|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2548
|
|
เรื่องราวประวัติศาสตร์และชีวิตของผู้คนจากดินแดนเล็กๆ ในซีกโลกตะวันออก เล่าผ่านชิ้นงานของกระเบื้องคอตโต้ ในบูธงาน Maison & Objet ใจกลางกรุงปารีส
Maison & Objet เป็นงานใหญ่ของโลกเกี่ยวกับการแสดงสินค้าตกแต่งบ้านและ สิ่งทอ ในกรุงปารีสที่จัดมาต่อเนื่องถึง 10 ปี โดยปีนี้ได้เปิดโซนใหม่ กระเบื้องและวัสดุก่อสร้างเป็นปีแรก
บริษัทวัสดุก่อสร้างจากทวีปเอเชีย มีเพียง Cotto Studio จากประเทศไทยเท่านั้น ที่มีโอกาสเข้าร่วมแสดงผลงาน
"เราโชคดีมากๆ และได้เปรียบตรงที่ผู้บริหารของงานนี้มีโอกาสมาที่ Cotto Tiles Library ที่อโศก พบว่า เรามีสินค้าหลากหลาย น่าสนใจมากมาย เลยได้รับโอกาสให้เข้าไปแสดงงานที่นั่น"
เทวินทร์ วรรณะบำรุง ดีไซน์ไดเร็กเตอร์เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง ด้วยน้ำเสียงที่แสดงถึงความดีใจในการเข้าไปทำตลาดต่างประเทศ และมีโอกาสแสดงสินค้าที่มาจากวิธีคิดของพวกเขาในตลาดระดับโลก เป็นความต้องการของทีมงานดีไซน์อย่างมากๆ
คอตโต้ สตูดิโอ ได้เตรียมตัวเซตสินค้าเพื่อจัดบูธซึ่งมีพื้นที่ 36 ตร.ม. (บูธงาน บ้านและสวนแฟร์มีพื้นที่เพียง 32 ตร.ม.) ในเวลา 1 เดือน สินค้าเดินทางทางเรือประมาณ 2 เดือนและใช้เวลาประมาณ 5 วันในการติดตั้งก่อนเปิดงาน
ซีรีส์เด่นคือ "พิมาย" ซึ่งได้รับรางวัล "Honorable Mention DesignEX 2005's Product Design Awards" (ประเภท Surface Finishes มี 2 รางวัล ได้รางวัลที่ 2) จากงาน แฟร์ "designEX" ที่เมลเบิร์น ออสเตรเลีย
ลุคของพิมายจะดูเป็นหินธรรมชาติที่มีลวดลายของความเป็นตะวันออก
"ลูกค้าที่เข้ามาดู ตอนแรกนึกว่าเป็นสินค้าจากอิตาลี พอมาคุยถึงรู้ว่ามาจากเมือง ไทยจากเอเชีย ที่เขาไม่คิดว่าจะผลิตสินค้าแบบนี้ได้ เขาก็แปลกใจ" เทวินทร์เล่าต่อ
ยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่ทำตลาดได้ยากมาก เพราะจะมีแบรนด์ใหญ่ๆ ที่ผูกพันกันเป็นเวลานานครองตลาดอยู่แล้ว ไม่เปิดโอกาสให้รายเล็กๆ ได้เข้าไป แต่คราวนี้คอตโต้มีโอกาสพบกับลูกค้าโดยตรง มีโอกาสเล่าเรื่องราวเบื้องหลังและที่มาของสินค้าแต่ละชิ้นและคาดหวังว่า เรื่องเล่า ของประเทศเล็กๆ จากเอเชียจะสร้างความประทับใจ
"ลูกค้าแฮปปี้กับวิธีคิดและที่มา เบื้องหลังการทำงานมาก เขาจะตั้งใจฟังเมื่อผมอธิบายว่า งานชิ้นนี้ไปปิ๊งตรงนี้มานะครับ แล้วเอามาขยายงานต่อ เมื่อคุณเอาไปใช้งานแล้ว คุณได้อะไร บรรยากาศของบ้านก็จะเป็นอย่างนี้ๆ เป็นการซื้อจากความพอใจ ที่เขาได้มากกว่าตัวโปรดักส์ที่เป็นก้อนๆ"
สินค้าที่ได้รับความสนใจอีกตัวหนึ่งคือ Greenery ที่โชว์กระเบื้องโมเสกใส หล่อ ด้วยดอกไม้จริงมีกลิ่นหอม รวมทั้ง TERME ขนาด 12 X 24 นิ้ว
Maison จัด 2 ครั้งต่อปีคือ ช่วงเดือนกันยายนและมกราคม และครั้งหน้าคอตโต้ จะขอเจรจาพื้นที่เพิ่มจาก 36 ตร.ม. เป็น 72 ตร.ม. โดยจะแบ่งเป็นการโชว์โปรดักส์ ส่วนหนึ่งและส่วนหนึ่งจะโชว์คอนเซ็ปต์ที่ไร้ขีดจำกัดของทีมงานของคอตโต้สตูดิโอ
"ปีหน้า เราจะมีงานแฟร์ที่ไปแสดงตั้งแต่ต้นปี เริ่มงานที่รัฐลาสเวกัสในอเมริกา เดือนเมษายนเป็นงานที่ฟลอริดา, งาน DesignEX งานมหกรรมตกแต่งบ้านที่เมลเบิร์น ซิดนีย์ ส่วนในยุโรปที่อังกฤษช่วงต้นปีเหมือนกัน รวมทั้งงาน Maison ที่ฝรั่งเศส และงานแฟร์ใหญ่ในประเทศสเปนก็กำลังดีลอยู่" เทวินทร์เล่าถึงแผนงานคร่าวๆ ในปีหน้า
การผลักดันการดีไซน์ไปพร้อมๆ กับการวิเคราะห์ด้านการตลาดและสภาพสังคม เป็นวิสัยทัศน์ก้าวไปเป็น Trend Setter ที่จะช่วยอย่างมากในการทำตลาดในต่างประเทศและมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันกระเบื้องคอตโต้ มียอดขายส่งออก 40% ของกำลังการผลิต
|
|
|
|
|