Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 พฤศจิกายน 2548
SCBตั้งเป้าสินเชื่อโต8%เสนอบอร์ดอนุมัติธ.ค.นี้             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
Banking and Finance




ธนาคารไทยพาณิชย์ เตรียมเสนอแผนธุรกิจให้บอร์ดพิจารณาเดือนหน้า ก่อนเดินหน้าลุยธุรกิจเต็มที่ เบื้องต้นวางเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมเป็น 40%ของรายได้ทั้งหมด เน้นปล่อยสินเชื่อตามภาวะเศรษฐกิจ คาดสินเชื่อปีหน้าขยายเพิ่ม 7-8% หรือประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ขณะที่เศรษฐกิจโดยรวมคงจะใกล้เคียงหรือดีกว่าปีนี้เล็กน้อย ปัจจัยเสี่ยงยังเป็นราคาน้ำมัน

คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารอยู่ระหว่างการทำแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2549 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาภายในเดือนธันวาคมนี้ โดยในเบื้องต้นการประเมินตัวเลขเศรษฐกิจรวมทั้งเป้าหมายต่างๆ ของแผนการดำเนินงานในปีหน้าจะใกล้เคียงหรือขยายตัวดีกว่าปี 2548 นี้เล็กน้อย

ทั้งนี้ เป็นเพราะปัญหาต่างๆ เช่นเรื่องของราคาน้ำมันอาจจะดูไม่รุ่นแรงเท่ากับปีนี้ รวมทั้งความพยายามของรัฐบาลที่จะกระตุ้นให้ภาพรวมของเศรษฐกิจดีขึ้น ทั้งในส่วนของการค้าระหว่างประเทศที่จะกระตุ้นการส่งออก และการท่องเที่ยวในช่วงปลายปีนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น

สำหรับภาพโดยรวมของดุลการค้า การบริการ และดุลการชำระเงิน ซึ่งเป็นที่จับของหลายฝ่ายนั้น คาดว่าจะขาดดุลลดน้อยลงในปีหน้า สภาพคล่องภายในประเทศก็จะเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุล ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยทั้งระยะสั้นและระยะยาวก็จะมีการปรับตัวตามเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศพยายามที่จะกระตุ้นการส่งออก การท่องเที่ยวก็อยู่ช่วงปลายปี ทำให้เศรษฐกิจน่าจะดีขึ้นแน่ในปีหน้า โดยคาดว่าในปีหน้าภาคการลงทุนของภาคเอกชนและรัฐบาลจะเป็นตัวเด่นที่เน้นให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น

ในส่วนของการดำเนินธุรกิจนั้นธนาคารไทยพาณิชย์ได้วางแผนงานปีในปี 2549 ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆ รวมถึงการปล่อยปล่อยสินเชื่อ ที่ภายในปี 2549 คาดว่าจะปล่อยกู้ประมาณ 8 -9 % ซึ่งคิดเป็นเม็ดเงินประมาณกว่า 50,000 ล้านบาท โดยก็จะพยายามระดมเงินฝากให้สอดคล้องกับการปล่อยสินเชื่อด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้านสัดส่วนรายได้ของธนาคารนั้นเป็นรายได้จากดอกเบี้ย 62% และรายได้ค่าธรรมเนียม 38% ในปี 2548 และในปี 2549 ได้วางแผนตั้งเป้าสัดส่วนรายได้ไว้ที่รายได้จากดอกเบี้ย ประมาณ 60% และรายได้ค่าธรรมเนียม 40% โดยรายได้จากค่าธรรมเนียมส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มลูกค้าภาคบุคคลและภาคการค้า

ส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อเกิดรายได้ (NPL) ณ ปัจจุบัน มีประมาณกว่า 60,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 11% ของสินเชื่อรวมที่มีทั้งหมดอยู่ประมาณ 5.8 แสนล้านบาท ซึ่งในส่วนของ NPL ของธนาคารแยกเป็นหนี้จาก BTS ประมาณ 3,200 ล้านบาท คิดเป็น 5% ของ NPL ทั้งหมดที่ธนาคารมี และธนาคารได้มีการตั้งสำรองหนี้ไว้ 3,200 ล้านบาทหรือ 100%

สำหรับกรณีของบมจ. กฟผ. ที่ไม่สามารถกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้นั้น สำหรับธนาคารนั้นไม่มีผลกระทบในการดำเนินงานของธนาคาร แม้ว่าธนาคารจะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของ บลจ. กฟผ เพราะว่าปัจุจปันในส่วนรายได้ของธนาคารนั้นได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท เมือเทียบกับรายได้จาก กฟผ ถือว่าน้อย ซึ่งถึงแม้ธนาคารไม่ได้รายได้จาดส่วนนี้ธนาคารเองก็มีรายได้จากส่วนอื่นเข้ามาเช่นกัน เรื่องของกฟผ. อาจะต้องรอจังหวะที่เหมาะสม โดยน่าจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อจัดการเรื่องนี้เพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน เพราะถือว่าเป็นสินค้าสาธารณูปโภค คงก็ต้องมีการทำความเข้าในและปูพื้นฐานให้ทุกๆ ฝ่ายเข้าใจ

ส่วนของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อบริหารหนี้จากธนาคารของภาครัฐและภาคเอกเชนนั้นตนยังไม่เห็นรายละเอียดใดๆ และยังไม่มีความแน่ในใจหลักการ แต่หนี้ของธนาคารรัฐบาลน่าจะเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่ทางบสท. จะต้องจัดการเพราะว่า หนี้ของธนาคารเอกชนในแต่ละองค์กรมีการจัดตั้งหน่วยขึ้นมาบริหารจัดการแก้ไขส่วนนี้อยู่แล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us