Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2543
ไทยทรัสต์ฟันด์เกิดผิดจังหวะ             
 


   
search resources

ไทยทรัสต์ฟันด์
Funds




หลายฝ่ายคาดว่ากองทุนไทยทรัสต์ฟันด์จะสามารถดึงเม็ดเงินใหม่จากนักลงทุนต่างประเทศ เข้ามากระตุ้นให้เกิดสภาพคล่องได้บ้างไม่มากก็น้อย ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ตลาดทุนพัฒนาไปอีกขั้น

จุดประสงค์ของบลจ.ไทยทรัสต์ฟันด์ตั้งขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวก (facilitate) ให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ ที่ต้องการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เสนอเป็นทางเลือกหนึ่งจากปัจจุบัน ที่มีเพียงการซื้อขายในกระดานต่างประเทศ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และอาศัยการลงทุนผ่านพันธมิตร (nominee) ซึ่ง กระทำกันอย่างเอิกเกริกแต่ไม่ใช่สิ่งที่ถูกกฎหมายนัก

"ปัญหาคือ นักลงทุนต่างชาติ ซื้อหุ้นแล้วไม่สามารถจดทะเบียนเป็นชื่อเขาได้ ฉะนั้น ก็ไม่ได้รับเงินปันผล หรือว่าสิทธิต่างๆ ก็เลยทำเรื่องขอตั้งกองทุนนี้ขึ้นมา เพื่อให้เข้ามาซื้อหุ้นแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย" กองแก้ว เปี่ยมด้วยธรรม กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไ ทยทรัสต์ ฟันด์ อธิบาย

โดยอาศัยหลักการของการตั้ง บลจ. เพื่อให้ได้มา ซึ่งสัญชาติไทยแต่สิทธิประโยชน์ในการออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นนั้น ยังไม่สามารถทำได้เช่นผู้ถือหุ้นในกระดานต่างประเทศ แต่ยังได้รับสิทธิในเรื่องการเงิน คือ ยังได้รับเงินปันผล และหุ้นเพิ่มทุนเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นทั่วไป ทั้งนี้นักลงทุนต่างประเทศจะให้ความสนใจ และเข้าร่วมโครงการดังกล่าวมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ การให้น้ำหนักในส่วนนี้เป็นสำคัญ

"ไทยทรัสต์ฟันด์เป็นตัวกลาง ที่นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาเล่นหุ้นเหมือนคนไทยทั่วไป แต่นักลงทุนเหล่านี้จะไม่มีสิทธิ์มีเสียงในการโหวต รอเพียงแต่เงินปันผล ซื้อหุ้นเพิ่มทุนเท่านั้น " กองแก้วกล่าว

นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับบริษัท จดทะเบียนเองด้วยว่าจะเปิดกว้าง และอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในบริษัทของตนเพิ่มขึ้นจากสัดส่วน ที่มีอยู่เดิม หรือไม่หากสองส่วนนี้ได้รับการตอบสนองในทางที่ดี เชื่อว่าการจัดตั้งกองทุน น่าจะสร้างผลพลอยได้ให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาคึกคักได้อีกวาระหนึ่ง

อย่างไรก็ตามปัจจุบันกองทุนไทยทรัสต์ฟันด์ไม่ประสบความสำเร็จเท่า ที่ควร เพราะช่วงตั้งกองทุนขึ้นมาประเทศไทยเข้าสู่วิกฤติเศรษฐกิจพอดี ความสนใจของนักลงทุนต่างประเทศจึงไม่มี และเป็นช่วงการขนเงินลงทุนออกนอกประเทศ

เห็นได้จากตั้งแต่กองทุนนี้เกิดขึ้นมาเปิดกองทุนไปแล้วเพียง 6 กองทุน "แต่การซื้อขายจริงๆ มี 2 กองทุนเท่านั้น คือ ลงทุนในบมจ.อลูคอน (ALU-CON) และ บมจ.เบอร์ลี่ยุคเกอร์ (BJC) และจะเทรดอีกในบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANCE) คาดว่าจะ active" กองแก้วกล่าว

สิ่งหนึ่ง ที่นักลงทุนต่างประเทศไม่ค่อยลงทุนผ่านกองทุนไทยทรัสต์ฟันด์คือ ตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงขาลง และไม่มีสภาพคล่อง อีกทั้งพวกเขาจะมองหาหุ้นเฉพาะ ที่ให้ผลตอบแทนดีๆ มากกว่าการหาโอกาสทำกำไร (capital gains) ดังนั้น การเลือกลงทุนในหุ้นจึงลำบากในสภาวะปัจจุบัน

นอกจากนี้กองทุนดังกล่าวอาจไม่เอื้อต่อนักลงทุนต่างประเทศประเภทสถาบัน เพราะการลงทุนของนักลงทุนกลุ่มน ี้จะมีหลักเกณฑ์ชัดเจนว่าการลงทุนในต่างประเทศต้องถือหุ้นในนามกองทุนเท่านั้น และบางกองทุนให้ความสำคัญในเรื่องการมีสิทธิ์ออกเสียงด้วย

กระนั้น ก็ดีกองทุนไทยทรัสต์ฟันด์ก็ยังเป็นทางเลือกหนึ่งของนักลงทุนต่างประเทศ และถูกกฎหมายด้วย แต่ ที่ไม่ค่อยเป็นข่าวดีเพราะเกิด "ผิดเวลา" เท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us