|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2548
|
 |

ทั้งๆ ที่เพิ่งเปิดตัวได้เพียงไม่นานนัก แต่เสียงรอสายหรือ calling melody ก็นำหน้าสร้างรายได้แซงหน้าเสียงเรียกเข้าหรือ ringtone ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ความนิยมและความต้องการที่จะบอกอารมณ์ของเจ้าของโทรศัพท์มือถือให้แก่ผู้ที่รอสายผ่านทางเสียงเพลงหลากหลาย กลายเป็นแฟชั่นที่ขยายเข้าสู่กลุ่มคนแทบจะทุกอายุ วัย และเพศ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ประสบการณ์ในเรื่องการใช้บริการใช้เสียงรอสาย ถูกจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้ลุ่มหลงในเทคโนโลยีเพียงเท่านั้น
วันนี้เอไอเอสยืนยันรายได้ของบริการ calling melody อยู่ที่ประมาณ 1,600 ล้านบาทต่อปี มากกว่าบริการ ringtone ที่มีรายได้ต่อปีประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ไม่เพียงเท่านั้น จนถึงสิ้นปีนี้ เอไอเอสจะมีลูกค้าที่ใช้บริการเสียงรอสายถึงกว่า 4 ล้านคน จากลูกค้าทั้งสิ้น 16 ล้านคน นั่นหมายถึงว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าเอไอเอส จะมีเสียงเพลงให้คนอื่นๆ ที่รอสายอยู่ได้ฟังกันแล้วนั่นเอง
เมื่อทั้งรายได้ และยอดคนใช้ต่างเป็นในทางที่ดี และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดการเติบโตได้ตอนไหน ในเมื่อทุกวันนี้คนที่ใช้บริการเองก็เริ่มขยายฐานออกไปหาคนที่ยังไม่เคยใช้งานยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันกับจำนวนเพลงในการดาวน์โหลดเก็บเอาไว้ในระบบเพื่อให้คนอื่นได้ฟัง ซึ่งมียอดเฉลี่ยแล้วต่อคนดาวน์โหลดเพลงไว้ถึง 2 เพลงเลยทีเดียว ทำให้วันนี้ถนนทุกสายของเอไอเอสจึงมุ่งหน้าไปหา calling melody อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เดือนที่ผ่านมาเอไอเอสจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวบริการเสียงรอสายเพลงลูกทุ่งขึ้น โดยมีผู้บริหารไปจนถึงนักร้องชื่อก้องจากค่ายเพลงชื่อดัง ทั้งแกรมมี่โกลด์ อาร์สยาม และอื่นๆ เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในงานดังกล่าวด้วย
แม้ก่อนหน้านี้เอไอเอสจะมีเสียงเพลงลูกทุ่งในระบบบ้างแล้ว และนี่เป็นการประกาศตัวในการเป็นพันธมิตรกับค่ายเพลงลูกทุ่งอย่างชัดเจน เพื่อหวังผลักดันออกสู่กลุ่มรากหญ้า กลุ่มต่างจังหวัด หรือกลุ่มนักศึกษาที่จากการสำรวจพบว่าหันมาฟังเพลงลูกทุ่งกันมากขึ้น เนื่องจากเพลงลูกทุ่งเองก็เริ่มปรับตัวหาความเป็นเมืองมากกว่าการเล่าเรื่องราวของชีวิตท้องทุ่งกันเหมือนแต่ก่อน
ทุกวันนี้เพลงไทยลูกทุ่งได้รับความนิยมในการดาวน์โหลดไปเป็นเสียงรอสายเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ขณะที่เพลงไทยสากลนำโด่งไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตามผู้บริหารของเอไอเอสกลับมองว่า 5 เปอร์เซ็นต์ที่น้อยถือเป็น "โอกาส"
ยิ่งบริษัททุ่มแรงในการโปรโมตบริการเพลงลูกทุ่งด้วยวิธีการรากหญ้า เช่น ส่งทีมตระเวนไปทำกิจกรรมกระตุ้นตลาดตามต่างจังหวัด ตลาดนัด แผงขายเทป หรือแม้แต่เปิดให้คนใช้ฮัมเพลงให้คอลเซ็นเตอร์ฟัง เพื่อให้คอลเซ็นเตอร์ช่วยเลือกเพลงที่ต้องการได้สะดวกยิ่งขึ้น โอกาสที่ว่าก็น่าจะเพิ่มขึ้นได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
|
|
 |
|
|