Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2548
การรุกของ TISCO             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 

 
Charts & Figures

ผลการดำเนินงานธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารทิสโก้

   
search resources

Banking and Finance
ธนาคารทิสโก้
ทิสโก้, บมจ.




หลังจากขยับฐานะขึ้นมาเป็นธนาคารพาณิชย์ได้ไม่นาน กลุ่มทิสโกเดินหน้าตามแผนปรับโครงสร้างองค์กรเป็นบริษัทโฮลดิ้งทันที เพื่อสร้างความแข็งแกร่งพร้อมรับการแข่งขันในอนาคต

หากการปรับโครงสร้างของกลุ่มทิสโก้เป็นไปตามขั้นตอนที่วางเอาไว้ ตั้งแต่เดือนเมษายนปีหน้า เป็นต้นไป หุ้น TISCO ที่เทรดอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเปลี่ยนจากธนาคารทิสโก้ไปเป็นบริษัท ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) บริษัทโฮลดิ้งที่จัดตั้งขึ้นเป็นบริษัท แม่ของกลุ่มทิสโก้แทนที่ธนาคาร และยังส่งผลให้ทิสโก้กลายเป็นกลุ่มการเงินแห่งแรกของไทยที่ใช้โครงสร้างในลักษณะนี้ ต่างจากธนาคารรายอื่นของ ไทยที่มีธนาคารเป็นบริษัทแม่ของเครือ

การปรับโครงสร้างของทิสโก้ครั้งนี้เป็นไปตาม แนวทางของกลุ่มสถาบันการเงินทั่วโลก อาทิ ซิตี้กรุ๊ปและธนาคารมิซูโฮ ก็เป็นเช่นนี้

ตามแผนการปรับโครงสร้างบริษัท ทิสโก้จะเข้าถือหุ้นทั้งหมดของธนาคารทิสโก้และบริษัทย่อยอื่นๆ ตามสัดส่วนที่ธนาคารทิสโก้ถืออยู่เดิม ทำให้ธนาคารทิสโก้ไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทย่อยอีกเลย โดยที่บริษัท ทิสโก้จะทำการเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารทิสโก้และจะชำระราคาด้วยการแลกเปลี่ยนกับหลักทรัพย์ของบริษัท ทิสโก้ ในสัดส่วน 1 ต่อ 1 ทั้งในส่วนของหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิและใบสำคัญแสดงสิทธิ ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นของธนาคารทิสโก้กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ทิสโก้ ที่มี โครงสร้างการถือหุ้นและการลงทุนในบริษัทย่อยไม่แตกต่างจากธนาคาร ทิสโก้แต่อย่างใด

สาเหตุสำคัญที่เป็นที่มาของ การปรับโครงสร้างครั้งนี้มี 3 ประการ ด้วยกัน ข้อแรก เพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจของธนาคารทิสโก้ เนื่อง จากตามโครงสร้างปัจจุบันธนาคารทิสโก้เป็นบริษัทแม่ ที่มีการถือหุ้นในบริษัทย่อยในกลุ่ม ทำให้ความเสี่ยง จากการดำเนินธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยทั้งหมดรวมอยู่ที่ธนาคารทิสโก้ แต่เมื่อปรับโครงสร้างแล้วธนาคารทิสโก้ความ เสี่ยงของธุรกิจอื่นๆ จะถูกแยกออกและจำกัดอยู่เฉพาะในธุรกิจนั้นๆ ทำให้ความเสี่ยงของธนาคารลดลง

"ธนาคารทิสโก้มีการรับเงินฝากจากประชาชน แต่ตามโครงสร้างปัจจุบันผู้ฝากเงินก็กังวลว่าถ้าธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจอื่นมีปัญหาแล้วจะมาส่งผลกับธนาคาร แต่ถ้าปรับโครงสร้างแล้วความกังวลตรงนี้ก็หมดไป ผู้ฝากเงินก็จะสบายใจขึ้น" ปลิว มังกรกนก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทิสโก้ กล่าว

เหตุผลถัดมาได้แก่ การลดความต้องการเงินกองทุน เพราะภายใต้โครงสร้างปัจจุบันเมื่อความเสี่ยงจากบริษัทย่อยทั้งหมดมารวมอยู่ที่ธนาคาร ทำให้ต้องมีเงินกองทุนจำนวนมากและซ้ำซ้อนตาม ข้อกำหนดของหน่วยงานต่างๆ ส่งผลให้มีเงินกองทุนมากเกินความจำเป็น แต่เมื่อปรับโครงสร้างแล้วจะมีความต้องการเงินทุนลดลงและสามารถจัดสรรเงินกองทุนส่วนเกินคืนให้กับผู้ถือหุ้นในรูปของเงินปันผลที่เพิ่มขึ้นในระยะยาวและนำไปขยายธุรกิจในอนาคต

นอกจากนี้เมื่อปรับโครงสร้างแล้วจะช่วยให้บริษัทย่อยมีความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น หากมีความจำเป็นต้องหาพันธมิตรธุรกิจหรือพันธมิตรร่วมทุนก็จะทำ ได้ง่ายขึ้น

"โครงสร้างใหม่เปิดให้หาผู้ร่วมค้าได้ในแต่ละธุรกิจ เลือกได้เฉพาะธุรกิจที่สนใจ ทำให้มีความคล่องตัว ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ก็น่าจะดีขึ้นในระยะยาว" อรนุช อภิศักดิ์ศิริกุล รองกรรมการอำนวยการ ธนาคารทิสโก้ กล่าว

ถึงแม้ผู้ถือหุ้นธนาคารทิสโก้สามารถเลือกที่จะไม่แลกหุ้นได้ก็ตาม แต่การตัดสินใจ ดังกล่าวจะส่งผลกระทบ 2 ประการด้วยกัน นั่นคือ สภาพคล่อง ของหุ้นธนาคารทิสโก้จะหายไปเมื่อถูกเพิกถอนออกจากตลาด หลักทรัพย์ฯ ทำให้การขายหุ้นในภายหลังทำได้ยากขึ้น อีกประการก็คือ จะสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการ ลงทุนในบริษัทย่อย ที่เดิมธนาคารทิสโก้เป็นผู้ถือหุ้นแต่ได้ขายออกไปให้กับบริษัท ทิสโก้ โดยหากพิจารณาจากผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 3 ปีนี้ ธนาคารทิสโก้ มีกำไรสุทธิ 1,425 ล้านบาท คิดเป็นกำไรหุ้นละ 1.70 บาท แต่หากไม่รวม ส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนจากบริษัทย่อยแล้ว จะเหลือกำไรสุทธิเพียง 821 ล้านบาทหรือหุ้นละ 0.88 บาทเท่านั้น (ดูรายละเอียด จากตารางผลการดำเนินงาน)

หลังจากได้รับการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ธนาคารทิสโก้จะเรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ เพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นทั้งในเรื่องของการปรับโครง สร้างและการเพิกถอนหุ้นของธนาคารทิสโก้ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อนำหุ้นของ บริษัท ทิสโก้เข้าจดทะเบียน แทนและคาดว่าจะทำการเสนอซื้อหลักทรัพย์ของธนาคารทิสโก้ในช่วงระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ถึง 28 มีนาคมปีหน้า และจะนำหุ้นของบริษัท ทิสโก้เข้าทำการซื้อขายในตลาด หลักทรัพย์ฯ หลังจากนั้นไม่เกิน 7 วัน โดยใช้ชื่อย่อ TISCO และอยู่ในหมวดธนาคารเช่นเดิม

การปรับโครงสร้างของกลุ่มทิสโก้ครั้งนี้น่าจะถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดจากธนาคารพาณิชย์ของไทยทุกแห่งที่ต้องเร่งสร้างความเข้มแข็งเพื่อรับกับการรุกเข้ามาของสถาบันการเงินจากต่างประเทศ หากทิสโก้ทำได้สำเร็จและเกิดผลประโยชน์ขึ้นจริงตามที่คาดหมายไว้ก็อาจจะถึงเวลาของการปรับตัวครั้งใหญ่ของสถาบันการเงิน ไทยที่จะเกิดขึ้นในช่วงหลังจากนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us