Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2548
พัณณิน กิติพราภรณ์ Very Thai กับสยามนิรมิต             
 


   
www resources

โฮมเพจ สยามนิรมิต

   
search resources

Theatre
รัชดานิรมิต, บจก.
พัณณิน กิติพราภรณ์




เดิมพื้นที่โล่งตรงถนนเทียมร่วมมิตร ตรงข้ามศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เคยเป็นลานจอดรถกว้าง 24 ไร่ แต่ปัจจุบันพื้นที่นี้ได้กลายเป็นโรงละคร "รัชดาแกรนด์เธียเตอร์" ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ของตระกูลกิติพราภรณ์ เปิดแสดงตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม และกำลังโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์การแสดงชุดอลังการงานสร้างชุดแรกชื่อ "สยามนิรมิต" ภายใต้การบริหารจัดการของพัณณิน กิติพราภรณ์ แห่งบริษัท รัชดานิรมิต ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจสวนสนุก "แดน เนรมิต" และ "ดรีมเวิลด์" มาแล้ว

โดยที่เธอกำเนิดในครอบครัว ไมตรี กิติพราภรณ์ ผู้ทำธุรกิจโรงหนัง ทำให้พัณณินมียีนที่เรียกว่า Entertainment DNA อยู่ในสายเลือด แต่บุคลิกศิษย์เก่ามาแตร์เดอีคนนี้ น่าจะเป็นครูมากกว่านักธุรกิจ ทำให้เธอมีชีวิตสองด้านเสมอ

เนื่องจากพัณณินจบ MBA จาก University of California Berkley สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2517 และเริ่มงานแรกทันทีด้วยการ เป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำได้สองปีก็ต้องลาออกมาทำงานให้ครอบครัวเต็มตัวในฐานะกรรมการผู้จัดการแดนเนรมิตจนถึงปี 2543 ที่หมดสัญญาเช่า ก็ได้สร้างธุรกิจสวนสนุก "ดรีมเวิลด์" ใหญ่กว่าเดิมไว้รองรับ

แต่สำหรับพื้นที่ธุรกิจใหมว่าด้วยละครเวทีเป็นความแตกต่าง จากเดิม ที่ต้องแปลงศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็น value creation marketing ที่มีความละเมียดละไมชนิดจับตาจับใจคนดูอย่างยิ่ง นอกเหนือจาก content+design+high-technology ที่ต้องยอมรับว่า พัณณินกล้าลงทุนมหาศาลกับการจ้างคนและเทคโนโลยีการแสดง ขั้นสูง เพื่อสร้างสรรค์โรงละครเวทีระดับ world class และวาดหวังว่าคนไทยจะร่วมภูมิใจอวดชาวต่างประเทศได้ด้วย

ความจริงโมเดลธุรกิจโรงละครที่จัดมหกรรมการแสดงมีมานานแล้วในยุโรปและลาสเวกัส ซึ่งส่วนใหญ่ใช้นักแสดงที่มีความสามารถพิเศษ และเทคนิคพิเศษเป็นจุดขาย ขณะที่ในประเทศไทย พื้นที่ธุรกิจนี้ยังไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนและตลาดเท่าที่ควร ดูได้จากกาดสวนแก้ว และภูเก็ตแฟนตาซี ซึ่งประสบปัญหาอยู่ขณะนี้

"ตอนที่ทำแดนเนรมิต เรามีโชว์เล็กๆ น้อยๆ เช่น ขบวนพาเหรด สตั้นท์โชว์ อยู่กับลูกค้าเราก็รู้ว่า โดยทั่วไปคนไทยชอบอะไร ที่เข้าใจง่าย ไม่ต้องลึกซึ้งมาก แล้วต้องเดินเรื่องกระชับฉับไว ไม่อย่างนั้นคนจะเบื่อ สุดท้ายก็ต้องมีเซอร์ไพรส์ หลักๆ เป็นอย่างนี้ จึงจับจุดสวนสนุกมาทำสยามนิรมิต"

พื้นที่โรงละครแห่งนี้มีขนาด 1 ใน 3 ของสนามฟุตบอล wembly ของอังกฤษ หรือกว้าง 65 เมตร ลึก 40 เมตร และสูง 12 เมตร ตกแต่งด้วยฉากกว่า 100 ชิ้นที่มีมิติตื่นลึกหนาบางอย่างลงตัว ไม่นับ ชุดแต่งกายของนักแสดงกว่า 500 ชุด และการใช้ระบบสไปเริลลิฟต์ ซึ่งลอยเลื่อนสวรรค์วิมานไพชยนต์ ปรากฏใน 1 นาทีอย่างนุ่มนวลดูเพลิดเพลิน

แต่ถึง design และ high-tech เลิศหรูสักเพียงใดก็ตาม แต่ content ก็ยังเป็นหัวใจของละครเวทีอยู่มาก ซึ่งการเปิดตัวการแสดง ด้วยชุดประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เรียงร้อยถ้อยทำนองศิลปวัฒนธรรมไทยยังนำเสนอแบบ Very Thai Entertainment สไตล์ของพัณณินอยู่มาก ที่เน้นความสมจริง หรือ realistic ในการสร้างฉากแสงสีเสียงอันวิจิตรมโหฬาร ตั้งแต่องก์ 1-ย้อนรอยประวัติศาสตร์แต่ละภาค ฉากล้านนานคร, ฉากทะเลใต้, ฉากปราสาทหิน, ฉากกรุงศรีกับวิถีสายน้ำ เรื่อยมาถึงองก์ 2-ฉากนรกภูมิ, ฉากป่าหิมพานต์และฉากสวรรค์ และจบด้วยองก์ 3 แบบรื่นเริง สนุกสนานด้วยการละเล่นและประเพณี ต่างๆ

"ตั้งแต่เริ่มทำครั้งแรกๆ เราก็รู้ว่าไม่สนุก จึงปรับไปเรื่อยๆ ตรงไหนทำได้ก็ทำ เรื่องความสนุกอยู่ในวิญญาณของตัวเองอยู่แล้ว บางจุดเราก็รู้ว่าไม่น่าจะได้จากประสบการณ์ตัวเองคงไม่เป๊ะนัก แต่ตรงไหนที่เราดูแล้วสนุก คนดูก็น่าจะสนุกด้วย จะมากจะน้อยก็อีกเรื่อง"

แม้ว่าการนำเสนอจะใช้วิธีการและการประยุกต์ศิลปวัฒนธรรมไทยให้สนุกและดูเป็นสากลสมัยก็ตาม แต่คำว่า "สนุก" ที่พัณณินตั้งไว้กลับเป็นโจทย์ที่ยากแบบทรงคุณค่า และต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และสมองของทีมงานระดับมืออาชีพ อย่างเช่น โปรดิวเซอร์ อำพล สุทธิเพียร ร่วมกับกฤษรา (ซูไรมาน) วริศราภูริชา ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคและผู้กำกับการแสดงอย่าง ดังกมล ณ ป้อมเพชร กับผู้ออกแบบฉากและชุดนักแสดงอย่าง ฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที และระบบแสงอย่างวิกรานต์ มณีศรี+AV System และไกวัล กุลวัฒโนทัย เป็นผู้ประพันธ์ดนตรีก็ตาม

เบื้องหลังของการแสดงอันยิ่งใหญ่ "สยามนิรมิต" คือกระบวนการจัดการบริหารความขัดแย้งที่คลาสสิกของพัณณินในฐานะผู้อำนวยการสร้าง เธอเล่าว่า ตอนแรกจะเปิดเดือนมิถุนายน แต่ก็ไม่เปิด เพราะคิดว่ายังไม่สนุก จึงพัฒนามาเรื่อยๆ ให้ทุกฝ่ายทุกคนช่วยกันคิด ช่วยกันแก้

"เหนื่อยจนแทบจะอาเจียนเป็นเลือด ถึงเปิดแสดงแล้วก็ยังแก้อยู่ตลอด นิดหน่อยก็แก้ไป คนดูอาจไม่รู้สึก เราทำโจทย์ให้มันยากเอง คืออยากให้คนไทยได้ดู ตื่นเต้นรู้คุณค่าของที่มีอยู่แล้ว เป็นเรื่องยากและท้าทาย ถึงได้พิถีพิถันขนาดนี้เหมือนทำอาหารให้คนไทยทาน ซึ่งยากกว่าให้ฝรั่งทาน เพราะยังไงฝรั่งก็ชอบของแปลกใหม่อยู่แล้ว" นี่คือพัณณินที่มีสไตล์ลุยงานหนักถึงแม้ว่าจะมีคนทัดทานห้ามทำแนวนี้แล้วก็ตาม แต่เธออยากท้าพิสูจน์

ที่สุดทั้งหมดที่พัณนินและทีมงานทุ่มเท ผ่านการลองแล้วลองอีกนับร้อยรอบร้อยครั้ง ก็ปรากฏออกมาเป็นการแสดงที่จับต้องได้ ถือเป็น Icon หนึ่งของธุรกิจบันเทิงที่น่าจับตา

ถึงกระนั้นผู้ชมบางคนก็ยังคิดว่า การแสดงสยามนิรมิตยังต้องการเนื้อหาที่มี value creation มากกว่านี้ จึงจะสนุกได้สมมูลค่า ที่จ่ายไปกับบัตรเข้าชม 1,500 บาท กับเวลา 80 นาที

โรงละคร รัชดาแกรนด์เธียเตอร์

ชื่อการแสดง สยามนิรมิต

เจ้าของบริษัท รัชดานิรมิต จำกัด

กก.ผจก. พัณณิน กิติพราภรณ์

กก.ผช.ผจก. อำพล สุทธิเพียร

ผจก.ทั่วไป สุริยา ส่งสมบูรณ์

มูลค่าลงทุน 1,500 ล้านบาท

เนื้อที่ 24 ไร่

สถานที่ภายใน - โรงละคร ที่มีขนาดจุ 2,000 ที่นั่ง
- หมู่บ้านไทยจำลอง 4 ภาค
- ภัตตาคารแบบบุฟเฟ่ต์ ขนาดจุ 800 ที่นั่ง
- ที่จอดรถ 300 คัน

กลุ่มเป้าหมาย คนไทยที่มีเพื่อนต่างประเทศ
ชาวต่างประเทศในไทย
นักท่องเที่ยวทั่วโลกที่มาเที่ยวไทย

ราคาบัตร 1,500 บาททุกที่นั่ง

รอบการแสดง ทุกวัน เวลา 20.00 น.

ความยาว 80 นาที   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us