Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540
พันธบัตร 900 ล้านบาทของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร             
 


   
www resources

โฮมเพจ รถไฟฟ้ากรุงเทพ

   
search resources

องค์การรถไฟฟ้ามหานคร
ธีระพงษ์ อรรถจารุสิทธิ์
Transportation




โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2517 แต่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างเมื่อ 2535 ในสมัยของนายก อานันท์ ปันยารชุน ซึ่งได้มีการก่อตั้ง "องค์การรถไฟฟ้ามหานคร" หรือ "รฟม." ขึ้น เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อรับผิดชอบการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลโดยตรง พร้อมกับจ้าง PROFESSOR TONY M. RIDLEY จาก IMPERIAL COLLEGE OF SCIENCE AND MEDICINE ประเทศอังกฤษมาปรับแผนการดำเนินงานโครงการนี้

"ผลที่ได้ออกมา ก็คือ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าใหม่เป็น โครงการในระยะแรกเริ่มที่ หัวลำโพง-ศูนย์ประชุมฯ สิริกิติ์ บางซื่อ (แผนภาพ : สายสีน้ำเงิน) โดยมีระยะทางประมาณ 20 กม. เพื่อสอดคล้องกับรถไฟฟ้าธนายง และโฮปเวลล์" ธีระพงษ์ อรรถจารุสิทธิ์ ผู้อำนวยการ รฟม. เปิดเผย

สำหรับแผนในการดำเนินงานนั้น เขาเล่าว่า รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนในส่วนงานที่เกี่ยวกับงานโยธา ซึ่งได้แก่ งานก่อสร้างอุโมงค์สถานีใต้ดินและศูนย์ซ่อมบำรุง พร้อมทั้งงานจัดหาและติดตั้งลิฟต์ บันไดเลื่อน และงานวางรางรถไฟ

ในส่วนของเอกชนจะลงทุนในส่วนระบบของรถไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยงานจัดหา ผลิต ติดตั้ง และตรวจสอบตัวรถ ระบบสัญญาณ และการสื่อสาร ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้า และระบบจำหน่ายตั๋วและตรวจตั๋วอัตโนมัติ

"ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมดนี้ จะเริ่มขึ้นในต้นปี '40 นี้ พร้อมทั้งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี '44 หลังจากนั้นก็จะทำการทดลองเดินรถอีกประมาณ 6 เดือน และพร้อมให้บริการแก่ประชาชนได้ในปลายปี '45" ธีระพงษ์มั่นใจ

สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการโครงการนี้ คิดเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 80,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุนในส่วนงานโยธาที่รัฐเป็นผู้รับผิดชอบประมาณ 69,000 ล้านบาท โดยรัฐมีแผนที่จะระดมเงินทุนส่วนนี้จากเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) ประมาณ 60% ซึ่งขณะนี้ ทาง รฟม. ได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้กับ OECF แล้วเป็นจำนวน 6,330 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนก่อสร้างระยะแรก (เส้นสีน้ำเงิน) และที่เหลืออีก 40% จะกู้ภายในประเทศ ส่วนเงินลงทุนที่เหลืออีกประมาณ 11,000 ล้านบาท เป็นส่วนของเอกชนที่จะรับผิดชอบไป

ซึ่ง รฟม. ก็ประเดิมการกู้เงินภายในประเทศด้วยการออกพันธบัตร อายุ 5 ปี จำนวน 900 ล้านบาท โดยผู้ที่ชนะการประมูล ก็คือ กลุ่มพันธมิตรซิทก้า ซึ่งประกอบด้วย บงล.ซิทก้า ธนาคารทหารไทย ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารนครธน ทำหน้าที่เป็นแกนนำในการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายพันธบัตร องค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ. 2540 ครั้งที่ 1

สาเหตุที่ทำให้กลุ่มพันธมิตรซิทก้าชนะการประมูลในครั้งนี้ ก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่เสนอไปอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจกับทุกฝ่าย คือ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 8.66% ต่อปี

"เนื่องจากเป็นการประมูล เราต้องพิจารณาทั้ง 2 ส่วน คือ อัตราดอกเบี้ยของตลาดว่า เราจะรับต้นทุนนั้นได้ไหม ในขณะเดียวกันเราก็คาดเดาว่าคู่แข่งเขาจะประมูลที่ราคาเท่าไร ดังนั้น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยก็ต้องให้สอดคล้องกัน คือ เราต้องไม่ขาดทุนและขณะเดียวกันก็เป็นผู้ชนะการประมูลด้วย" สุวรรณ ศิริสุนทรเลิศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายบริหารเงินทุน บงล. เปิดเผยพร้อมทั้งกล่าวว่า

"จุดแข็งในการประมูลพันธบัตรโดยทั่วไปแล้วมี 2 อย่าง คือ เรื่องการกำหนดราคา และศักยภาพในการจัดจำหน่าย ซึ่งเรามีจุดแข็งในเรื่องนี้อยู่แล้วจากการที่เรามีฐานลูกค้ามาก ประกอบกับเราได้ผนึกกำลังกับพันธมิตรของเราอีก 10 รายทำให้เรามีช่องทางในการจำหน่ายที่ดีนั่นเอง"

สำหรับเงินทุนที่ได้จากการจำหน่ายพันธบัตรครั้งนี้ รฟม. จะนำไปใช้เป็นค่าว่าจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการ และค่าว่าจ้างผู้ออกแบบ รวมถึงค่าก่อสร้างโครงสร้างใต้ดินช่วงหัวลำโพงถึงห้วยขวาง ซึ่งเป็นส่วนของโครงการในระยะแรก รวมถึงสายหัวลำโพง-ศูนย์ประชุมฯ สิริกิติ์-บางซื่อด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us