เมเจอร์ ทุ่มทุน 1,000 ล้านบาท สร้างโรงหนังแนวใหม่ระดับหรูหราในโครงการสยามพารากอน
มั่นใจช่วยสร้างพลังให้สยามพารากอนแข่งขัน กับศูนย์การค้าชั้นนำระดับโลกได้
เผยเตรียมจับมืออีจีวี เอสเอฟ ซีเนม่า กระตุ้น ตลาดแห่งความบันเทิงในย่านสี่แยกปทุมวันไปจนถึง
ดิ เอ็ม โพเรียม เพื่อดึงกลุ่ม นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาชมภาพยนตร์ในเมืองไทย
นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธาน กรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนี เพล็กซ์
กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผย ว่า เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้ใช้เงินลงทุน ประมาณ
1,000 ล้านบาท เพื่อทำโครงการ Master Piece ที่แตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ ในโครงการสยาม
พารากอน และจะใช้ชื่อใหม่เพื่อให้แตกต่างจากโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
ในปัจจุบัน
สำหรับโรงภาพยนตร์ในสยามพารากอน มีพื้นที่ 20,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยโรงภาพยนตร์
16 โรง รองรับผู้ชมได้กว่า 5,500 ที่นั่ง ซึ่งนับเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดของเมเจอร์
จากปกติในแต่ละสาขาจะจุผู้ชมได้เพียง 4,000-4,500 ที่นั่งเท่านั้น นอก จากนี้ยังมีโรงภาพยนตร์จอยักษ์
IMAX 3 มิติ กว่า 600 ที่นั่ง เมเจอร์โบว์ ระดับหรูหรากว่า 52 เลน
ส่วนที่เป็นไฮไลต์ของโรงภาพยนตร์ก็คือ โรงภาพยนตร์แกรนด์ เธีย-เตอร์ ที่จุดได้
1,200 ที่นั่งที่ออกแบบให้มี Private Balcony สามารถนั่งได้ 200 ที่นั่ง
สำหรับรับรองแขกสำคัญระดับประเทศ โดยจะมีห้องรับรองและลิฟต์ขึ้น-ลงเฉพาะ
รวมทั้งระบบ รักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดด้วย
ด้านบรรยากาศของการออก แบบ จะใช้ผู้ออกแบบที่มีมาตรฐานเดียวกับโกดัก เธียเตอร์
ในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นสถานที่ใช้จัดงานออสการ์ คาดว่าจะสามารถดึงดูดคนให้เข้า
มาชมภาพยนตร์ในที่แห่งนี้ได้ไม่น้อยกว่า 3-3.5 ล้านคนต่อปี และจะเน้นที่กลุ่มนักท่องเที่ยว
30-40%
ทางด้านนางชฎาทิพ จูตระกูล ผู้บริหารสูงสุด บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์
จำกัด เปิดเผยถึงเหตุผลที่เลือกกลุ่มเมเจอร์ เข้ามาดำเนินการในส่วนของโรงภาพยนตร์ว่า
เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความตั้งใจสูงที่จะร่วมพัฒนาโครงการนี้ให้เป็นสุดยอดของศูนย์การค้าและศูนย์รวมความบันเทิงในประเทศไทย
และยังจะตั้งชื่อโรงภาพยนตร์ใหม่ เพื่อยกระดับให้เป็นโรงภาพยนตร์ที่เหนือกว่า
โรงภาพยนตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้ง การนำเสนอรายละเอียดของโครงการที่น่าสนใจ
ซึ่งแต่เดิมทางสยามพารากอนได้เตรียมพื้นที่ในส่วนของโรงภาพยนตร์ไว้เพียง
10,000 ตารางเมตร แต่จากการนำเสนอโครงการของกลุ่มเมเจอร์ที่ต้องการทำให้ยิ่งใหญ่และดีที่สุดในเอเชีย
และดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จึงขอเพิ่มพื้นที่เป็น 20,000 ตารางเมตร
จากการที่กลุ่มเมเจอร์เข้ามา บริหารโรงภาพยนตร์ในสยามพารากอน ในครั้งนี้
คาดว่าในระยะเวลาอันใกล้นี้ ทางกลุ่มผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ทั้ง 3 ราย รวมทั้งผู้บริหารศูนย์การค้า
อันประกอบด้วย มาบุญครอง ซึ่งมีโรงภาพยนตร์ เอส เอฟ ซีเนม่า สยาม ดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์
มีอีจีวี สยามพารากอน มีเมเจอร์ และดิ เอ็มโพเรียม มีเอสเอฟ ซีเนม่า ซึ่งในปี
2546 เอสเอฟ จะเข้าปรับโฉมสาขาเอ็มโพเรียมครั้งใหญ่ จะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม
การขายร่วมกัน
"ปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจโรงภาพยนตร์จะไม่มีแล้ว เพราะมีผ่าน มาเราพยายามที่จะเลี่ยงการแข่งขันทางตรง
เช่น ไม่เปิดในพื้นที่ใกล้เคียง กัน ไม่ใช้กลยุทธ์ราคา รวมทั้งการวาง ตำแหน่งทางการค้าที่แตกต่างกันออกไป
เพื่อให้โรงภาพยนตร์ของแต่ละค่าย มีความหลากหลายให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งวิธีนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการเกื้อหนุน
ให้แต่ละรายช่วยกันกระตุ้นให้ธุรกิจ โรงภาพยนตร์มีการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกป"
นางสาวศุภลักษณ์ อัมพุช รองประธานกรรมการ บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์
จำกัด กล่าวเสริม ว่า นอกเหนืกจากโรงภาพยนตร์ที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของThe
Paragon World of Entertainment แล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่นๆได้แก่ โรงละครมาตรฐานระดับโลก
พื้นที่ 5,000 ตารางเมตร มูลค่า 300 ล้านบาท, รอยัล พารากอน ฮอลล์ ซึ่งเป็นห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ที่ใหญ่กว่าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
มีพื้นที่ 4,000 ตารางเมตร มูลค่า 250 ล้านบาท , ยิมและฟิตเนส เซ็นเตอร์
พื้นที่ 4,000 ตารางเมตร มูลค่าเกือบ 100 ล้านบาท โดยกลุ่มแคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส
จะเข้ามาบริหาร, The Explorium ศูนย์ รวมความบันเทิงของครอบครัว พื้นที่
5,000 ตารางเมตร และเอ็ดดูเทนเมนต์ ศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้และการสร้างสรรค์
พื้นที่ 10,000 ตารางเมตร ซึ่งหากรวมศูนย์รวมความบันเทิงทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้วจะมีมูลค่าโครงการรวม
2,000 ล้านบาท