Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2548
"Live assistant" CRM ยุคไฮเทค             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

บัตรกรุงไทย, บมจ.
Credit Card
Marketing
ธีรยุทธ์ สิริกุลวิริยะวาณิช




CRM ยุคใหม่ไม่ได้จำกัดกรอบอยู่เพียงการใช้เสียงเท่านั้น แต่การพูดคุยผ่านโปรแกรมสนทนาทันใจบนโลกอินเทอร์เน็ต ได้กลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่กำลังได้รับความนิยมยิ่งขึ้น

ข่าวการเปิดตัวพนักงานคอลเซ็นเตอร์ รุ่นใหม่ของยักษ์ใหญ่วงการโทรคมนาคมในเมืองไทย ที่สามารถเลือกบริการดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้าและเสียงเพลงรอสายให้ลูกค้าได้ทันที เพียงลูกค้าฮัมเพลงให้ฟังคร่าวๆ หรือ ส่งเสียงออกมาเป็นเสียงดนตรีเบาๆ ผ่านสาย โทรศัพท์ สร้างความแปลกใจให้คนฟังได้ไม่น้อย

หลายครั้งที่เราพบว่า วิธีการแปลกใหม่ ถูกสรรหามาเพิ่มเติมในระบบดูแลลูกค้า วิธีการเก่าๆ คือ เข้าพบลูกค้าแบบตัวต่อตัวอาจจะช้าไปสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่และต้องการความรวดเร็วในการให้บริการ หากแต่วิธีให้บริการลูกค้าผ่านสายโทรศัพท์ก็อาจจะไม่ได้มาตรฐาน เมื่อไม่มีการควบคุมคุณภาพ

ภาพลูกค้ายกหูโทรศัพท์ขึ้นมาแล้วกดหมายเลขศูนย์บริการลูกค้าขององค์กรใด องค์กรหนึ่งที่มีตัวเลขสั้นยาวแตกต่างกันออกไป หนำซ้ำต้องกดหมายเลขรหัสสมาชิกยาวเหยียด ตามด้วยรหัสส่วนตัว ภายในเวลาที่ระบบกำหนดไว้อย่างจำกัด บางครั้งลูกค้าทำ ตามขั้นตอนไม่ทัน ต้องเสียเวลากดซ้ำอีกหลายครั้ง

หรือแม้แต่ภาพการติดต่อกับพนักงาน ที่ดูแลลูกค้าโดยตรง ที่บางครั้งต่างจิตต่างใจ เลือกให้บริการตามช่วงอารมณ์ของตนเองจะเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคไม่ต้องจำทนอีกต่อไป

"อินเทอร์เน็ต" กลายเป็นคำตอบใหม่ ของลูกค้าที่เบื่อความจำเจในการสอบถามหรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าด้วยเสียง เช่นเดียวกันกับเป็นคำตอบขององค์กรที่จะเลือกใช้เป็นเครื่องมือใหม่ในการดูแลลูกค้าหรือการทำ CRM ในยุคที่กลุ่มเป้าหมายบางส่วนมัวแต่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์และเชื่อมต่อโลกทั้งใบเอาไว้หน้าจอคอมพิวเตอร์ของตนเอง

บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC คือบริษัทบัตรเครดิตล่าสุดที่ตัดสินใจเลือกใช้การดูแลลูกค้าผ่านการสนทนากับพนักงานบนเว็บไซต์ของบริษัท นอกเหนือจากการใช้เว็บไซต์ในการดูแลลูกค้าหรือให้บริการทั่วไปอื่นๆ

เมนูโปรแกรมสนทนาที่เรียกว่า "Live assistant" สีชมพูสดถูกวางไว้ซ้ายมือสุดบนหน้าเว็บไซต์หลักของ KTC เมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา พร้อมๆ กับการเปิดตัวเว็บไซต์แห่งนี้อย่างเป็นทางการ หลังจากที่ได้รับการออกแบบและดีไซน์เว็บไซต์ใหม่ทั้งหมดจากเดิมที่ดูเก่าและไม่น่าสนใจ

แม้เพิ่งจะเป็นช่วงการทดสอบระบบ แต่ทุกวันนี้มีลูกค้าที่แวะเข้ามาในเว็บไซต์กว่าครึ่งค่อนร้อยมักจะแวะเข้าไปสนทนากับพนักงานคอลเซ็นเตอร์ผ่านบริการ Live assistant ในแต่ละวัน

หลักการให้บริการ Live assistant ไม่ต่างอะไรกับการสนทนากับพนักงานของบริษัท KTC ผ่านโปรแกรมสนทนาทันใจ หรือ Instant Messaging (IM) โดยเฉพาะการสอบถามปัญหาในการขอใช้บริการบัตรเครดิต หรือปัญหาอันเกิดจากความไม่สะดวกในการใช้บริการ เช่นเดียวกันกับที่ถามผ่านคอลเซ็นเตอร์โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์แทน

ธีรยุทธ์ สิริกุลวิริยะวาณิช Vice President, Membership Privilege ของ KTC บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า ช่วงแรกของการบริการ Live assistant KTC เลือกนักศึกษาที่เรียนมาด้านคอมพิวเตอร์ให้เป็นผู้ช่วยตอบคำถาม กับลูกค้า ทั้งหมดล้วนแต่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Learn and Earn ซึ่งเป็น โครงการรับนักศึกษาฝึกงานของ KTC แทบทั้งสิ้น

นักศึกษาทั้งหมดจะต้องเข้ารับการอบรมเทคนิคการตอบคำถามให้กับลูกค้าเบื้องต้นกับพนักงานคอลเซ็นเตอร์พี่เลี้ยงก่อน ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เรียนรู้การตอบคำถาม เบื้องต้นและปัญหาที่พบบ่อยๆ เพื่อให้สามารถ ตอบคำถามลูกค้าได้อย่างถูกต้อง

ช่วงเวลาการตอบคำถามผ่านบริการ Live assistant ในช่วงทดลองนั้น เริ่มตั้งแต่ เวลา 9 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็นของทุกวันทำงาน หากเลยช่วงเวลาดังกล่าว ระบบจะเปลี่ยนเป็นการฝากข้อความอัตโนมัติ และส่งข้อความดังกล่าวไปยัง mail box ของนักศึกษาที่มีหน้าที่ตอบคำถามทางอีเมลโดยเฉพาะ

ธีรยุทธ์ยอมรับว่า หากผ่านการประเมินใช้ระบบดังกล่าวแล้ว ภายในปีหน้าน่าจะมีการสรุปจากผู้บริหารของบริษัทอีกครั้งว่า ระบบดังกล่าวจะถูกโอนไปยังฝ่ายคอลเซ็นเตอร์ปกติ หรือไม่ เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งเครื่อง มือในการตอบคำถามให้กับลูกค้าได้หลากหลายช่องทางยิ่งขึ้น

นอกจากนี้อาจต้องเปลี่ยนระบบการสนทนาให้รองรับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบัน KTC เลือกเช่าโปรแกรมการสนทนาจากต่างประเทศ แต่หากมีการเลือกโปรแกรม ดังกล่าวเข้ามาบรรจุในระบบให้บริการลูกค้าอย่างจริงจัง อาจจะต้องมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเองในอนาคต

แม้จะเป็นช่วงเริ่มต้นของการคิดค้นระบบการบริการลูกค้าแบบไฮเทคนี้ แต่อนาคต KTC ก็มองไว้แล้วว่า กลุ่มลูกค้าที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน และชุมชนคนออนไลน์เหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นกลุ่มเป้าหมายของบัตรเครดิตกรุงไทยทั้งสิ้น เพราะ ยิ่งวิถีการดำเนินชีวิตหรือ lifestyle ของกลุ่มคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นเปลี่ยนแปลงจากก่อนหน้านี้

หลายครั้งนอกจากกลุ่มคนเหล่านี้จะเลือกใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงส่วนตัวแล้ว การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำหรับการหาข้อมูลตามแหล่งเว็บไซต์ต่างๆ ก่อนพิจารณาตัดสินใจซื้อสินค้า และบริการอะไรสักอย่าง กลายเป็นเรื่องที่ KTC และเจ้าของ ธุรกิจอีกมากมายปฏิเสธไม่ได้ว่า กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

Live assistant เองก็เริ่มขึ้นด้วยแนวความคิดเดียวกันนี้ และจะยังคงแนวทางเดิม ต่อไปในอนาคต ภายใต้เงื่อนไขหรือคุณภาพแบบไหน ก็สุดแต่ผู้บริหารและผู้บริโภคจะเป็นผู้กำหนดร่วมกันนั่นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us