Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540
"ไมโครแคช" ทางเลือกใหม่ของคนกรุง             
 


   
search resources

บางกอก เปย์เม้นท์ เทคโนโลยีจำกัด
บางกอกไมโครบัส
ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์
Transportation




ปัจจุบัน ผู้ที่ใช้บริการรถไมโครบัสคงจะทราบดีว่า การให้บริการบนรถนั้นเพียบพร้อมแค่ไหนทั้งมีทีวีดูแก้ง่วง หนังสืออ่านแก้รถติดเพื่อแลกกับค่าบริการจำนวน 30 บาท นอกจากนี้ ยังมีบริการชำระค่าโดยสารแทนเงินสดในรูปคูปอง

ล่าสุด ได้มีบริการใหม่จากไมโครบัสที่อยู่ในรูปกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ "ไมโครแคช" (MICRO CASH CARD) เพื่อนำมาใช้ชำระค่าโดยสารแทนเงินสดและคูปองบนรถไมโครบัส เพื่อแก้ปัญหาที่ผู้ใช้บริการไม่มีเศษเหรียญสำหรับค่าโดยสาร

"ไมโครแคชเกิดขึ้นมาจากเราได้ไปดูงานต่างประเทศและได้ไปเห็นการออกตั๋วเลยสนใจ และเมื่อปี 2538 ได้นำเทคโนโลยีจากประเทศฟินแลนด์มาพิจารณา และเรามาหารือกันและเห็นว่าไทยทนุมีความชำนาญเรื่องบัตรพลาสติกและเมื่อทำมาแล้วน่าจะได้ประโยชน์ เราจึงจัดตั้งบริษัทกลางขึ้นมา" ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยทนุ กล่าวถึงที่มาของบัตรไมโครแคช

บริษัทกลางที่จัดตั้งเพื่อเข้ามาดูแลบัตรดังกล่าว คือ บริษัท บางกอก เปย์เม้นท์ เทคโนโลยี จำกัด (บีพีที) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท บางกอก มอเตอร์ อิควิปเมนท์ จำกัด, บริษัท โปรลายน์ (โฮลดิ้ง) จำกัด, บริษัท ศูนย์ประมวลผล จำกัด และธนาคารไทยทนุ โดยแต่ละบริษัทจะถือหุ้น 45%, 30%, 15% และ 10% ตามลำดับ

"เริ่มแรกมีทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท ส่วนบุคลากรที่เข้ามาบริหารงานนั้นจะมาจากทั้ง 4 บริษัท ซึ่งจะเข้ามาทำงานในแต่ละด้านที่ถนัด" ชัยวัฒน์ ซึ่งเข้ามาดูแลในฐานะประธานกรรมการบริหารในบีพีทีกล่าว

บัตรไมโครแคชได้นำเทคโนโลยี ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยธนาคารแห่งชาติประเทศฟินแลนด์ ส่วนราคานั้นได้กำหนดราคาค่าธรรมเนียมบัตรเมื่อซื้อครั้งแรกที่ 300 บาท และผู้ใช้บัตรสามารถเติมเงินลงไปในบัตรได้ตามจำนวนที่ต้องการตั้งแต่ 100-2,000 บาท มีอายุการใช้งาน 3 ปี หากหมดอายุแล้วไม่สามารถเติมเงินได้แต่สามารถใช้ตามจำนวนเงินที่เหลือได้ในบัตรอีก 1 ปีหลังหมดอายุ

"จำนวนเงินจะอยู่ในรูปไมโครโปรเซสเซอร์ชิป ที่ติดอยู่บนบัตรทำให้รู้สึกเหมือนพกพากระเป๋าเงินคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเท่าบัตร ATM" ชัยวัฒน์ กล่าว

ซึ่งบัตรดังกล่าวได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2539 พร้อมทั้งยืนยันว่าจะได้รับการต้อนรับอย่างดีแน่นอน โดยในช่วงแรก ๆ จะเน้นลูกค้าที่เข้าใจในเรื่องเทคโนโลยี

"เนื่องจากว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับบ้านเรา ลูกค้าเราในช่วงแรกจึงเป็นนิสิตนักศึกษา พนักงานตามบริษัทต่าง ๆ ส่วนตั้งแต่กลางปี 40 เป็นต้นไป เราจึงจะเจาะลงไปในกลุ่มลูกค้าที่เป็น MASS มากขึ้น" ชัยวัฒน์ ชี้แจง

สำหรับสิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรไมโครแคช นอกจากใช้ชำระค่าโดยสารกับไมโครบัส ซึ่งได้รับส่วนลด 10% ยังสามารถชำระค่าสินค้าและบริการด้วยการรับส่วนลดพิเศษจากร้านค้าต่าง ๆ มากมาย เช่น รับส่วนลด 10% จากการชำระค่าอาหารที่ร้านอาหารและกาแฟแบล็คแคนยอน และรับส่วนลด 15% ในการซื้อบัตรชมภาพยนตร์ในเครือ อีจีวี, ซีนีพลัสและเอ็นเตอร์เทนรวม 13 แห่ง 86 โรงทั่วกรุงเทพฯ

"รวมทั้งใช้ได้กับเมล์บ็อกซ์ อีทีซี ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านไปรษณีย์ จากอเมริกา และถ้าบนรถไมโครบัสติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะของ TAC เสร็จเรียบร้อยก็สามารถใช้บริการได้ ส่วนคอนวีเนียนสโตร์เรากำลังเจรจากับร้านเอเอ็มพีเอ็ม รวมทั้งการติดต่อกับองค์กรของรัฐ เช่น การประปา ไฟฟ้า สื่อสาร เพื่อเปิดบริการชำระค่าสาธารณูปโภคผ่านบัตรไมโครแคช"

ด้านผลตอบรับในช่วงที่ผ่านมา ชัยวัฒน์เล่าว่า ได้รับการต้อนรับอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากเปิดตัวมายังไม่ได้ทำการส่งเสริมการตลาดอย่างจริงจัง เนื่องจากช่วงเดือนพฤศจิกายนอยู่ในช่วงการเลือกตั้ง และจะเริ่มโปรโมตอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนธันวาคม 2539 เป็นต้นไป

สำหรับกลยุทธ์การทำตลาดนั้น บีพีทีจะเน้นการเข้าถึงลูกค้าโดยตรง โดยกลุ่มโรงภาพยนตร์เครืออีจีวีจะทำโฆษณาในโรงภาพยนตร์ ไมโครบัสจะทำสื่อบนรถ ส่วนบีพีทีจะลงโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

"ในเรื่องงบโฆษณา เราตั้งไว้ทั้งหมด 5 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากบริษัทร่วมทุนอย่างมาก"

เมื่อทุกอย่างลงตัวหมดแล้ว บีพีทีตั้งเป้าไว้ว่าภายในสิ้นปี 2540 จะมีผู้ถือบัตรเกิน 100,000 ใบ นั่นก็หมายความว่า บริษัทจะมีรายได้จากการขายบัตรไมโครแคชเข้ามาถึง 30 ล้านบาท

"นี่คือรายได้หลักของเรา นอกจากนี้ยังมีรายได้จากค่าธรรมเนียม คือ เมื่อผู้ใช้บัตรใช้หมดแล้วต้องการเติมมูลค่าบัตรตรงนี้ เมื่อนำมาเติมเราจะคิดค่าธรรมเนียมครั้งละ 10 บาท และรายได้จากค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากร้านค้าที่รับบัตรไมโครแคช คาดว่า รายได้จาก 3 แหล่งนี้เราจะคุ้มทุนได้ภายใน 2-3 ปี" ชัยวัฒน์ กล่าว

นอกเหนือจากนี้ ชัยวัฒน์ยังกล่าวถึงการทำ "สมาร์ทแคช" คือ การรวมบัตรไมโครแคชเข้ากับบัตร ATM ของไทยทนุว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งบัตรดังกล่าวเป็นบัตร ATM เดิมมาปรับปรุงใหม่โดยการเพิ่มไมโครชิปลงบนบัตร และปรับโฉมใหม่ทั้งหมด

ปัจจุบัน ไทยทนุกำลังเร่งปรับปรุงเทคโนโลยีใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 2 ปี 2540 โดยเฉพาะเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัตินั้นในอนาคตผู้ถือบัตรไมโครแคชสามารถถอนเงิน และเติมมูลค่าเงินสดลงบนบัตรได้ด้วยตัวเอง

"เราเริ่มทำสมาร์ทแคชต้นปี 40 เนื่องจากเรามองว่าจะทำให้ฐานลูกค้าของบัตรกว้างมากขึ้น และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือบัตร ซึ่งเราคิดว่า บัตรสมาร์ทแคชจะโตตามไมโครแคช ถ้าจุดบริการไมโครแคชเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่คาดว่าสมาร์ทแคชจะเพิ่มขึ้นเท่านั้น" ชัยวัฒน์ กล่าว

ซึ่งขณะนี้บีพีทีได้กำหนดจุดบริการขายบัตรไมโครแคชไว้ที่ตัวบริษัท ที่ธนาคารไทยทนุกว่า 20 สาขา โรงภาพยนตร์เครืออีจีวี ซีนีพลัสและเอนเตอร์เทนเมนท์ ร้านเวิลด์มีเดีย ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์, เวลโก้ และไทยไดมารู รวมทั้งจุดประชาสัมพันธ์ไมโครบัสที่จะกำหนดขึ้นอีก

สำหรับจุดบริการเติมเงินจะอยู่ที่บีพีที, ธนาคารไทยทนุ 24 สาขา โรงภาพยนตร์ในเครืออีจีวี และร้านเวิลด์มีเดีย

อย่างไรก็ตาม เมื่อทั้งบัตรไมโครแคช และสมาร์ทแคชเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นแล้ว ความเป็นห่วงในเรื่องจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้นั้น ย่อมมีบ้าง แต่ชัยวัฒน์ได้กล่าวอย่างมั่นใจแน่นอน เนื่องจากบัตรดังกล่าวจะต้องมีเงินเข้ามาก่อน และการใช้ไม่ใช่ใช้กับสินค้าฟุ่มเฟือยเป็นการใช้ทดแทนเงินสดย่อยเท่านั้น

"ดังนั้น จะไม่เหมือนบัตรเครดิตที่ใช้ครั้งละหลายพันหลายหมื่นบาท ซึ่งสมาร์ทแคชเป็นเครื่องมือที่ให้ความสะดวกและการประหยัดเท่านั้น และบัตรดังกล่าวจะไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคำว่าเงินเฟ้อแน่นอน" ชัยวัฒน์ กล่าวตบท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us