Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2548
เจ้าของเต็มตัว             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
MIH Holding Homepage
โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
MIH
ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ศุภชัย เจียรวนนท์
Telecommunications




ข้อความจากบริษัทที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ของทรู คอร์ปอเรชั่น ถูกส่งมายังโทรศัพท์มือถือ และสำนักงานของสื่อมวลชนหลายแขนงในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 โดยมีใจความระบุว่า ศุภชัย เจียรวนนท์ จะนั่งเป็นประธานในงานแถลงข่าวด่วนของบริษัทในช่วงบ่ายของวันดังกล่าว

ไม่บ่อยครั้งนักที่วงการโทรคมนาคมจะมีการแถลงข่าวด่วน หรือฉุกละหุกจนสื่อมวลชนตั้งตัวไม่ทัน นอกเสียจากว่าจะมีข่าวใหญ่ หรือเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นจริงๆ และสาระสำคัญของเหตุการณ์ในวันนั้นถูกเปิดเผยโดยศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ในทันทีที่งานแถลงข่าวเริ่ม

ศุภชัยซึ่งมาในชุดสูทสีดำดูเป็นทางการแตกต่างจากงานแถลงข่าวหลายครั้งก่อนหน้านั้น เริ่มเล่าเรื่องราวอันเป็นหัวใจของงานว่า ทรูตัดสินใจเข้าซื้อหุ้นของ บมจ.ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือที่รู้จักกันในชื่อ ยูบีซี จาก MIH ทั้งหมดกลับคืนมา โดยมีบริษัท เค.ไอ.เอ็น.(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของทรูซึ่งไม่ค่อยมีใครรู้จักนัก เป็นผู้เข้าซื้อหุ้นของยูบีซีทั้งสิ้นกว่า 231,121,441 หุ้น หรือร้อยละ 30.59 ของหุ้นยูบีซีที่ MIH ถืออยู่รวมแล้วทรูต้องใช้เงินในการซื้อยูบีซีจาก MIH กลับมาเป็นของตนเองกว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันทรูต้องใช้เงินอีกกว่า 313 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นเงินกู้จากดอยช์แบงก์ 290 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเงินสดของทรูเองอีกกว่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการทำคำเสนอซื้อหุ้นหรือ tender offer จากผู้ถือหุ้นยูบีซีรายอื่นๆ โดยทรูเสนอซื้อในราคา 26.5 บาทต่อหุ้น

การเสนอขอซื้อหุ้นทั้งหมดของยูบีซี มีผลให้ทรูสามารถ release ยูบีซีออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ในเร็ววันนี้หากกระบวนการการชี้แจงเสร็จสิ้นลง

ในเวลาเดียวกันทรูยังตัดสินใจซื้อหุ้นทั้งหมดในบริษัท เอ็มเค เอสซี เวิลด์ ดอทคอม จำกัด เจ้าของธุรกิจอินเทอร์เน็ตเคเอสซี จาก บริษัทในเครือที่ทำธุรกิจอินเทอร์เน็ตของ MIH เพื่อเข้ามาเสริมทัพธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ตของทรูในต่างจังหวัดด้วย

เมื่อถ้อยความของศุภชัยจบลง คำถามจากสื่อมวลก็พรั่งพรูตามมาทันที ศุภชัยเลือกตอบคำถามทั้งหมดด้วยท่าทางมั่นใจ เขาบอกว่าออกจะสวนกระแสสังคมสักหน่อย ขณะที่หลายค่ายเลือกที่จะขายหุ้นให้ต่างชาติ แต่ทรูกลับเลือกที่จะซื้อหุ้นของคนอื่นมาเป็นของตน นั่นเป็นเพราะเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะความต้องการที่จะเป็นผู้ให้บริการสื่อโทรคมนาคมอย่างครบวงจรทั้งโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์มือถือ และคอนเทนต์จากยูบีซีเคเบิลเอง

การซื้อยูบีซีเข้ามาเป็นของทรูทั้งหมด ทำให้ทรูสามารถเจรจาต่อรองกับผู้พัฒนาคอนเทนต์ได้ดีในกรณีที่ทรูต้องการขยายบริการใหม่ๆ อาทิ ทีวีบรอดแบนด์ เพราะคงไม่ดีนักหากทรูจะต้องจ่ายค่าคอนเทนต์ซ้ำซ้อนให้กับทรูและยูบีซีอีกครั้ง เพราะทรูถือหุ้นในสัดส่วนมากที่สุด เพียงแต่ถือผ่านสองโฮลดิ้งในเครือเท่านั้นเอง

ศุภชัยบอกว่าการซื้อหุ้นจาก MIH นั้นเจรจานานถึง 6 เดือน และเป็นการจากกันด้วยดี ไม่ใช่ระหองระแหงกันอย่างที่บางคนคิดเอาไว้ในใจ ส่วน MIH จะลงทุนเพิ่มในไทยต่อหรือไม่ก็คงสุดแล้วแต่ทาง MIH เพราะ MIH ยังคงเหลือการถือหุ้น WMEB ในไทยอยู่ด้วย เช่นกัน นอกเหนือจากการขายยูบีซีและเอ็มเคเอสซีให้กับทรูทั้งหมดแล้ว

งานนี้ทรูลงทุนไปหลายหมื่นล้านบาท ผ่านบริษัทในเครือของตน ซึ่งศุภชัยยืนยันว่าเป็นการ play safe เอาไว้ก่อน แต่จะเป็นการ play safe แบบเตี้ยอุ้มค่อมหรือไม่ เพราะยังไงเสียบริษัทในเครือก็ยังเป็นของทรูอยู่ดี แม้ยูบีซีจะมีกำไร แต่เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไป เคเบิลของยูบีซีจะทำกำไรได้เท่ากับทีวีบรอดแบนด์ที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ ในเร็ววันนี้ได้อย่างไร

งานนี้หลายคนไม่พลาดที่จะจับตามองทรูในความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างใจจดใจจ่อ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us