Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540
เซ สุจินตัย ซอฟต์แวร์เถื่อนระวังให้ดี 'เอสพีเอ' มาแล้ว             
 


   
search resources

เซ สุจินตัย
Software
ซอฟต์แวร์ พับลิชเชอร์ แอสโซซิเอชั่น




หลังจากปล่อยให้กลุ่มบิสซิเนส ซอฟท์แวร์ อะไลแอนซ์ หรือบีเอสเอ พันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์นำร่องเข้ามาบุกเบิกฟาดฟันกับบรรดาซอฟต์แวร์เถื่อนกันไปแล้ว ก็ถึงคราวของซอฟต์แวร์ พับลิชเชอร์ แอสโซซิเอชั่น หรือชื่อย่อว่า เอสพีเอ จะเข้ามาสร้างความหนาว ๆ ร้อน ๆ ให้กับซอฟต์แวร์เถื่อนเสียที

กลุ่มเอสพีเอนั้น จัดเป็นสมาคมทางการค้าระหว่างประเทศของผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายเล็กรายใหญ่รวมตัวกันมากกว่า 1,200 ราย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์เกมส์ การศึกษา และมีซอฟต์แวร์ธุรกิจ เพราะสมาชิกที่เป็นผู้ผลิตชื่อดังรวมอยู่ในกลุ่มด้วยหลายราย อาทิ ไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์ โนเวลล์

การเข้ามาพิทักษ์สิทธิ์ในไทยของเอสพีเอได้มอบหมายให้สำนักกฎหมาย ติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ สำนักกฎหมายเก่าแก่เป็นตัวแทนในไทย ซึ่งมี เซ สุจินตัย รองผู้อำนวยการ และหัวหน้าแผนกทรัพย์สินทางปัญญาของสำนักกฎหมายแห่งนี้เป็นผู้รับผิดชอบ

แม้ว่าเป้าหมายของเอสพีเอไม่ได้แตกต่างไปจากกลุ่มบีเอสเอเท่าใดนัก คือ ต้องการลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ให้น้อยลง เพื่อเปิดโอกาสให้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายเข้ามาแทนที่ในตลาดซอฟต์แวร์ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะในย่านเอเชียแปซิฟิกที่มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก แต่ยังมีปัญหาการละเมิดซอฟต์แวร์สูงมาก

"ทำไมต้องมีองค์กรอย่างเอสพีเอ เพราะผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายรายไม่กล้าขายซอฟต์แวร์ในไทย เพราะกลัวปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์" เอลิชา ลอว์เรนส์ ผู้อำนวยการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเอสพีเอ ชี้แจง

กระนั้นก็ตาม มาตรการทางกฎหมายเพื่อใช้ไล่ล่ากวาดล้าง บรรดาผู้ค้า และผู้ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน ดังเช่น กลุ่มบีเอสเอทำมาตลอด 2-3 ปีมานี้ จะเป็นหนทางสุดท้ายที่เอสพีเอเลือกใช้

ลอว์เรนส์ กล่าวว่า จุดประสงค์ของเอสพีเอจะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเป็นหลัก เพราะการกวาดจับเป็นแค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น แต่การสร้างความรู้ให้ผู้ใช้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายจะเป็นสิ่งที่แก้ปัญหาได้ผลมากกว่า

"อย่างในห้างพันธุ์ทิพย์พอจับแล้วพรุ่งนี้ก็กลับมาขายใหม่แล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปจับเขาทุกวัน ตราบใดที่คนใช้ยังไม่มีความสำนึกหรือความเข้าใจถึงความสำคัญในการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายเพียงพอ เราจึงต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ไปเน้นที่การให้การศึกษา" เซ สุจินตัย กล่าว

แต่ใช่ว่า เอสพีเอจะละเลยสิ่งเหล่านี้ เพียงแต่จะใช้กลวิธีที่แยบยลกว่าเท่านั้น

เป้าหมายของเอสพีเอจึงมุ่งเน้นไปที่ "ผู้ใช้" ที่เป็นองค์กรธุรกิจต่าง ๆ มากกว่าจะมุ่งกวาดล้างผู้ค้าซอฟต์แวร์เถื่อน ด้วยเหตุที่ว่าหากไม่มีผู้ใช้ย่อมไม่มีผู้ขาย

ในขณะที่กลุ่มบีเอสเอ เปิดสายด่วน HOTLINE ไว้สำหรับให้ผู้ที่ได้รับเบาะแสโทรฯ เข้ามาแจ้งว่ามีองค์กรใด หรือบริษัทใดละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บ้าง และเมื่อมีการดำเนินคดีจนถึงที่สุดแล้ว บีเอสเอจะสมนาคุณให้ 1 แสนบาท แต่สำหรับเอสพีเอ จะเปิดสายโทรศัพท์ HELP LINE จะเป็นหมายเลขให้ผู้ใช้โทรเข้ามาสอบถามปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ รวมถึงรับแจ้งข้อมูลว่า มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ใด แต่เอสพีเอจะไม่มีรางวัลให้

"ได้ผลเยอะ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่โทรเข้ามาแจ้งข้อมูลจะเป็นพนักงานเก่าที่ลาออก หรือทะเลาะกับนาย ซึ่งเราจะถามเขาโดยเขาไม่ต้องเกี่ยวข้องในคดี เพียงแต่ให้ข้อมูลเรามา หลังจากนั้น เราจะส่งนักสืบเข้าไปหาหลักฐาน ก่อนจะดำเนินงานในขั้นต่อไป" เซเล่า

นอกจากนี้ เอสพีเอ จะมีโปรแกรมตรวจสอบด้วยตัวเอง หรือ SELF AUDIT KIT ซึ่งจะเป็นแผ่นดิสก์เก็ตต์ ที่จะจัดส่งไปให้องค์กร หรือบริษัทต่าง ๆ ใช้ตรวจสอบว่าเครื่องพีซีที่ใช้งานอยู่ในบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ เหล่านั้น มีซอฟต์แวร์อะไรบรรจุอยู่ในนั้นบ้าง และซอฟต์แวร์เหล่านี้มีไลเซนส์ (บันทึกการซื้อ ใบกำกับการขาย ใบอนุญาต) ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

หากองค์กรธุรกิจใด พบว่ามีซอฟต์แวร์ที่ไม่มีไลเซนส์จะต้องทำการลบทิ้ง และซื้อซอฟต์แวร์ถูกต้องตามกฎหมายมาใส่แทน นอกจากนี้ เอสพีเอจะเจรจาเรียกค่าเสียหายจำนวนหนึ่งและทุก ๆ 20% ของเงินที่ได้รับมาเอสพีเอจะนำไปซื้อซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์บริจาคให้กับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

โปรแกรม SELF AUDIT KIT นี้ เอสพีเอจะทำผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยอีกทางหนึ่ง โดยบรรจุลงในโฮมเพจของเอสพีเอ ให้ผู้ที่สนใจดาวน์โหลดไปใช้ตรวจสอบเครื่องพีซีของตัวเอง

"จุดประสงค์เราไม่อยากจับกุมเขา เพียงแต่อยากเจรจากับเขามากกว่าให้เขาซื้อซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายมากกว่า แต่หากเขาไม่ยอมให้ตรวจสอบ เราจึงแจ้งความตำรวจดำเนินคดี"

นอกจากนี้ เอสพีเอจะจัดทำหลักสูตร CSM ซึ่งเป็นคอร์สอบรมสั้น ๆ ให้กับผู้จัดการแผนกคอมพิวเตอร์ โดยจะเน้นให้ความรู้ในเรื่องฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะอบรมให้บริษัทเหล่านี้หันมาควบคุมดูแลการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปถูกกฎหมาย

"บริษัทส่วนมากจะนาน ๆ ซื้อซอฟต์แวร์สักครั้ง แม้ว่าในระหว่างนั้นจะมีการเพิ่มพนักงาน และเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ เราต้องคอยเทรนคนให้เขาคอยคิดถึงสิ่งเหล่านี้เสมอ"

ช่วงแรกคอร์สอบรมของเอสพีเอจะจัดให้กับรัฐบาล และบริษัทคนไทยโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่หลังจากนั้นจะเริ่มเก็บเงิน ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเก็บอยู่ในอัตรา 300 ดอลลาร์สหรัฐ (7,500 บาท) และจะนำรายได้ทั้งหมดไปซื้อซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์และนำไปบริจาคแก่สถาบันการศึกษา

โปรแกรมทั้งหมดนี้ เอสพีเอจัดทำขึ้นสำหรับผู้ใช้ที่เป็นองค์กร ที่ต้องการมุ่งเน้นในเรื่องการศึกษา แต่ในแง่ของผู้ค้าซอฟต์แวร์เถื่อนแล้ว เซยอมรับว่า การส่งจดหมายให้ตามวิธีข้างตนคงใช้ไม่ได้กับร้านค้าเหล่านี้ ยังคงต้องใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าช่วยเหมือนเดิม

ขณะเดียวกัน ทางด้านของติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ แม้จะคร่ำหวอด กับงานด้านทรัพย์สินทางปัญญามากกว่า 50 ปี แต่ภารกิจในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ทนายความที่ต้องออกไปดำเนินคดีให้กับลูกความเช่นในอดีต แต่ยังต้องทำหน้าที่ในฐานะของตัวแทนในไทย ซึ่งเซยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

"คดีอื่น ๆ เราเป็นแค่ทนายออกไปดำเนินคดี แต่สำหรับการเป็นตัวแทนให้เอสพีเอแล้ว จะต้องทำหน้าที่ทุกอย่างให้เอสพีเอ ซึ่งเป็นงานที่แปลกและแตกต่างจากลูกความรายอื่น ๆ "

ภารกิจของติลลิกี จะมีตั้งแต่การสืบหาข้อมูล ที่มาจาก HELP LINE รวมถึงการจ้างนักสืบไปสำรวจหาหลักฐาน และการเจรจากับผู้ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนให้หันมาใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย รวมถึงการแจ้งจับดำเนินคดี

ยิ่งไปกว่านั้น เธอยังต้องทำหน้าที่เป็นประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งราชการและเอกชน ตามโปรแกรมต่าง ๆ ที่เอสพีเอจัดมา รวมถึงการดูแลผลประโยชน์ทางด้านการค้าของสมาชิกในกลุ่มเอสพีเอ

"เราต้องเป็นเสมือนเอสพีเอ เช่น มีคนโทรฯ เข้ามาที่เฮลพ์ไลน์ และบอกว่า ซอฟต์แวร์ของสมาชิกไม่มีบริการเลย เราจะส่งข้อมูลไปให้เอสพีเอ เพื่อให้ส่งผ่านไปให้สมาชิกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เขารู้ว่าเขามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีการร้องว่าราคาซอฟต์แวร์ของเราแพงกว่าเอสพีเอแพงกว่าคู่แข่งก็ต้องแจ้งกลับไป"

เซ ทิ้งท้ายว่า ภารกิจทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องหนักหนาเลย แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญ คือ อิทธิพลนอกกฎหมาย ที่ส่งผลให้การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไม่มีวันหมดไปได้ง่าย ๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us