Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 พฤศจิกายน 2548
นกแอร์ฟาดพีบีแอร์อ่วม "โยธิน" อัดต้องเคารพสิทธิ์             
 


   
www resources

โฮมเพจ สายการบิน พีบี แอร์

   
search resources

Low Cost Airline
สายการบินพีบีแอร์




พีบีแอร์ ยกธง ขอลดเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช จากสัปดาห์ละ 14 ไฟลต์ เหลือเพียง 7 ไฟลต์ ระบุโลว์คอสต์พ่นพิษเล่นสงครามราคา ชี้นกแอร์ขายตั๋วเพียง 990 บาท ถูกกว่าครึ่งหนึ่ง ผลคือโอเวอร์ซัปพลาย ระบุเปิดเสรีการบินเป็นเรื่องที่ดี แต่ สายการบินใหม่ควรเคารพสิทธิ์หันเปิดเส้นทางใหม่ๆบ้าง ใช่แต่มาจับเส้นทางเก่าที่มีผู้ทำตลาดไว้แล้ว

กัปตันโยธิน ภมรมนตรี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการบิน พีบี แอร์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา พีบี แอร์ ได้ลดเที่ยวบินในเส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช จาก 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ลงเหลือ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เพราะไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ เนื่องจากสายการบินนกแอร์ได้มาเปิดเที่ยวบินในเส้นทาง ดังกล่าวเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และขายตั๋วในราคา 990 บาท ต่อที่นั่ง (ยังไม่รวมภาษีสนามบิน ค่าธรรมเนียมน้ำมัน และ VAT) ขณะที่ พีบี แอร์ ขายตั๋วในราคา 2,400 บาทต่อที่นั่ง เท่ากับตั๋วของการบินไทย ซึ่งยังไม่รวมค่า VAT ค่าธรรมเนียมน้ำมัน และภาษีสนามบินอีกราว 750 บาท ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าผู้ใช้บริการลดจำนวนลง

"จากปกติ พีบี แอร์ จะบินอยู่ประมาณ 160 ที่นั่งต่อวัน โดยมีผู้โดยสารมาใช้บริการราว 70-80 ที่นั่ง เมื่อนกแอร์เข้ามาเปิดเส้นทางบินเพิ่ม ทำให้ต่อวันเส้นทางบินดังกล่าว มีจำนวนที่นั่งเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 300 ที่นั่งต่อวัน ขณะที่ลูกค้าที่ใช้บริการยังเป็นกลุ่มเดิม ทำให้เกิดโอเวอร์ซัปพลาย พีบีแอร์เหลือลูกค้าเพียง 30-40 ที่นั่งต่อวัน ซึ่งไม่สามารถอยู่ได้ และราคานกแอร์ก็ถูกกว่าพีบีมาก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของลูกค้า ดังนั้นหากบินแล้วขาดทุนเราจะไม่ทำแน่นอน เพราะทุกวันนี้ บริษัทก็มีต้นทุนที่สูงจากราคาน้ำมันที่แพงอยู่แล้ว"

การลดเที่ยวบินในเส้นทาง กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ส่งผลให้รายได้ของบริษัทหายไปราว 15% โดยต่อปีบริษัทมีรายได้ประมาณ 600-700 ล้านบาท ซึ่งปีนี้ จากการแข่งขันที่สูงขึ้น การเปิดเที่ยวบินของสายการบินใหม่ๆ ที่เข้ามาแย่งตลาดของ พีบีแอร์ ตรงนี้จะทำให้รายได้โดยรวมทั้งปีลดลงประมาณ 3-4% ขณะที่ต้นทุนบริการเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะต้นทุนน้ำมัน ที่อยู่ในสัดส่วนถึง 40% ของต้นทุนทั้งหมด ส่งผลให้ปีนี้ บริษัทน่าจะขาดทุนเกือบ 100 ล้านบาท จากทุกปีที่ผ่านมา เราจะขาดทุนต่อปีประมาณ 60-70 ล้านบาท

"ตั้งแต่เราทำธุรกิจมา ก็ขาดทุนทุกปี แต่ปีนี้ถือว่าเราขาดทุนมาก แต่การประชุมผู้บริหารของบริษัท ยังคงให้ดำเนินธุรกิจต่อไป ซึ่งเรายังคงยึดนโยบาย ไม่แข่งราคา ชูจุดขายที่บริการ และเที่ยวบินที่ออกตรงเวลา แม้ผู้โดยสารต่อเที่ยวในบางครั้งจะน้อยมากก็ตาม เราคงแข่งอะไรมากไม่ได้ เพราะเส้นทางที่เราเปิดตลาดอย่างกระบี่ ก็มาถูกแย่งตลาด" พีบี แอร์ มีนโยบายชัดเจนที่จะไม่ทำธุรกิจในรูปแบบสงครามราคา ซึ่งหากเส้นทางบินใดประสบภาวะขาดทุนจนไม่สามารถบินได้ ก็จะปรับลดเที่ยวบิน หรือยกเลิกเที่ยวบิน แล้วหันไปเปิดเส้นทางบินอื่นๆแทน โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 18 พ.ย.48 ได้เปิดเส้นทางบิน กรุงเทพฯ-แม่ฮ่องสอน 3 ไฟลต์ต่อสัปดาห์ ทุกวัน จันทร์ พุธ และศุกร์ และในราคาค่าโดยสารที่นั่งละ 3,135 บาท ต่อเที่ยว และในวันที่ 3 ธ.ค.48 จะเปิดเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ บิน 3 ไฟลต์ต่อสัปดาห์ ทุกวัน จันทร์ พุธ และเสาร์ ในราคาค่าโดยสาร 1,650 บาท ต่อเที่ยว โดยทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าว บริษัทใช้เครื่องบินเจ็ต แอมแบร์ 145 LR ความจุ 50 ที่นั่ง คาดว่าระยะแรกน่าจะมีอัตราผู้โดยสารต่อเที่ยวไม่น้อยกว่า 70% คาดว่าทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าวจะมาช่วยทดแทนรายได้ที่หายไปกลับคืนมาได้บ้าง

กัปตันโยธิน กล่าวอีกว่า การที่รัฐบาล โดย กรมการขนส่งทางอากาศ ได้เปิดเสรีการบิน ก็เป็นเรื่องดี แต่การแข่งขันที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย กลับเป็นเรื่องของราคาตั๋ว ขณะเดียวกันสายการบินที่เปิดใหม่ มักจะเลือกเส้นทางบินที่มีผู้ทำตลาดอยู่แล้ว เข้าไปทำตลาด โดยอาศัยความเป็นโลว์คอสต์ ทำราคา ได้ถูกกว่าสายการบินที่บินอยู่ก่อนหน้านั้น ทำให้ตลาด แทนที่จะขยายตัวกลับมาแย่งส่วนแบ่งลูกค้าที่มีอยู่เท่าเดิมให้แยกออกไป สายการบินเอกชนซึ่งมีสายป่านต้นทุนที่ไม่ยาวไกลมากก็ต้องยกเลิก หรือลดเที่ยวบิน เพราะไม่สามารถทนแข่งขันในสถานการณ์โอเวอร์ซัปพลายได้ ก่อนหน้านี้ เมื่อ 2-3 ปีก่อน พีบี แอร์ ยกเลิกเที่ยวบิน เพชรบูรณ์ และกระบี่ เพราะทนการแข่นขันไม่ไหวเช่นกัน

ปัจจุบัน พีบี แอร์ มีเที่ยวบินตรง จากกรุงเทพฯ ไป ลำปาง, น่าน, นครพนม, ร้อยเอ็ด, สกลนคร และนครศรีธรรมราช ส่วนเส้นทางต่างประเทศมี ดานัง/เว้ และเกาะไหหลำ ทุกเส้นทางจะใช้คอนเซ็ปต์ "เที่ยวบิน แสนสบาย" ด้วยบริการ อาหารและเครื่องดื่ม และยังมีโปรแกรม "แสนสบายพาส" สำหรับสะสมไมล์แลกบัตรโดยสารฟรี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us