Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์21 พฤศจิกายน 2548
ทรูซื้อยูบีซีจัดระเบียบธุรกิจ ก่อนหาพันธมิตรต่างชาติ             
โดย ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Telecommunications




หลังจากมีข่าวเกี่ยวกับการหาพันธมิตรร่วมทุนของบริษัททรู กลุ่มธุรกิจสื่อสารในเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เพียงสัปดาห์เดียว ก็มีข่าวความเคลื่อนไหวเชิงยุทธศาสตร์ของทรูออกมา นั่นคือการซื้อหุ้น "ยูบีซี" และ "เคเอสซี" จากกลุ่ม MIH

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของทรู เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีมติอนุมัติการซื้อหุ้นสามัญของ บมจ. ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น โดยแบ่งเป็นการซื้อหุ้นที่บริษัท เอ็มไอเอช (ยูบีซี) โฮลดิ้งส์ บีวี จากแอฟริกาใต้ถืออยู่ 30% และหุ้นที่กระจายอยูในตลาดหลักทรัพย์อีก 30% ในราคา 26.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 313 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 12,000 ล้านบาท)
ส่งผลให้ทรูถือหุ้นยูบีซี เพิ่มขึ้น (จากประมาณ 40%)เป็น 70% ทันที และจะสูงขึ้นกว่านี้อีกหลังจากทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์

นอกจากนี้ ยังอนุมัติซื้อหุ้น 100% ที่ MIH ถืออยู่ในบริษัท เอ็มเคเอสซี เวิลด์ดอทคอม มูลค่าประมาณ 10.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ทรู เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต จำกัด ประมาณ 40%

MIH นั้นเป็นบริษัทที่ดูแลธุรกิจสื่ออิเลคทรอนิกส์ในเครือ Naspers ส่วน Naspers คือบริษัทสื่อข้ามชาติ สัญชาติเนเธอร์แลนด์ ที่มีธุรกิจหลัก 2 ขาหยั่ง คือ สื่ออิเลคทรอนิกส์ (เช่น เคเบิ้ลทีวี, อินเทอร์เน็ต ฯลฯ) และสื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น สำนักพิมพ์, ผลิตและจัดจำหน่ายนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือเล่ม ฯลฯ) โดยมีตลาดใหญ่อยู่ที่ทวีปแอฟริกาใต้ (คิดเป็น 72.7% ของรายได้ทั้งหมด) และกระจายการลงทุนไปยังกรีซ ไซปรัส เนเธอแลนด์ สหรัฐอเมริกา ไทย และจีน

นอกจากนั้น Naspers ยังจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ของสหรัฐฯ และตลาดหลักทรัพย์ Amsterdam อีกด้วย
ในเมืองไทย กลุ่ม Naspers ลงทุนผ่านบริษัท MIH โดยถือหุ้นในยูบีซี, เคเอสซี และเอ็มเวป

"การเข้าไปซื้อหุ้นของเอ็มไอเอช โดยเฉพาะที่ถืออยู่ในยูบีซีครั้งนี้ เป็นการสานต่อวิชั่น และยุทธศาสตร์ของกลุ่มทรู ในการเข้าสู่คอนเวอร์เจนซ์ เพลเยอร์ ไม่ใช่เพียงทริปเปิล เพลเยอร์ ที่เป็นการรวมบริการด้านเสียง ข้อมูล และภาพ" ศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอทรู กล่าว

"แม้ที่ผ่านมา จะเห็นการซินเนอร์ยี่ระหว่างทรู และยูบีซีในหลายๆ ด้าน แต่ยังคงมีความขัดแย้งกันในเรื่องโอกาสทางธุรกิจอยู่ เช่น ธุรกิจเคเบิลทีวี และบรอดแบนด์ทีวี ซึ่งมีแนวโน้ม 'ทับซ้อน' กันไปเรื่อยๆ ดังนั้น การทำธุรกรรมครั้งนี้ จึงเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย"

"การซื้อขายหุ้นครั้งนี้เขาก็เห็นด้วย และการที่เขาขายหุ้นเคเอสซีด้วย เพราะธุรกิจหลักของเอ็มไอเอช คือเคเบิลทีวี เมื่อเขาถอนตัวจากตรงนี้ จึงไม่อยากจะเก็บธุรกิจอินเทอร์เน็ตไว้" ศุภชัยกล่าว อย่างไรก็ตาม MIH ยังถือหุ้นของเอ็มเวป ซึ่งเป็นเจ้าของเวป Sanook.com ไว้อยู่

"ทรูเริ่มเจรจากับเอ็มไอเอชมาตั้งแต่กลางปี และยืนยันว่าเจรจาซื้อขายหุ้นกันได้ด้วยดี ที่ความพึงพอใจของราคาหุ้น ส่วนสาเหตุที่ทรูไม่ซื้อเอ็มเว็บ (เจ้าของ Sanook.com) ซึ่งเป็นธุรกิจบริการข้อมูลมาด้วย เพราะทรูมุ่งไปเป็นผู้ให้บริการเข้าถึงเครือข่ายมากกว่า ทรูจะไม่ทำข้อมูลทั้งหมด"

ทรูนั้นสามารถนำเคเอสซี มาใช้เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่สร้างยุทธศาสตร์ของกลุ่ม เนื่องจากเคเอสซี มีฐานลูกค้าองค์กรที่แข็งแกร่ง และมีเครือข่ายในต่างจังหวัด ซึ่งเป็นจุดที่ทรู อินเทอร์เน็ตไม่ค่อยชำนาญ ทั้งยังนำไปสู่ความร่วมมือกับ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งถือหุ้นอยู่ในเคเอสซีไอ ซึ่งปัจจุบันจัสมิน ก็มีธุรกิจอินเทอร์เน็ตในชื่อ "เจไอเน็ต"

"ในระยะต่อไปคงต้องพิจารณาคืนใบอนุญาตของทรู อินเทอร์เน็ต หรือเคเอสซี ใบใดใบหนึ่งให้กับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพราะไม่ต้องการเก็บไว้ทั้ง 2 ใบ และในท้ายที่สุด คงต้องยุบชื่อในการให้บริการ (แบรนด์) ธุรกิจอินเทอร์เน็ต ให้เหลือเพียงแบรนด์เดียว เนื่องจากเป็นนโยบายของทรูอยู่แล้ว ที่ทุกธุรกิจต้องอยู่ในชื่อเดียว" นั่นคือพัฒนาการขั้นต่อไป หลังจากดำเนินการไประยะหนึ่ง

"การเทคโอเวอร์ครั้งนี้ถือเป็นการคอนเวอร์เจนท์ธุรกิจตามทิศทางกระแสโลก ซึ่งทรูต้องการคอนเวอร์เจนท์ธุรกิจสื่อสารและและธุรกิจมีเดียเข้าด้วยกัน และยังต้องการปรับยุทธศาสตร์ของกลุ่มให้ครอบคลุมทุกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม โดยยังเหลือธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3 จี พร้อมไวร์-แม็กซ์ ซึ่งเป็นบริการสื่อสารไร้สาย และธุรกิจเกตเวย์ ที่ทรูต้องการขอใบอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ต่อไป" ศุภชัยเผยวิสัยทัศน์

จิ๊กซอว์สองตัวนี้มีความสำคัญอย่างไรต่อทรู? เหตุผลที่แท้จริงในการซื้อคืออะไร? ถูกต้อง สมเหตุสมผลแล้วหรือไม่?

บทวิเคราะห์

หลังจากเบญจรงคกุล "ทิ้ง" หุ้นยูคอมทั้งหมด เปิดทางให้เทเลนอร์ "ฮุบ" แทคเรียบร้อยแล้ว สถานการณ์อุตสาหกรรมเทเลคอมก็มาถึงจุดพลิกผันโดยสิ้นเชิง ซึ่งก็หมายความว่าอุตสาหกรรมนี้กำลังจะปรับเข้าสู่ระบบ 3 G อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาแล้วว่ากทช.ปฏิบัติหน้าได้ระยะหนึ่งแล้ว ถึงที่สุดก็ต้องเข้าสู่ระบบ 3 G

อย่างไรก็ตาม ระบบ 3 G สงวนไว้ให้เฉพาะพวกที่มีเงินถุงเงินถังเท่านั้น กระทั่งเอไอเอสซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่ใหญ่ที่สุดของระบบก็ยังถึงกับกระอักเมื่อต้องใช้เงินนับแสนๆล้านบาท เกมของ 3 G คือเกมของผู้ให้บริการที่มีเงินทุนมหาศาลเท่านั้น ซึ่งถึงที่สุดแล้วผู้ประกอบการไทยไม่สามารถระดมทุนมหาศาลได้ถึงระดับนั้นได้ด้วยตัวเองแต่เพียงผู้เดียว

พวกเขาต้องการพันธมิตรระดับโลกเพื่อก้าวไปสู่ระบบ 3 G ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าคุ้มหรือไม่ แต่ถึงที่สุดแล้วก็จำเป็นต้องทำในบรรดาผู้ประกอบการที่อยู่ในสภาพอ่อนแอที่สุด(ไม่นับ Hutch) ออเร้นจ์อยู่ในสภาพที่เหน็ดเหนื่อยที่สุด เพราะขนาดยังไม่ขึ้นไปสู่ 3 G ก็ยังไม่สามารถวางเครือข่ายได้ครอบคลุม หากเข้าสู่ระบบ 3 G ก็คงจะอยู่ในฐานะเสียเปรียบอย่างแน่นอน

สถานะของออเร้นจ์ที่เป็นเบอร์ 3 ซึ่งห่างจากเบอร์สองถึงครึ่งนั้นค่อนข้างลำบาก นี่อาจเป็นเหตุหนึ่งก็ได้ที่ France Telecom บริษัทแม่ออเร้นจ์ "ทิ้ง" หุ้นทั้งหมดในไทย ทั้งๆที่ลงทุนไปไม่น้อย ยังไม่นับว่าทิ้งทั้งๆที่บริษัทดังกล่าวยังใช้แบรนด์ Orange

การมอง Orange แต่เพียงโดดๆนั้น ไม่ได้ หากจะมองไปที่ทรูซึ่งเป็นบริษัทแม่ ทรูเองก็มีปัญหาไม่ใช้น้อย เพราะโทรศัพท์พื้นฐานไม่ใช่ธุรกิจที่ทำเงินดั่งที่ซีพีคาด เมื่อเปรียบเทียบรายได้ต่อสายแล้ว ยังห่างจากโทรศัพท์มือถือมากนัก

อย่างไรก็ตาม ทรูไม่ได้มีโทรศัพท์พื้นฐานอย่างเดียวเท่านั้น หากต้องมองว่าทรูนั้นคือแขนขาด้านเทเลคอมของซีพี ซึ่งวันนี้มีบริการทั้งโทรศัพท์พื้นฐาน มือถือ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เคเบิ้ลทีวี ฯลฯ การเป็นแขนขาด้านเทเลคอมและสื่อสารนั้น หมายความว่าซีพีให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมนี้มาก กระนั้นก็ตาม ซีพีไม่ได้มีเงินมากมายมหาศาลที่จะ Financing ได้ตลอดไปด้วยตนเอง

ทรูต้องการพันธมิตรอย่างมาก ดังที่ได้กล่าวไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทว่าการหาจะหาพันธมิตรได้ ไม่ใช่ทรูเป็นคนเลือกเท่านั้น แต่พันธมิตรต้องเลือกทรูด้วยเช่นกัน ที่ผ่านมา พันธมิตรรายแล้ว รายเล่าต่างทิ้งทีเอ(ชื่อเก่าของทรู)และ Orange ตามลำดับ

วันนี้ทรูจึงต้องละเอียดกับการคัดเลือกพันธมิตร ซึ่งตัวเองต้องแต่งหน้าทาปากให้กลายเป็นผู้หญิงสวย เพื่อให้ผู้ชายเสี่ยงพวงมาลัย
การซื้อหุ้นยูบีซี แถมพ่วงเคเอสซี นั้น ก็เพื่อเป็นการ Consolidate ธุรกิจของกลุ่มให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าทรูคือใคร กำลังทำอะไร

หากหุ้นกระจัดกระจาย ก็ยากที่จะหาพันธมิตรจากต่างประเทศซึ่งจำเป็นอย่างมาก ทว่าเมื่อจัดระเบียบแต่ละธุรกิจให้เป็นที่เป็นทางโดยทรูถือหุ้นใหญ่ ทิศทางชัดเจน พันธมิตรก็จะเดินเข้ามาหาเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us