|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2548
|
|
MFC ได้ใช้เวลานับปีในการสร้างดัชนีการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศทั่วโลก เพื่อที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือชี้วัดผลตอบแทนการลงทุนเฉพาะสำหรับกองทุน MFC Global Alpha Fund หรือ MGA ซึ่งจะเข้าลงทุนในกองทุนหุ้นชั้นนำทั่วโลก รวมถึงตลาดเกิดใหม่แถบละตินอเมริกา ยุโรปตะวันออก และเอเชีย
การดำเนินการดังกล่าวนี้เป็นพัฒนาการอีกก้าวหนึ่งในการเรียนรู้วิธีการเลือกลงทุนในกองทุนต่างประเทศของ บลจ.MFC ที่นอกเหนือจากอาศัย Smith Barney ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชั้นนำของโลก ในเครือ Citigroup ให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการลงทุนและคัดเลือกการลงทุนในกองทุนฯ ต่างๆ มาใช้เป็นบันไดอีกขั้น เพื่อที่จะไต่ขึ้นสู่การเริ่มต้นเรียนรู้ การวิเคราะห์หุ้นในระดับที่ลึกถึงพอร์ตกองทุนที่ Smith Barney เป็นผู้บริหาร
"Smith Barney มีหน้าที่คัดเลือกกองทุนหุ้นที่ดีที่สุด หรือต้องอยู่ในระดับ 3 diamonds เป็นอย่างน้อย มาให้ MFC แต่ท้ายที่สุดกองทุน MGA จะลงทุนตามหรือไม่ เป็นเรื่องที่พวกเราจะตัดสินใจ กันเองหลังจากทีมวิจัยการลงทุนต่างประเทศใน MFC ได้วิเคราะห์สิ่งที่เขาส่งมาให้แล้ว"
ทั้งนี้ Smith Barney เป็นสถาบันการเงินที่เก่าแก่อีกแห่งจากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร 233 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นจำนวนกองทุนราว 2,000-3,000 กองทุน ขณะที่มีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนมากกว่า 28% ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลก
อย่างไรก็ตาม พิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซียังหยิบยกข้อดีของการลงทุนในกองทุนประเภท FIF ขึ้นมาเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนที่อาจไม่คุ้นเคยกับการลงทุนในต่างประเทศ จนลังเลที่จะตัดสินใจลงทุนในกองทุนประเภทนี้
ข้อดีประการแรก คือ กองทุน FIF อาจถือได้ว่าเป็นการหาเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศในรูปแบบหนึ่ง ที่นอกเหนือจากวิธีการหาเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศในรูปแบบอื่นๆ เช่น การลงทุนทางตรงในต่างประเทศ การทำงานในต่างประเทศของแรงงานไทย หรือการหารายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประการที่ 2 คือ เป็นการช่วยสร้างสมดุลในการแข่งขันและการลงทุนให้แก่ประเทศ หลังจากที่ประเทศไทยเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้ว คนไทยก็สามารถที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศได้
ประการที่ 3 เป็นข้อดีที่เกิดจากการสร้างความแข็งแกร่งทาง การเงินให้แก่ประเทศ จากการที่ไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปิดเสรีการค้าได้ในอนาคต แม้อาจจะล่าช้าไปบ้างจากความจำเป็นของทางการที่ต้องเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ แต่ในทางเทคโนโลยีแล้วช่วยให้ในปัจจุบันประเทศไทยเปิดเสรีในทางปฏิบัติอยู่แล้ว และหากไม่ออกไปเรียนรู้เสียแต่เนิ่นๆ ในระยะยาวอาจทำให้ระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศอ่อนแอลงได้
และประการสุดท้าย ในแง่ผู้ลงทุนและผู้ออมนั้น การลงทุนใน FIF ยังจะเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยง เนื่องจากความไม่กระจุกตัวของการลงทุนที่มีอยู่เพียงแต่ภายในประเทศ ขณะเดียวกันเมื่อนำผลตอบแทนการลงทุนมาเปรียบเทียบกันแล้ว การลงทุนในต่างประเทศ ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการออมหรือการลงทุนในประเทศเพียงอย่างเดียว
สำหรับ บลจ.MFC นั้น เคยออกกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือ FIF ไปแล้วจำนวน 2 กองทุน คือ กองทุนเปิด MFC Global Equity Fund หรือ MGE มูลค่า 40 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐเพื่อลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก โดยผลตอบแทนจะอิงอยู่กับดัชนี MSCI และกองทุน MFC Opportunity Bond Fund หรือ MGB มูลค่า 25 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจทั้งในและต่างประเทศ
เมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2548 MFC มีส่วนแบ่งการตลาดในกองทุนประเภท FIF สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของอุตสาหกรรม คือ ราว 37.17%
ขณะที่กองทุน MGA ซึ่งเป็นกองทุน FIF กองที่ 3 นี้ MFC มีมูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการใช้สิทธิตามวงเงิน ที่สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้จัดสรรให้แก่ บลจ. แต่ละแห่ง สำหรับนโยบายการลงทุนของ กองทุนนี้ MFC กำหนดว่า ไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิในหน่วยลงทุนจะเป็นการลงทุนในกองทุนตราสารทุนทั่วโลกที่ให้ผลตอบแทนที่ดี อีกทั้ง MFC ยังกำหนดนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
และเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในสกุลเงินต่างๆ แนวทางการลงทุนในช่วงแรก กองทุน MGA จะเข้าลงทุนในหน่วยลงทุนตราสารทุน จาก 4 กองทุน ซึ่งจะเป็นการลงทุนในแถบอเมริกา และยุโรป ตะวันออก เช่น รัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่กำลังมีพัฒนาการของ การเติบโตด้านอุตสาหกรรมพลังงานน้ำมัน ส่วนสาธารณรัฐเชคฯ และโปแลนด์ จะเป็นอีก 2 ประเทศที่จะได้รับผลดีจากการลงทุนทางตรงที่มากขึ้นจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป
แม้กองทุนนี้จะมุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่เหนือกว่าดัชนีอ้างอิง MSCI World Index โดยภาพรวมถึง 2% แต่ MFC บอกว่า ใช้เวลาถึง 1 ปีในการสร้าง index ในตลาดหุ้นทั่วโลกขึ้นชุดหนึ่ง ซึ่งจะถูกนำมาใช้เป็น index สำหรับชี้วัดผลตอบแทนการลงทุนสำหรับกองทุน MGA ด้วย เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม MFC เตรียมยื่นขอใช้วงเงินเพิ่มเติมก่อน สิทธิดังกล่าวจะสิ้นสุดในสิ้นปีนี้ เพื่อนำมาใช้จัดตั้งกองทุน FIF ใหม่อีก 2 กองทุน โดยกองทุนหนึ่งจะเป็นการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์พื้นฐาน (Commodity) เช่น น้ำมัน หรือโลหะมีค่าอย่างทองคำ ส่วนอีกกองทุนเป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund)
|
|
|
|
|