|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2548
|
|
การแข่งขันโครงการ Bangkok Business Challenge หรือ BBC ซึ่งสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีนี้มีความพิเศษมากกว่าเมื่อ 3 ปีก่อน เพราะไม่เพียงแต่จะได้สถาบันการศึกษาชื่อดังจากประเทศจีน 4 แห่ง อันประกอบด้วย มหาวิทยาลัยฟูดาน มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ และ China Europe International Business School หรือ CEIBS เข้ามาร่วมในโครงการแข่งขันเพื่อเขียนแผนธุรกิจและนำเสนอแผนต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแล้ว ยังได้ บลจ.วรรณเข้ามาช่วยสนับสนุนเงินทุนเป็นกรณีพิเศษวงเงิน 25 ล้านบาท สำหรับผู้ที่ผ่านเข้ารอบซึ่งอาจต้องการเลือกเป็นเจ้าของกิจการมากกว่าการเป็นลูกจ้าง
ก่อนหน้านี้ บลจ.วรรณ มีบทบาทอย่างมากกับการช่วยเหลือด้านการร่วมทุนเพื่อการปรับโครงสร้างธุรกิจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs เมื่อครั้งประเทศไทยได้รับเงินทุนช่วยเหลือในการจัดตั้งกองทุนร่วมทุนเพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมาจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) อันเป็นหนึ่งในแพ็กเกจที่อัดฉีดเงินฉุกเฉินในโครงการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทยจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
การแข่งขันในโครงการ BBC เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ร่วมทีมเพื่อเข้าประลองความสามารถในการเขียนแผนการทำธุรกิจ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณา โดยผู้แข่งขันแต่ละทีมต้องผ่านการทำงานร่วมกันอย่างหนัก นับจากกระบวนการทำสำรวจวิจัยทั้งในเชิงการตลาด และตัวผลิตภัณฑ์ที่ต้องได้รับการจดลิขสิทธิ์ไว้แล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจนี้มีความเป็นไปได้ในเรื่องข้อมูลของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการพิสูจน์ให้เห็นถึงความต้องการจากผู้บริโภคที่มีอยู่จริงในตลาด ขีดความสามารถของตัวผู้บริหารบริษัท และความเป็นไปได้ในการหาแหล่งเงินทุนในการทำธุรกิจตามแผนธุรกิจนั้นๆ
ผศ.ดร.อดิทธิ์ เชี่ยวสกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการพัฒนาสถาบันและแผนงานศศินทร์กล่าวว่า พวกเขาเป็นเพียงสถาบันการศึกษาและไม่อาจเป็นตัวกลางช่วยจัดหาด้านเงินทุนให้แก่ผู้ใดได้ ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้ในเชิงพัฒนาการในทางปฏิบัติสำหรับตัวผู้เข้าแข่งขันในแต่ละปีหลังสิ้นสุดการแข่งขัน จึงมีให้เห็นน้อยมาก เนื่องจากมีเพียงไม่กี่รายที่อาจแยกแผนธุรกิจออกเป็นส่วนๆ เพื่อความสะดวกในการพัฒนาต่อยอดสู่การจัดตั้งบริษัทของตัวเองขึ้นมาได้ แต่ในหลายกรณีอาจเกิดจากปัญหาความไม่กล้าเสี่ยงที่จะออกไปสร้างธุรกิจเป็นของตัวเอง ขณะที่อีกหลายกรณีก็มักจะมีปัญหาไม่สามารถหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนเพื่อนำมาใช้จัดตั้งบริษัทได้
"การที่มี บลจ.วรรณเข้ามาให้เงินช่วยเหลือ 25 ล้านบาท ในแต่ละกรณีสำหรับทีมที่ผ่านขั้นตอนต่างๆ จนเข้ารอบได้ และขอให้เราช่วยเป็นตัวกลางส่งแผนงานไปให้ บลจ.วรรณพิจารณาเป็นกรณีพิเศษจะทำให้เกิดผู้ประกอบการ SMEs ใหม่ๆ ขึ้นมาจากเดิมที่ไม่เคยมี น่าจะทำให้เรามีผู้ประกอบการ SMEs ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้มากกว่าที่ผ่านมา เพราะหลายๆ กรณีเราเห็นว่าแผนธุรกิจนั้นอยู่ในระดับที่ดี แต่อาจมีปัญหาการ present ที่ยังไม่ค่อยคล่องนัก" ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการพัฒนาสถาบันและแผนงาน ศศินทร์กล่าว
|
|
|
|
|