Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2548
BBL เชื่อมธุรกิจ บล.บัวหลวง             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ หลักทรัพย์บัวหลวง, บมจ.

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
หลักทรัพย์ บัวหลวง, บมจ.
ชอง โท
Banking and Finance
ญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์




การปรับเปลี่ยนผู้บริหารของบล.บัวหลวง ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะผสานความร่วมมือทางธุรกิจกับธนาคารกรุงเทพให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ตามแนวทาง Universal Banking

ครั้งหนึ่งธนาคารกรุงเทพอาจเคยมอง บล.บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ว่าเป็นสถาบันการเงินแห่งหนึ่งที่ไม่แตกต่างจากสถาบันการเงินอื่นๆ ซึ่งมีหน้าที่ต้องพยายามดิ้นรนแข่งขัน สร้างความเติบโตภายในธุรกิจของตนแต่โดยลำพัง และแม้บล.บัวหลวงจะเป็นสถาบันการเงินในเครือ แต่ธนาคารกรุงเทพไม่มีหน้าที่ต้องเกื้อหนุนการทำธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการที่มีอยู่ของธนาคารในบริษัทหลักทรัพย์แห่งนี้

แต่หลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศแผนแม่บททางการเงินรองรับการเปิดเสรีภาคธนาคารและการเงิน ธนาคารพาณิชย์หลายรายค่อยๆ ทยอยปรับตัวสู่แนวทางการทำธุรกิจมุ่งสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการแบบครบวงจร (Universal Banking) ด้วยการแตกกิ่งก้านกิจการใหม่ๆ ให้ครอบคลุมอยู่ในปริมณฑลอันหลากหลายของการให้บริการทางการเงิน และประกาศความร่วมมือที่จะสนับสนุนเกื้อกูลกันทั้งในแง่การทำตลาด และการทำธุรกิจภายในกลุ่มเครือ

สำหรับธนาคารกรุงเทพที่แม้ก่อนหน้าอาจจะยังไม่ประกาศตัวเองสู่แนวทางนี้อย่างออกหน้าออกตา แต่การประกาศปรับเปลี่ยนตำแหน่ง 2 ผู้บริหารเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พอจะช่วยให้เห็นภาพได้ว่า ธนาคารแห่งนี้ได้เริ่มปรับตัวกันอย่างเงียบๆ เป็นการภายใน เพื่อที่จะมุ่งสู่การเป็น Universal Bank ในอนาคต โดยการเริ่มต้น integrate ทางธุรกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป ร่วมกับบล.บัวหลวง โบรกเกอร์หมายเลข 1 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในลักษณะที่ญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ กรรมการผู้อำนวยการคนใหม่ของ บล.บัวหลวง บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า เป็นการเชื่อมโยงในแบบที่เรียกว่า mini-universal banking

ทั้งนี้เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บล.บัวหลวงได้ประกาศปรับ โครงสร้าง 2 ผู้บริหาร โดย ชอง โท อดีตกรรมการผู้อำนวยการ บล.บัวหลวง ได้ถูกดึงตัวกลับสู่แบงก์กรุงเทพ ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ เพื่อรับผิดชอบการปฎิบัติงานด้านการต่างประเทศของธนาคาร

นอกจากนี้ ชอง โท ยังคงจะควบในตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร บล.บัวหลวง หลังจากที่ได้ใช้เวลากว่า 3 ปีในการบุกเบิกการทำธุรกิจ และสร้างความเติบโตให้แก่บริษัทหลักทรัพย์แห่งนี้ร่วมกับญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ ซึ่งได้เลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการแทน

การที่ ชอง โทได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ใหม่จากธนาคารกรุงเทพ ให้เข้าดูแลการทำธุรกิจกับลูกค้าต่างประเทศนั้น ทำให้ญาณศักดิ์เห็นว่า ชอง โท มีโอกาสที่จะช่วยให้ บล.บัวหลวง ขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้มากขึ้นไปในตัว เพราะหลังจากที่ชอง โท ได้ออก ตระเวนพบปะกับลูกค้าและนักลงทุนต่างชาติที่ใช้บริการธนาคารกรุงเทพอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เริ่มมองเห็นถึงช่องทางที่จะนำการให้บริการของ บล.บัวหลวง เข้าไปเสริมความต้องการในส่วนต่างๆ ให้แก่ลูกค้ากลุ่มนี้ของธนาคารได้

นอกจากนี้การรั้งตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารใน บล.บัวหลวง อีกตำแหน่งหนึ่ง น่าจะทำให้เขาเห็นภาพในการสร้างความเชื่อมโยงทางธุรกิจระหว่างกิจการทั้ง 2 แห่งนี้ได้อย่างชัดเจน จนทำให้ บล.บัวหลวงมีศักยภาพในการแข่งขันเพื่อทำธุรกิจในตลาดได้มากขึ้น จากการมีโอกาสที่จะเข้าใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ของธนาคารกรุงเทพ

"การที่คุณชอง โท ไปอยู่ที่แบงก์จะทำให้เขาใกล้ชิดกับผู้บริหารตามสายงานอื่นๆ ที่นั่นมากขึ้น และเขาจะสามารถเชื่อมโยงธุรกิจ แบงก์เข้ากับ บล.บัวหลวงได้มากกว่า หลังจาก ที่เข้าใจถึงปัจจัยอันเป็น key success ของธุรกิจหลักทรัพย์ได้มากขึ้นแล้ว" ญาณศักดิ์ให้ความเห็น

ก่อนหน้านี้ ชอง โท เคยกล่าวถึงสิ่งสำคัญ 3 ประการแรกที่เขาต้องเร่งผลักดันสำหรับ บล.บัวหลวง คือ ประการแรก การทำให้ บล.บัวหลวงเป็นผู้นำเสนอบริการด้านหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าสำคัญของธนาคาร ประการที่ 2 พัฒนาความแข็งแกร่งให้มากขึ้น ในธุรกิจหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ จากกระแสการลงทุนจากต่างชาติจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนระหว่างประเทศที่จะมาจากจีน ซึ่งจะทำให้ บล.บัวหลวงได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างธนาคารกรุงเทพกับลูกค้าที่เป็นบริษัทชั้นแนวหน้าในเอเชีย และประการที่ 3 คือ ทำให้ บล.บัวหลวงเป็น 1 ใน 5 ของผู้นำในบริษัทหลักทรัพย์ ด้วยส่วนแบ่งตลาดโดยรวม 5% ใน 3 ปีข้างหน้า

ด้านพัฒนาการในระดับการพึ่งพาความช่วยเหลือจากแบงก์กรุงเทพของ บล.บัวหลวง ในช่วงที่ผ่านมานั้น เริ่มมีให้เห็นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความช่วยเหลือในการทำธุรกิจ ด้านวาณิชธนกิจ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยอยู่ในความดูแลของ ชอง โท ก่อนที่จะโอนมาสู่ญาณศักดิ์ตามการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารในครั้งนี้

เนื่องจากขั้นตอนของการทำธุรกิจด้านวาณิชธนกิจนั้น นอกจากเป็นกระบวนการที่อาจต้องใช้เวลาในการเตรียมการแล้ว ในบางกรณีอาจมีเรื่องของเงินกู้ หรือ bridging loan เข้ามาเกี่ยวข้องและที่ผ่านมาแบงก์กรุงเทพก็ได้เข้ามาช่วยต่อจิ๊กซอว์ การทำธุรกิจในส่วนนี้แล้ว

อย่างไรก็ตาม แบงก์กรุงเทพจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับการให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนสำรองให้แก่ลูกค้าของบล.บัวหลวง ที่อาจต้องใช้เวลาในการตระเตรียมการระดมทุน หรืออาจอยู่ระหว่างเตรียมตัวที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลัก ทรัพย์ฯ แล้ว แต่สถานการณ์อาจไม่เป็นใจจนเป็นเหตุให้ต้องเลื่อนแผนออกไปชั่วคราว และเมื่อสามารถเข้าระดมเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แล้วก็ค่อยชำระเงินคืน

โดยปีนี้การทำธุรกิจของ บล.บัวหลวง ที่เริ่มมีเพิ่มขึ้นอย่างเป็นจริงเป็นจังนั้น ทำให้สัดส่วนระหว่างฐานลูกค้ารายย่อยและสถาบันสามารถปรับมาอยู่ที่ 80 ต่อ 20 และในปีหน้ายังตั้งเป้าว่าจะเจาะส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจหลักทรัพย์ให้ได้อีกราว 4% เพื่อปรับฐานลูกค้าโดยรวมในกลุ่มสถาบันให้ขึ้นมาอยู่ที่ 25%

เช่นเดียวกับธุรกิจด้านวาณิชธนกิจที่จะมีในปีหน้าราว 6-7 รายการ โดยจะมีทั้งในรูปการทำ IPO และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ บล.บัวหลวงยังคงเหลือ deal ที่ต้องทำให้แก่ลูกค้าที่เตรียมจะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีก 2-3 ราย

ในช่วง 3 ปีแรก บล.บัวหลวงได้เริ่มต้นธุรกิจจากลูกค้า รายย่อยที่ติดมากับฐานลูกค้าเดิมที่ได้รับโอนมาจาก บล.เจ.เอฟ. ธนาคม ก่อนที่จะค่อยๆ พัฒนาเรื่อยมาจนถึงกลุ่มลูกค้าสถาบันทั้งในและต่างประเทศ เช่นเดียวกับการให้ความสำคัญ กับการใช้เวลาเพื่อพัฒนาบทวิเคราะห์ และคุณภาพบุคลากร ที่ค่อนข้างจะมีอยู่อย่างจำกัดในวงการธุรกิจหลักทรัพย์

"เป้าหมายที่จะทำให้ส่วนแบ่งตลาดของเราอยู่ในระดับที่สม่ำเสมอแล้ว เราคิดว่า market share ที่เหมาะสม ในแต่ละ segment น่าจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันคือ 5% เพื่อทำให้ส่วนแบ่งตลาดโดยรวมในระยะยาวขยับขึ้นเป็น 5% จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.4-3.5% แต่สุทธิจะเป็นเท่าไรให้ขึ้นกับสภาวะ ตลาดแต่ละช่วงที่การลงทุนของนักลงทุนแต่ละประเภทอาจ active ไม่เท่ากัน" ญาณศักดิ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us