|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2548
|
 |

นานร่วม 3 ปีแล้วที่ผู้บริโภคไทยมีโอกาสได้ยลโฉมและเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊กแบรนด์ "Vaio" โดยการนำเข้าของบริษัทแม่อย่างโซนี่เอง นับตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งถือเป็นปีแรกที่โซนี่เปิดตัวคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ในตลาดเมืองไทย
ด้วยความที่โซนี่พยายามขายความเป็นสินค้าไฮเอนด์ที่มาพร้อมดีไซน์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้วันนี้ Vaio จึงได้ชื่อว่าเป็นโน้ตบุ๊กที่ติดอันดับความแพงที่สุดยี่ห้อหนึ่งในบรรดาโน้ตบุ๊กอีกนับสิบยี่ห้อที่วางขายอยู่ตามร้าน
ปีที่ผ่านมาถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของ Vaio เลยก็ว่าได้ เพราะไม่เพียงแต่โซนี่จะประกาศวิสัยทัศน์ในการทำตลาด Vaio ขึ้นใหม่ เนื่องจากค่ายไมโครซอฟท์ยักษ์ใหญ่แห่งวงการซอฟต์แวร์ได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่อย่าง Windows XP ซึ่งมีประสิทธิภาพเหนือกว่าระบบปฏิบัติการรุ่นก่อนหน้าออกสู่ตลาด
โซนี่เริ่มปรับเปลี่ยนทั้งเรื่องเสียง ภาพ และแบ่งเซกเมนต์ของลูกค้าตัวเองมากขึ้น ที่สำคัญในปีนี้เองเป็นปีแรกที่โซนี่ตัดสินใจลดราคา Vaio ให้ต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยราคาของ Vaio บางรุ่นหล่นมาอยู่ที่ 49,000 บาทต่อเครื่อง เพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งนักศึกษา ผู้หญิง และผู้ที่เพิ่งจะมีโอกาสได้ใช้โน้ตบุ๊กเป็นหนแรกเช่นเดียวกันกับเจ้าอื่นๆ ที่เริ่มหั่นราคาลงมาแข่งกันอย่างรุนแรง เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุด
ล่าสุด โซนี่เพิ่งจะเผยโฉม Vaio ตระกูลใหม่ต้อนรับช่วงส่งท้ายปีทั้งตระกูล Vaio Tx และ Vaio FJ ถึง 4 รุ่นพร้อมกัน ด้วยคอนเซ็ปต์ "My heart, My soul, My Vaio" โดย Vaio Tx นั้นเลือกใช้ carbon fiber เป็นวัสดุในการผลิตตัวเครื่อง ทำให้ไม่เพียงแข็งแกร่งทนทานเท่านั้น แต่ยังบางและเบาในเวลาเดียวกันด้วย
ส่วน FJ series นั้นโซนี่เปิดตัวเพื่อรองรับกลุ่มที่มีรายได้ระดับกลางโดยเฉพาะ เพราะทั้งสองรุ่นในตระกูลนี้สนนราคาที่ประมาณสี่หมื่นถึงห้าหมื่นบาทเท่านั้นเอง นอกจากนี้โซนี่ยังอัพเกรดโน้ตบุ๊กตระกูลเก่าให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น และเปิดตัวในงานวันเดียวกันอีกถึง 5 ตัว
ในวันงานแถลงข่าวเปิดตัวผู้บริหารระดับสูงของโซนี่ที่บินมาจากญี่ปุ่น เพื่อร่วมเป็นสักขีพยานในการเปิดตัวโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ดังกล่าวพร้อมกับผู้บริหารจากฝั่งของไทยเอง โดยผู้บริหารทั้งสองประเทศ ต่างเสนอแนวความคิดใหม่ในการขายสินค้าของตนว่า นับจากนี้ไม่อยากให้คนไทยเรียก "โน้ตบุ๊กจากโซนี่" อีกต่อไป แต่จะพยายามอย่างหนักเพื่อให้คนหันมาเรียกซับแบรนด์ "Vaio" ให้ได้เร็วที่สุด
ไม่ว่าจะต้องเพิ่มเงินในการสร้าง infrastructure ในด้านต่างๆ เพื่อให้คนหันมาเรียก Vaio นับร้อยล้าน ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วถึงเท่าตัว ก็ตามที แต่โซนี่ก็เชื่อว่าจะคุ้มค่าและประสบความสำเร็จในแง่ของยอดขาย เพราะใครๆ ก็ติดหูกับคำดังกล่าวเช่นเดียวกันกับความพยายามในการโปรโมตซับแบรนด์ของตนก่อนหน้านี้ ทั้ง Vega ซับแบรนด์ที่เรียกทีวีซึ่งผลิตโดยโซนี่ หรือ Cybershot ซับแบรนด์ในกลุ่มกล้องถ่ายภาพดิจิตอล
ขณะที่จุดขายของ Vaio ซึ่งผู้บริหารยังคงเชื่อว่าเป็นภาพลักษณ์ของโซนี่มากที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องของการเสนอแนวคิดว่า ผู้ที่ใช้ Vaio แล้วรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นเจ้าของ ทั้งความภูมิใจในแบรนด์ ดีไซน์ ราคา และสเป็ก หรือที่โซนี่เรียกว่า "Pride of Ownership" นั่นเอง
เพราะหากใครหิ้ว Vaio ไปไหนต่อแล้วรู้สึกภูมิใจ ท้ายสุดกลุ่มคนเหล่านี้จะกลายเป็นสาวกของโซนี่ไปในท้ายที่สุด แม้หากมีโอกาสได้เปลี่ยนเครื่องใหม่หรือบอกต่อใครให้ซื้อโน้ตบุ๊ก Vaio ก็จะยังอยู่ในใจคนเหล่านี้ต่อไปอย่างแน่นอน
|
|
 |
|
|