|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2548
|
|
โรคหัวใจ มฤตยูเงียบ! ที่อยู่ใกล้ตัวคุณ คือโปรดักส์ชิ้นใหม่ที่กำลังสร้างเม็ดเงินรายได้ตัวสำคัญเข้าโรงพยาบาล ตลอดระยะเวลา 1 ปีเต็มที่ผ่านมา โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งให้ความสำคัญเปิดศูนย์โรคหัวใจ และแข่งกันทำการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมอย่างต่อเนื่อง
ตัวเลขจากกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยระบุชัดว่า อัตราการตายของคนไทยจากสาเหตุของโรคหัวใจสูงติดอันดับ 1 ใน 3 เช่นเดียวกับโรคมะเร็งและอุบัติเหตุ โดยสอดคล้องกับอัตราการตายด้วยโรคหัวใจของคนทั้งโลก
มหันตภัยร้ายตัวนี้ค่อยคืบคลานเข้ามาอย่างเงียบๆ ก่อนที่จะไปเปิดเผยตัวตนในช่วงอายุของผู้ชายวัย 45 ปี และผู้หญิงวัย 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงอายุที่กำลังแอคทีฟ กับการทำงานและเป็นกำลังสำคัญขององค์กร
เป็นโรคที่คนไข้ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ไม่หายขาด เป็นแล้วสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ จำนวนคนไข้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเอื้อให้มีการค้นคว้า และทดลองอย่างต่อเนื่องเกิดเป็นวิวัฒนาการใหม่ๆ ในเรื่องเครื่องมือและการรักษา
ผลที่ตามมาก็คือจำนวนคนไข้เสียชีวิตน้อยลงจากโรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจรูมาติก หรือโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งเป็นโรคยอดนิยมในช่วงแรกๆ กลายเป็นคนไข้เสียชีวิตอย่างฉับพลันจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มมากขึ้นจากเหตุผลสำคัญของวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนในเมืองใหญ่ที่มีแต่ความเร่งรีบรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และไม่มีเวลาออกกำลังกาย
"วันนี้ที่น่าจับตาอย่างมาก ก็คือโรคอ้วน ที่ตัวเลขการวิจัยในอเมริการะบุว่า คนอเมริกันเกินครึ่งมีน้ำหนักเกิน ตอนนี้ในเมืองไทยเริ่มมีตัวเลขที่สูงขึ้นแล้วเช่นกัน ซึ่งความอ้วนนี้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด และความดันเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจวายฉับพลัน ซึ่งเกิดขึ้นมากที่สุดในบรรดาโรคหัวใจทั้งหมด" ศ.นพ.ศุภชัย ไชยธีระพันธ์ นายกสมาคมแพทย์หัวใจ ของประเทศไทยให้ข้อมูลกับ "ผู้จัดการ"
เมื่อจำนวนคนเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นช่องทางการทำตลาด ของโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ ซึ่งเห็นได้จากสงครามประชาสัมพันธ์ที่หนักหน่วงขึ้น ตั้งแต่ต้นปีเพื่อให้คนทั่วไปได้รับรู้ว่าเป็นศูนย์หัวใจครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นสื่อบิลบอร์ด หนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ รวมทั้งรายการเพื่อสุขภาพต่างๆ ที่ได้ยกเรื่องนี้เป็นหัวข้อในการสนทนาอย่างหลากหลาย
เทคโนโลยีใหม่ๆ ทันสมัยทางการแพทย์ที่จำเป็นในการวินิจฉัยโรค กลายเป็นเครื่องมือในการแข่งขันที่มองเห็น และกระตุ้นการตัดสินใจของคนได้ ง่ายที่สุด ปัจจุบันมีเครื่องมือใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo ชนิด 3 dimensions) เครื่องนวดกระตุ้นการทำงานของหัวใจ เครื่อง Cardiac MRI สำหรับดูการทำงานของหลอดเลือดและหัวใจ รวมทั้งการใช้หุ่นยนต์ในการผ่าตัด
ล่าสุดเมื่อประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ท่ามกลางแพทย์โรคหัวใจหลายพันคน มีการนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง "เซลล์บำบัด" (Cell Therapy) เพื่อรักษาโรคหัวใจจากทีมแพทย์ ของโรงพยาบาลศิริราชในประเทศไทยที่ร่วมกับสถาบันจากประเทศอิสราเอล ได้รับความสนใจอย่างมาก เช่นเดียวกับการบรรยาย เกี่ยวกับ Stem Cell Therapy in Asia ที่เมือง Dallas, Texas ของนายแพทย์กิติพันธ์ วิสุทธารมณ์ จากโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เซลล์บำบัด เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของโลกในการรักษาโรคหัวใจ ที่ผิดหวังมาจากรักษาแบบอื่น โดยมีวิธีการนำเซลล์ที่แข็งแรงของตนเองมาทดแทนเซลล์ที่เสียไป ปัจจุบันโรงพยาบาลหลายแห่งในเมืองไทยกำลังทำการวิจัยและทดลองในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ศ.นพ.ศุภชัยยืนยันว่าขณะนี้มีคนไข้ของโรงพยาบาลศิริราชใช้วิธีนี้ไปแล้ว 20 คน แต่ อย่างไรก็ตาม ยังเป็นวิธีการที่ใหม่และยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
ดังนั้น เครื่อง CT Scan หรือเครื่องเอกซเรย์ความเร็วสูงในการตรวจหัวใจและหลอดเลือด จึงกำลังเป็นพระเอกในการประชาสัมพันธ์ ด้วยประสิทธิภาพที่ว่าสามารถตรวจและถ่ายภาพหัวใจได้อย่างรวดเร็วและคมชัด ทำให้ทราบได้ว่าคนไข้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ และสามารถวางแผนรักษาขั้นต่อไปได้อย่างแม่นยำขึ้น เช่น การทำการผ่าตัด (Coronary Artery Bypass) หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูน โดยอาจจะยังไม่ต้องใช้วิธีการฉีดสี ซึ่งใช้เวลาโดยเริ่มจากแพทย์จะสอดสายตรวจขนาดเล็กมาก ผ่านเข้าทางหลอดเลือดข้อมือหรือขาหนีบ จนกระทั่งปลายสายตรวจเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจที่ต้องการ แล้วฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือด พร้อมทั้งบันทึกภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์เพื่อตรวจดูการตีบแคบของหลอดเลือด
|
|
|
|
|