาการระดับโลกมาบรรยายที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ไม่เห็นนักศึกษามหาวิทยาลัยปักกิ่งจะบ้าคลั่งเช่นนี้บ้างเลย?"
ขณะที่ฝ่ายนักศึกษาและผู้สนับสนุนบางส่วนก็โต้ว่า "ทำไมทีนักการเมืองไต้หวันอย่างหลี่อ๋าว หรือดาราฮ่องกงอย่างโจวซิงฉือ มาบรรยายที่มหาวิทยาลัยยังไม่เห็นว่าอะไร หลีอี่ว์ชุน ที่เป็นดาราคนจีนแผ่นดินใหญ่แท้ๆ จะมาโชว์ตัวที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งไม่ได้?" หรือ "วัยรุ่นบ้าดาราไม่เห็นจะเป็นเรื่องแปลกอะไร?"
เมื่อมีผู้ถามว่า กระแสความนิยมของซูเปอร์เกิร์ล รวมไปถึงรายการสรรหาดาราดังกล่าว จะมีอนาคตยืนยาวไปอีกนานแค่ไหน หรือทางรัฐบาลจีนเห็นอย่างไรกับปรากฏการณ์เช่นนี้
คำตอบทางอ้อมๆ จากทางรัฐบาลจีน ก็คือ สถานีโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (ซีซีทีวี) ประกาศออกมาแล้วว่าจะไม่ถ่ายทอดรายการอย่างซูเปอร์เกิร์ลนี้ในปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป แม้ว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นเท่าใดก็ตาม แต่จะจัดรายการอย่างเช่น "ฝันที่เป็นจริง" รายการรูปแบบใกล้เคียงกันแต่วิธีการจัดไม่เน้นเด็กวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว และเนื้อหาไม่ตลาดเท่ารายการซูเปอร์เกิร์ลทางช่อง CCTV-2 ต่อไป
ผมดูท่าแล้วในช่วง 2-3 ปีนับจากนี้ไป ใครจะมาเรียน-ทำงานที่เมืองจีนก็เตรียมตัวเตรียมใจดูรายการ "ประกวดดาราหาไอดอล" แบบนี้ให้ตาแฉะกันได้เลย
..... ดูแล้วก็จะรู้ว่าวัยรุ่นจีนสมัยนี้เขาเป็นเช่นไร และไปถึงไหนกันแล้ว
|
|
 |
|
|