|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2548
|
|
แม้ปฏิบัติการ integrate การทำธุรกิจระหว่างธนาคารกสิกรไทย และบริษัทในเครือภายใต้นาม K Group เพื่อเสนอผลิตภัณฑ์การให้บริการทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ที่ครอบคลุมทุกๆ ปริมณฑล แห่งความต้องการของลูกค้าในทุกกลุ่มของธนาคาร จะเป็นเพียงกระบวนเบื้องต้น แต่ยิ่งนับวัน ตลาดก็ยิ่งได้เห็นถึงความหนักแน่น ชัดเจน และต่อเนื่องในการร่วมแรงร่วมใจกันที่จะผลักดันกระบวนการนี้อย่างไม่หยุดยั้งของกลุ่ม K Group ทั้งจากบนหน้าสื่อสิ่งพิมพ์และสปอตโฆษณาผ่านหน้าจอทีวีในบ้าน
นับเนื่องมาตั้งแต่เดือนปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาจวบจนปัจจุบัน ลูกค้าบุคคลทั้งรายใหญ่รายน้อยของธนาคารกสิกรไทย คงได้ใช้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านสินเชื่อ ตราสารหนี้ และตราสารทุน ที่ออกโดย K Group ไปแล้วไม่มากก็น้อย
แต่เพื่อเป็นการตอกย้ำสโลแกนของธนาคารกสิกรซึ่งมีอายุยืนยาวถึง 60 ปีที่ว่าบริการทุกระดับประทับใจ ก็ถึงคราวที่ K Group ต้องจับมือกันขยายการให้บริการเพิ่มเติมที่ครอบคลุมไปยังกลุ่มบริษัท ธุรกิจ และผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นฐานลูกค้าเดิมของธนาคารกสิกรไทย ที่อาจจะยังมีสภาพคล่องล้นเหลือในกิจการ และกำลังมองหาแหล่งลงทุนใหม่ๆ ที่ทั้งปลอดภัย และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินไว้ในธนาคาร เพื่อเก็บกินดอกผลในอัตราต่ำต้อยเพียงแค่ราวๆ 0.7% ต่อปี จะมีโอกาสได้รับการบริการด้าน cash management ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นใหม่จากธนาคาร ผ่านผู้บริหารจัดการด้านการเงินมืออาชีพ อย่างบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมกสิกรไทย (K-Asset) อีกครั้ง
โดยบริการใหม่รอบนี้เป็นการเสนอกองทุนเปิดกสิกรไทยตราสารระยะสั้นพลัส (KTPF) ซึ่งมีมูลค่ากองทุนใหญ่โตถึง 10,000 ล้านบาท เพื่อเสนอขายให้แก่ลูกค้ากลุ่มธุรกิจที่ได้ใช้ธนาคารกสิกรไทย เป็น operating account อยู่แล้วในปัจจุบัน สามารถนำสภาพคล่อง ส่วนเกินไปลงทุนในกองทุนนี้ได้ด้วยวงเงินขั้นต่ำ 10 ล้านบาท แต่หาก ผู้ลงทุนต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ก็จะสั่งขายตราสารหนี้ผ่านกองทุนนี้ได้ แต่ต้องหลังจากที่ลงทุนไปแล้วไม่น้อยกว่า 14 วัน
ส่วนนโยบายการลงทุนของ KTPF นั้น กำหนดไว้ว่า กองทุนฯ จะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน รวมถึงพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าหรือเทียบเท่าพันธบัตรรัฐบาล รวมถึงการฝากเงินกับสถาบันการเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใน 4 อันดับแรก
ด้านอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนนี้ ดัยนา บุนนาค กรรมการผู้จัดการ บลจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย ปฎิเสธที่จะระบุถึงประเด็นดังกล่าว เนื่องจากติดด้วยกฎข้อบังคับจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ออกคำสั่งกำชับอย่างเด็ดขาด ห้ามมิให้ บลจ.แต่ละแห่งให้ตัวเลขคาดการณ์ผลตอบแทนเป็นการล่วงหน้าต่อตลาด จนกว่า บลจ.นั้นๆ จะพิสูจน์ได้ว่า portfolio จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนถึงวันสิ้นสุดอายุกองทุน แต่ประเด็นนี้น่าจะทำตามได้ยากเอาการ เพราะเป็นธรรมดาอยู่เองที่กองทุนแต่ละกองจะต้องปรับพอร์ตการลงทุนตามสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนสิงหาคม ธนาคารกสิกรไทยเพิ่งจะได้หน้าได้ตาจากการได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงการคลังให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลใน 2 รุ่นคือ อายุ 5 ปี และอายุ 7 ปี ด้วยวงเงินก้อนใหญ่ถึง 30,000 ล้านบาท เพื่อเสนอขายแก่นักลงทุนรายย่อยทั้งที่เป็นกลุ่มลูกค้าที่เคยทำธุรกรรมกับธนาคารและลูกค้ารายใหม่
ตลอดช่วงที่ผ่านมาในปีนี้ บลจ.กสิกรไทยได้ออกกองทุนไปแล้วทั้งสิ้น 15 กองทุน โดย 13 กองทุนเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น และที่เหลืออีก 2 กองทุน เป็นกองทุนหุ้นที่อาจไม่ประสบความสำเร็จในการระดมทุนเท่าที่ควรเนื่องจากสามารถดำเนินการได้เพียง 200 ล้านบาท แต่กระนั้นก็ตาม บลจ.กสิกรไทย ยังเป็นสถาบันการเงินที่มีมูลค่าเงินกองทุนสุทธิรวมสูงสุดเป็นอันดับ 1 คือ 1.98 แสนล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2548 และคาดว่าเงินกองทุนสุทธิรวมเมื่อถึงสิ้นปีนี้ น่าจะเขยิบขึ้น 2.51 แสนล้านบาท หรือเติบโตอีกราว 30% ซึ่งเกินกว่ามูลค่าที่เคยตั้งเป้าถึง 51,000 บาท
|
|
|
|
|