โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพวาง positioning เป็นโรงพยาบาลหัวใจชั้นนำของโลกที่มีความพร้อมในเรื่องทีมแพทย์ เครื่องมือที่ทันสมัย สถานที่โอ่อ่าสวยงาม ลงทุนในเรื่องการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนทั้งหมดสะท้อนไปยังราคาค่ารักษาที่สูง เป็นโรงพยาบาลของคนรวยที่ทุกคนยอมรับ
ภาพความพลุกพล่านของผู้คนที่ไม่ต่างจากโรงพยาบาลรักษาโรคทั่วไปในเช้าวันนั้นที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพตอกย้ำให้ชัดเจนขึ้นด้วยข้อมูลที่ ดร.นพ.กิติพันธ์ วิสุทธารมณ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ บอกว่า
"ตอนนี้เรามีคนไข้ประมาณ 3.6-4 หมื่นคน เป็นชาวต่างชาติ 15 เปอร์เซ็นต์ โอพีดี ประมาณ 3,500 คนต่อเดือน สูงที่สุดต่อวัน ประมาณ 250 คน หลายคนมาจากอาการเริ่มแรก เจ็บหน้าอก หัวใจสั่น หน้ามืดเป็นลม และคนไข้ส่วนใหญ่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ รองลงมาก็เป็นลิ้นหัวใจรั่ว, ตีบ และหัวใจพิการมาแต่กำเนิด แต่มีโรคหนึ่งไม่ได้มาจากหัวใจโดยตรง แต่เกี่ยวกับเส้นเลือดใหญ่ที่ออกมาจากหัวใจ เส้นเลือดนี้ถ้ามันโป่ง มันแตก ส่วนใหญ่เราจะได้คนไข้ที่เส้นเลือดใหญ่ฉีกมานิดหน่อย หรือฉีกมากแล้วมาหาเราเยอะ"
ตัวเลขของโรงพยาบาลศูนย์หัวใจกรุงเทพที่เปิดบริการมาตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2547 โรงพยาบาลแห่งนี้พัฒนามาจาก "ศูนย์โรคหัวใจ" ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในโรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อปี 2528 กลายเป็นจุดแข็งและจุดขายของโรงพยาบาลนี้มานานถึง 20 ปี
การวางแผนสร้างโรงพยาบาลหัวใจโดยตรงเกิดขึ้นภายใต้บริษัทแม่เดียวกัน คือบริษัทดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BGH โดยใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างอาคารใหม่ประมาณ 200 ล้านบาท และใช้เงินอีก 300 ล้านบาทลงทุนด้านอุปกรณ์ การรักษาและเทคโนโลยีต่างๆ
เดิมทีผู้บริหารตั้งใจให้เป็นโรงพยาบาลขนาด 100 เตียง แต่ข้อจำกัดของกฎหมายควบคุมการก่อสร้าง ทำให้สามารถสร้างตึกสูงเพียง 6 ชั้น จำนวน 59 เตียง จำเป็นต้องนำคนไข้ ไปฝากไว้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพอีก 25 เตียง ดังนั้นพื้นที่อีก 2 ชั้นในตึกใหม่ที่กำลังก่อสร้างจะเป็นส่วนของโรงพยาบาล หัวใจ และทำให้ได้จำนวนทั้งหมด 100 เตียง
เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความพร้อมของอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย เช่น เครื่อง Cardiac MRI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการดูกล้ามเนื้อหัวใจ, เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงสุด (CT Scan 64 Multislice)
อีกตัวหนึ่งคือ "น้องดา" เป็นชื่อที่ ดร.นพ.กิติพันธ์ เรียก "ดาวินชี่" หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดที่ นพ.กิติพันธ์ไปศึกษาในเรื่องการผ่าตัดโดยวิธีนี้มาด้วยตนเอง
เครื่อง PET CT ที่เพิ่งได้มาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สามารถดูในเรื่องหัวใจ และ หามะเร็งในระยะเริ่มต้น
เครื่องมือทันสมัยถูกนำเข้าพร้อมๆ กับการเตรียมความพร้อมบุคลากร ซึ่งโรงพยาบาลกรุงเทพไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ลงรายละเอียดลึกไปถึงพยาบาล และเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ที่ต้องผ่านหลักสูตร ช่วยชีวิตคนเป็นโรคหัวใจในเบื้องต้นทุกคน และปัจจุบัน มีอาจารย์จากโรงพยาบาลศิริราชมาสอนและฝึกอบรม เมื่อจบแล้วจะได้ใบประกาศ เฉพาะทาง
ด้านแพทย์ มีทุนให้ไปเรียนต่อต่างประเทศทุกปี โดย นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานบริหารโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ได้ให้วิธีคิดเรื่องการให้ทุนว่าไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ ที่มาจากโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ แต่เป็นนักเรียนที่ดีจากโรงเรียนแพทย์ที่ไหนก็ได้จบแล้วไม่มีสัญญาผูกมัดว่าต้องกลับมาเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ แต่จะไปเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนแพทย์ไหนก็ได้ เป็นโปรเจกต์ที่เริ่มแล้วและอยู่ในระหว่างหาตัวคน
"ส่วนโรงพยาบาลเองยังมีนโยบายว่า หมอทุกคนควรจะได้ไปประเทศยุโรปหรืออเมริกา อย่างน้อยปีละครั้ง โดยโรงพยาบาลออกค่าใช้จ่ายให้หมด ถ้าเผื่อว่าหมอคนไหนจะเขียน peper หรือผลงานวิจัย ไปปีละกี่หนก็ได้ สมมุติว่าปีนี้เขียนได้ 10 ชิ้นก็ไป 10 หนได้ แล้ว เราก็จะสนับสนุนด้วย" ดร.นพ.กิติพันธ์อธิบาย
ปัจจุบันทีมแพทย์โรคหัวใจประกอบด้วยอายุรแพทย์หัวใจ ศัลยแพทย์ วิสัญญี แพทย์ กุมารแพทย์ รังสีแพทย์หัวใจ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู รวมทั้งหมดประมาณ 52 คน
การเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการและการเรียนการสอนด้านสุขภาพโรคหัวใจ (Hub for Training) เป็นเป้าหมายอีกอย่างหนึ่งของ ที่นี่โดยมีอาจารย์สมบูรณ์ บุตรเกษม อาจารย์ ศัลยแพทย์ทรวงอกจากโรงพยาบาลรามาธิบดี มาร่วมทีมมีหน้าที่สำคัญคือ คิดค้นว่าทำอย่างไรให้โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ทำงานร่วมกับโรงเรียนแพทย์ได้
อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญอย่างมาก ก็คือระบบการจัดเก็บข้อมูลในเรื่อง ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาโรคหัวใจ เพื่อ ประโยชน์ต่อเนื่องในการทำวิจัยในอนาคต รวมทั้งการยอมรับจากต่างประเทศ
ในเรื่องความสามารถ พูดกับใครก็พูด ได้ แต่งานวิจัยจากฐานข้อมูลที่มีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบเป็นเครื่องยืนยันที่ดีที่สุด
"ตอนนี้ผมเป็นนายกสมาคมแพทย์ ทรวงอกด้วย ซึ่งสนับสนุนอย่างมากให้สมาคม และโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ทำดาต้าเบส เพราะนอกจากจะนำมาเขียนรายงานแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้การทำงานของตัวเขาเองถูกต้องแม่นยำ ตอนที่ผมอยู่อเมริกา ในรัฐมินิโซตามีกฎเลยว่าโรงพยาบาลทุกแห่งต้องจัดเก็บข้อมูล และสามารถเปิดดูได้ว่า มีอัตราการตายต่อปีเท่าไร จากสาเหตุอะไร"
ดร.นพ.กิติพันธ์ให้ความเห็นต่อว่าบ้านเราคงยาก เพราะมีปัญหาในเรื่องการลงทุนติดตั้งระบบ และหลายคนยังไม่เห็นถึงความสำคัญ ปัจจุบันสมาคมโรคทรวงอกได้อนุมัติเงินเบื้องต้นเพื่อจะพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวนี้ขึ้นมาทำเป็นดาต้าเบสของสมาคม และต่อไปจะพัฒนาไปใช้กับดาต้าเบสของโรงเรียนแพทย์ก่อน แล้วค่อยขยายไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ
การให้ความสำคัญการจัดเก็บข้อมูล การสนับสนุนให้แพทย์ทำการวิจัย ในเรื่องต่างๆ อย่างต่อเนื่องจากฐานข้อมูลที่เป็นระบบ เพื่อไปนำเสนอในงานสัมมนาใหญ่ๆ ทั่วโลก รวมทั้งมีงานวิจัยดีๆ ที่เผยแพร่ออกไปเป็นกลยุทธ์ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมองว่าเป็นการ Put the hospital on the map หมายความว่าเมื่อพูดถึงประเทศไทยก็จะรู้ว่ามีโรงพยาบาลกรุงเทพเป็นสถานที่ รักษาโรคหัวใจ
วันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ดร.นพ.กิติพันธ์ไปบรรยายเกี่ยวกับ Stem Cell Therapy in Asia ที่รัฐเทกซัสในสหรัฐอเมริกา และวันที่ 20-23 พฤศจิกายน นพ.โชคชัย สุวรรณกิจบริหาร และ นพ.เพิ่มยศ เรืองสกุลราช เสนอผลงานด้านวิชาการในการประชุม Association of Thoracic and Cardiovascular Surgeons of Asia ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
และต้นเดือนธันวาคม ดร.นพ.กิติพันธ์, นพ.เพิ่มยศ, พญ.เลิศลักษณ์ เชาว์ทวี และนพ.สุจิตร์ บัญญัติปิยพจน์ ได้เข้าร่วมบรรยาย ด้านวิชาการในการประชุม ISMICS Winter 2005 Annaul Meeting ครั้งที่ 3 ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
ภาพลักษณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นและผู้บริหาร โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพให้ความสำคัญและตั้งความหวังอย่างมากเพื่อสร้างจุดต่างจากโรงพยาบาลอื่นทั่วโลก คือการสร้างคนทุกแผนกให้มีหัวใจในการบริการ งานนี้แม้โรงพยาบาลจะมีเงิน แต่ก็ไม่สามารถจะหาซื้อได้ ความพยายามสร้างวัฒนธรรมองค์กรในเรื่องนี้จึงได้เริ่มต้นเมื่อปีที่ผ่านมาในโครงการ Smile Project (อ่านรายละเอียดในเรื่องประกอบ) ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา
Bangkok Heart Hospital
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพวาง positioning เป็นโรงพยาบาลหัวใจชั้นนำของโลก
ที่มีความพร้อมในเรื่องทีมแพทย์ เครื่องมือที่ทันสมัย สถานที่โอ่อ่าสวยงาม
ลงทุนในเรื่องการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนทั้งหมดสะท้อนไปยัง
ราคาค่ารักษาที่สูง เป็นโรงพยาบาลของคนรวยที่ทุกคนยอมรับ
ภาพความพลุกพล่านของผู้คนที่ไม่ต่างจากโรงพยาบาลรักษาโรคทั่วไปในเช้าวันนั้นที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพตอกย้ำให้ชัดเจนขึ้นด้วยข้อมูลที่ ดร.นพ.กิติพันธ์ วิสุทธารมณ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ บอกว่า
"ตอนนี้เรามีคนไข้ประมาณ 3.6-4 หมื่นคน เป็นชาวต่างชาติ 15 เปอร์เซ็นต์ โอพีดี ประมาณ 3,500 คนต่อเดือน สูงที่สุดต่อวัน ประมาณ 250 คน หลายคนมาจากอาการเริ่มแรก เจ็บหน้าอก หัวใจสั่น หน้ามืดเป็นลม และคนไข้ส่วนใหญ่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ รองลงมาก็เป็นลิ้นหัวใจรั่ว, ตีบ และหัวใจพิการมาแต่กำเนิด แต่มีโรคหนึ่งไม่ได้มาจากหัวใจโดยตรง แต่เกี่ยวกับเส้นเลือดใหญ่ที่ออกมาจากหัวใจ เส้นเลือดนี้ถ้ามันโป่ง มันแตก ส่วนใหญ่เราจะได้คนไข้ที่เส้นเลือดใหญ่ฉีกมานิดหน่อย หรือฉีกมากแล้วมาหาเราเยอะ"
ตัวเลขของโรงพยาบาลศูนย์หัวใจกรุงเทพที่เปิดบริการมาตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2547 โรงพยาบาลแห่งนี้พัฒนามาจาก "ศูนย์โรคหัวใจ" ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในโรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อปี 2528 กลายเป็นจุดแข็งและจุดขายของโรงพยาบาลนี้มานานถึง 20 ปี
การวางแผนสร้างโรงพยาบาลหัวใจโดยตรงเกิดขึ้นภายใต้บริษัทแม่เดียวกัน คือบริษัทดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BGH โดยใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างอาคารใหม่ประมาณ 200 ล้านบาท และใช้เงินอีก 300 ล้านบาทลงทุนด้านอุปกรณ์ การรักษาและเทคโนโลยีต่างๆ
เดิมทีผู้บริหารตั้งใจให้เป็นโรงพยาบาลขนาด 100 เตียง แต่ข้อจำกัดของกฎหมายควบคุมการก่อสร้าง ทำให้สามารถสร้างตึกสูงเพียง 6 ชั้น จำนวน 59 เตียง จำเป็นต้องนำคนไข้ ไปฝากไว้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพอีก 25 เตียง ดังนั้นพื้นที่อีก 2 ชั้นในตึกใหม่ที่กำลังก่อสร้างจะเป็นส่วนของโรงพยาบาล หัวใจ และทำให้ได้จำนวนทั้งหมด 100 เตียง
เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความพร้อมของอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย เช่น เครื่อง Cardiac MRI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการดูกล้ามเนื้อหัวใจ, เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงสุด (CT Scan 64 Multislice)
อีกตัวหนึ่งคือ "น้องดา" เป็นชื่อที่ ดร.นพ.กิติพันธ์ เรียก "ดาวินชี่" หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดที่ นพ.กิติพันธ์ไปศึกษาในเรื่องการผ่าตัดโดยวิธีนี้มาด้วยตนเอง
เครื่อง PET CT ที่เพิ่งได้มาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สามารถดูในเรื่องหัวใจ และ หามะเร็งในระยะเริ่มต้น
เครื่องมือทันสมัยถูกนำเข้าพร้อมๆ กับการเตรียมความพร้อมบุคลากร ซึ่งโรงพยาบาลกรุงเทพไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ลงรายละเอียดลึกไปถึงพยาบาล และเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ที่ต้องผ่านหลักสูตร ช่วยชีวิตคนเป็นโรคหัวใจในเบื้องต้นทุกคน และปัจจุบัน มีอาจารย์จากโรงพยาบาลศิริราชมาสอนและฝึกอบรม เมื่อจบแล้วจะได้ใบประกาศ เฉพาะทาง
ด้านแพทย์ มีทุนให้ไปเรียนต่อต่างประเทศทุกปี โดย นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานบริหารโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ได้ให้วิธีคิดเรื่องการให้ทุนว่าไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ ที่มาจากโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ แต่เป็นนักเรียนที่ดีจากโรงเรียนแพทย์ที่ไหนก็ได้จบแล้วไม่มีสัญญาผูกมัดว่าต้องกลับมาเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ แต่จะไปเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนแพทย์ไหนก็ได้ เป็นโปรเจกต์ที่เริ่มแล้วและอยู่ในระหว่างหาตัวคน
"ส่วนโรงพยาบาลเองยังมีนโยบายว่า หมอทุกคนควรจะได้ไปประเทศยุโรปหรืออเมริกา อย่างน้อยปีละครั้ง โดยโรงพยาบาลออกค่าใช้จ่ายให้หมด ถ้าเผื่อว่าหมอคนไหนจะเขียน peper หรือผลงานวิจัย ไปปีละกี่หนก็ได้ สมมุติว่าปีนี้เขียนได้ 10 ชิ้นก็ไป 10 หนได้ แล้ว เราก็จะสนับสนุนด้วย" ดร.นพ.กิติพันธ์อธิบาย
ปัจจุบันทีมแพทย์โรคหัวใจประกอบด้วยอายุรแพทย์หัวใจ ศัลยแพทย์ วิสัญญี แพทย์ กุมารแพทย์ รังสีแพทย์หัวใจ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู รวมทั้งหมดประมาณ 52 คน
การเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการและการเรียนการสอนด้านสุขภาพโรคหัวใจ (Hub for Training) เป็นเป้าหมายอีกอย่างหนึ่งของ ที่นี่โดยมีอาจารย์สมบูรณ์ บุตรเกษม อาจารย์ ศัลยแพทย์ทรวงอกจากโรงพยาบาลรามาธิบดี มาร่วมทีมมีหน้าที่สำคัญคือ คิดค้นว่าทำอย่างไรให้โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ทำงานร่วมกับโรงเรียนแพทย์ได้
อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญอย่างมาก ก็คือระบบการจัดเก็บข้อมูลในเรื่อง ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาโรคหัวใจ เพื่อ ประโยชน์ต่อเนื่องในการทำวิจัยในอนาคต รวมทั้งการยอมรับจากต่างประเทศ
ในเรื่องความสามารถ พูดกับใครก็พูด ได้ แต่งานวิจัยจากฐานข้อมูลที่มีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบเป็นเครื่องยืนยันที่ดีที่สุด
"ตอนนี้ผมเป็นนายกสมาคมแพทย์ ทรวงอกด้วย ซึ่งสนับสนุนอย่างมากให้สมาคม และโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ทำดาต้าเบส เพราะนอกจากจะนำมาเขียนรายงานแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้การทำงานของตัวเขาเองถูกต้องแม่นยำ ตอนที่ผมอยู่อเมริกา ในรัฐมินิโซตามีกฎเลยว่าโรงพยาบาลทุกแห่งต้องจัดเก็บข้อมูล และสามารถเปิดดูได้ว่า มีอัตราการตายต่อปีเท่าไร จากสาเหตุอะไร"
ดร.นพ.กิติพันธ์ให้ความเห็นต่อว่าบ้านเราคงยาก เพราะมีปัญหาในเรื่องการลงทุนติดตั้งระบบ และหลายคนยังไม่เห็นถึงความสำคัญ ปัจจุบันสมาคมโรคทรวงอกได้อนุมัติเงินเบื้องต้นเพื่อจะพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวนี้ขึ้นมาทำเป็นดาต้าเบสของสมาคม และต่อไปจะพัฒนาไปใช้กับดาต้าเบสของโรงเรียนแพทย์ก่อน แล้วค่อยขยายไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ
การให้ความสำคัญการจัดเก็บข้อมูล การสนับสนุนให้แพทย์ทำการวิจัย ในเรื่องต่างๆ อย่างต่อเนื่องจากฐานข้อมูลที่เป็นระบบ เพื่อไปนำเสนอในงานสัมมนาใหญ่ๆ ทั่วโลก รวมทั้งมีงานวิจัยดีๆ ที่เผยแพร่ออกไปเป็นกลยุทธ์ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมองว่าเป็นการ Put the hospital on the map หมายความว่าเมื่อพูดถึงประเทศไทยก็จะรู้ว่ามีโรงพยาบาลกรุงเทพเป็นสถานที่ รักษาโรคหัวใจ
วันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ดร.นพ.กิติพันธ์ไปบรรยายเกี่ยวกับ Stem Cell Therapy in Asia ที่รัฐเทกซัสในสหรัฐอเมริกา และวันที่ 20-23 พฤศจิกายน นพ.โชคชัย สุวรรณกิจบริหาร และ นพ.เพิ่มยศ เรืองสกุลราช เสนอผลงานด้านวิชาการในการประชุม Association of Thoracic and Cardiovascular Surgeons of Asia ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
และต้นเดือนธันวาคม ดร.นพ.กิติพันธ์, นพ.เพิ่มยศ, พญ.เลิศลักษณ์ เชาว์ทวี และนพ.สุจิตร์ บัญญัติปิยพจน์ ได้เข้าร่วมบรรยาย ด้านวิชาการในการประชุม ISMICS Winter 2005 Annaul Meeting ครั้งที่ 3 ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
ภาพลักษณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นและผู้บริหาร โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพให้ความสำคัญและตั้งความหวังอย่างมากเพื่อสร้างจุดต่างจากโรงพยาบาลอื่นทั่วโลก คือการสร้างคนทุกแผนกให้มีหัวใจในการบริการ งานนี้แม้โรงพยาบาลจะมีเงิน แต่ก็ไม่สามารถจะหาซื้อได้ ความพยายามสร้างวัฒนธรรมองค์กรในเรื่องนี้จึงได้เริ่มต้นเมื่อปีที่ผ่านมาในโครงการ Smile Project (อ่านรายละเอียดในเรื่องประกอบ) ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา
|