|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ที่ผ่านมา "ผู้ชาย" เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สนใจประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวงการวิทยาศาสตร์ และไอที แต่วันนี้ความคิดนี้เปลี่ยนไปด้วยมุมมองใหม่ของยักษ์ใหญ่สีฟ้า
วันปิดเทอมของน้องๆ นักเรียน ม.ต้น จากโรงเรียนสายน้ำผึ้ง และโรงเรียนราชินี กลายเป็นวันพิเศษในทันที เมื่อมีจดหมายจาก ผู้บริหารบริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ไปยังอาจารย์ประจำโรงเรียน มีใจความเชิญชวนเด็กนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมของบริษัทภายใต้ชื่อโครงการว่า "Exite Camp 2005" โดยมีเงื่อนไขเล็กน้อยก่อนการคัดเลือก เด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
ย่างเข้าปีที่สองแล้วที่ไอบีเอ็ม ประเทศ ไทย ตัดสินใจนำโครงการดังกล่าวมาใช้กับประเทศไทย หลังจากที่ไอบีเอ็มประเทศต่างๆ ทั่วโลก นำโครงการดังกล่าวไปใช้ในบ้านเกิดของตน และประสบความสำเร็จมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
"Exite Camp 2005" เกิดขึ้นมาตามแนวคิดให้ความสำคัญในการกระตุ้นเพศหญิงให้หันมาสนใจวงการวิทยาศาสตร์และไอทีมากขึ้น เพราะจากการสำรวจของไอบีเอ็มพบว่า กว่าครึ่งของบุคลากรในองค์กร ดังกล่าวเป็นเพศชายแทบทั้งสิ้น และในสถานศึกษาเองกลุ่มวิชาการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และไอที มักมีแต่นักศึกษาผู้ชายเสียกว่าครึ่งค่อนห้อง
แม้แต่องค์กรอย่างไอบีเอ็มเอง ศุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ ก็ยอมรับว่าหากแยกเป็นพนักงาน 100 คนแล้วในจำนวน 42 คนที่เป็นพนักงานหญิง แต่กว่าครึ่งเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในฝ่าย support เสียส่วนใหญ่ ขณะที่มีเพียงไม่กี่คนทำหน้าที่สายวิศวกรรมของบริษัท
เด็กผู้หญิงหลายสิบคนที่นั่งอยู่ในห้องสัมมนาเล็กๆ บนชั้น 1 ของตึกไอบีเอ็ม เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จึงเป็นหนึ่งในความตั้งใจที่ไอบีเอ็มพยายามผลักดันให้เห็นความสำคัญและประโยชน์ในการเรียนรู้ในสายงานเหล่านี้มากขึ้น เพราะจากการคัดเลือกเบื้องต้น ไอบีเอ็มเชื่อว่าเด็กเหล่านี้มีความสนใจเบื้องต้นอยู่แล้วในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพียงแต่มักมองไม่เห็นทางหรือไม่มีใคร แนะแนวว่าหากเรียนแล้วเขาจะได้อะไร และต้องทำอย่างไรบ้าง
ด้วยช่วงวัยของเด็กนักเรียนหญิงที่อายุน้อย ทั้งหมดล้วนแต่อยู่ในระดับ ม.ต้น กลายเป็นเรื่องที่ "ผู้จัดการ" อดสงสัยจนต้องถามศุภจีไม่ได้ คำตอบที่ได้รับนั้นไม่ซับซ้อน ศุภจีเชื่อว่าเด็กๆ เหล่านี้อยู่ในระหว่างตัดสินใจเลือกเรียนสายภาษา อาชีพ หรือวิทยาศาสตร์ ดังนั้นหากไอบีเอ็มสามารถให้ความรู้และได้สัมผัสวิชาชีพที่ใฝ่ฝันตั้งแต่เริ่มแรก ก็มีความเป็นไปได้ไม่น้อย ท้ายที่สุดแล้วเธอจะเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์ ในระดับ ม.ปลายต่อไป และจะเลือกสอบเอ็นทรานซ์หรือสอบเข้าสถาบันในสายวิทยาศาสตร์ หรือไอทีในอนาคตด้วย
กิจกรรมของ Exite Camp อัดแน่นด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของบุคลากรในสายวิทยาศาสตร์และไอทีแทบทั้งสิ้น เด็กหญิงทั้งหมดมีโอกาสได้ชมการทำงานของพนักงานไอบีเอ็มสำนักงานใหญ่ โดยมีพนักงานหญิงของไอบีเอ็ม ซึ่งสละเวลาทำงานมาเป็นอาสาสมัครในค่ายดังกล่าวนำเยี่ยมชม
หรือแม้แต่การเดินทางไปดูงานของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในเขตอำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และเข้าคอร์สการทดลองวิทยาศาสตร์เบื้องต้น
นี่เป็นเพียงหนึ่งในความพยายามผลักดันให้ผู้หญิงเข้าสู่วงการไอทีมากขึ้นของไอบี เอ็ม ก่อนหน้านี้ไอบีเอ็มเคยทำกิจกรรมที่เรียกว่า "School visit" โดยศุภจีหัวเรือใหญ่ของไอบีเอ็มอาสานำทัพพนักงานหญิงของบริษัทหลายสิบคนไปเยี่ยมเยือนโรงเรียนหญิงล้วน เพื่อให้ความรู้และทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ ในชั่วโมงเรียน เพื่อเป็นการกระจายความรู้และแนะนำให้เด็กเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และไอที เช่นเดียวกับแนวคิดของ Exite Camp
หลายคนติดตลกว่า กิจกรรมแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับการแบ่งแยกเพศ "ผู้จัดการ" เองกลับไม่สงสัยอย่างที่หลายคนคิด เพราะหากมองย้อนกลับไปดูกิจกรรมที่ผ่านมาของไอบีเอ็มแล้ว สิ่งที่พบกลับไม่ใช่การแบ่งแยกเพศ กิจกรรมในการสนับสนุนเด็กผู้ชายมีมากมายจนนับไม่ถ้วน แต่การที่ไอบีเอ็มทั่วโลกเลือกที่จะให้ความสำคัญกับเด็กผู้หญิงมากขึ้น นั่นเป็นเพราะตัวเลขง่ายๆ ที่ศุภจีกล่าวเอาไว้ว่า 100 คนในไอบีเอ็มมีผู้ชายทำงานเสียกว่าครึ่งค่อน หากผู้หญิงในไอบีเอ็ม ล้วนแต่ไม่ใช่สายวิศวกรรมอย่างชายกว่าครึ่งค่อนนั้น ได้ฟังเช่นนี้ ยิ่งต้องยกนิ้วให้ไอบีเอ็ม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เสียด้วยซ้ำ
|
|
|
|
|