เอชพีเปิดแนวรุกตลาดไอทีปี 2546 ด้วย 3 กลยุทธ์ หลักเน้นเรื่องของการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง
โฟกัสในสิ่งที่มี ความเชี่ยวชาญและบุกกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์ควบคู่ไปกับการบริการ
ส่วนช่องทางในการทำตลาดยังเน้นผ่านคู่ค้ากว่า 90% พร้อมโชว์ผลประกอบการรอบปี
2545 มียอดขายสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 10%
นายเชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ กรรมการผู้จัดการและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์องค์กร
ขนาดใหญ่ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัดหรือเอชพีกล่าวถึงนโยบายและกลยุทธ์ในการทำตลาดรอบปี
2546 ว่าสิ่งที่เอชพีจะใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันจะเน้น 3 เรื่องหลักคือ
1.การ สร้างความแตกต่างในเรื่องของผลิต ภัณฑ์บริการ คุณภาพ และ เทคโนโลยี
2.การให้ความสำคัญหรือโฟกัสเข้าไปในคีย์เซกเมนต์ โดยเลือกในสิ่งที่มีความเชี่ยวชาญและถนัดและ3.บุกตลาดเอ็นเตอร์-ไพรซไปพร้อมกับเรื่องการบริการที่แบ่งออกเป็น
5 ส่วนประกอบด้วย
1.Adaptive Infrastructure ซึ่งเป็นการรับมือกับระบบปฏิบัติการหรือโอเอสได้ทุกรูปแบบ
เพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง 2.Utility Computing ซึ่งเอชพีได้ดำเนินการ
มาแล้ว 2 ปี 3.Zero Latency Enterprize ซึ่ง เป็นการทำให้ระบบไอทีสามารถทำงานได้ต่อเนื่องไม่มีล่ม
4.Outsourcing และ5.Solution-led Integration เพื่อนำเสนอโซลูชั่นให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและตลาด
สำหรับการทำธุรกิจของเอชพีแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1.กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์องค์กรขนาดใหญ่2.กลุ่มธุรกิจการบริการ
3.กลุ่มผลิตภัณฑ์ต่อพ่วงและการพิมพ์และ 4.กลุ่มผลิตภัณฑ์ เพอร์ซันแนล ซิสเต็มส์
การทำตลาดในปีหน้า ทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจจะร่วมมือในการที่จะบุกตลาดทุกประเภทด้วยโซลูชั่น
และการให้บริการที่ครบวงจรขณะเดียว กันจะมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ นำเสนอให้ลูกค้า
ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นระดับองค์กรขนาดใหญ่ วิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอี
รวมถึงกลุ่มคอนซูเมอร์
"ตอนนี้เราบริหารแบบวันทีม ไม่มีการแบ่งแยกว่าใครมาจากเอชพี ใครมาจากคอมแพคซึ่งปีหน้าจะบุกตลาดต่อเนื่องขึ้น
โฟกัสภาครัฐและรัฐวิสาหกิจมากขึ้น รวมถึงแบงกิ้ง ไฟแนนซ์และธุรกิจโทรคมนาคม"
ปีหน้าเอชพียังคงมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับลูกค้า และพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องซึ่งเอชพีมีนโยบายที่ชัดเจน
ในการที่จะโตไปพร้อมกับคู่ค้าเพราะการทำตลาดของเอชพี 85-90%เป็นการขายผ่านคู่ค้า
จึงจำเป็นต้องดูแลคู่ค้าให้ดี
นายเชิดศักดิ์กล่าวว่าปีที่ผ่านมาธุรกิจมีการ แข่งขันสูงมาก แต่เอชพีสามารถสร้างผลงานและผลประกอบการได้ตรงตามเป้าหมาย
และมียอดขายสูงกว่าเป้าที่วางไว้10% จากที่มีการประเมินในระยะแรกว่าหลังจากรวมกิจการกับคอมแพคแล้วจะทำให้ยอดขายลดลง
10% เนื่อง จากผลิตภัณฑ์หายไปหลายอย่าง สำหรับปัจจัยที่ทำให้เอชพีมียอดขายสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้
เพราะมีต้นทุนลดลง เนื่องจากมีการปลด พนักงานออกบางส่วน ซึ่งปัจจุบันเอชพี(ประเทศไทย)
มีพนักงานประมาณ 400 คน
ส่วนผลประกอบการในรอบปี 2545 มาจากกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์องค์กรขนาดใหญ่
19% กลุ่มธุรกิจการบริการ 12% และเอชพีมีนโยบายที่จะสร้างรายได้จากกลุ่มนี้มากขึ้น
กลุ่มผลิต ภัณฑ์ต่อพ่วงและการพิมพ์ 32% กลุ่มนี้มีอัตราการเติบโตมาก กว่า
20% เมื่อเทียบกับรอบปี 2544
กลุ่มผลิตภัณฑ์เพอร์ซันแนล ซิสเต็มส์ 35% ซึ่งในปีหน้ากลุ่มนี้จะดำเนินแผนการตลาดเชิงรุกและยังเน้นการร่วมมือกับคู่ค้าและพาร์ตเนอร์ในการนำเสนอโซลูชั่นให้กับลูกค้าต่อไป
โดยเน้นการนำผลิตภัณฑ์ไประยุกต์ใช้ร่วมกับแอปพลิเคชั่นต่างๆ ให้เกิดประโยชน์และสาระกับผู้ใช้มากขึ้นและคาดว่าในรอบปี
2546จะมีอัตราการเติบโตประมรณ 25% เนื่องจากจะมีการ นำผลิตภัณฑ์พร้อมเทคโนโลยีใหม่ๆออกวางตลาดอย่างต่อเนื่อง
เพื่อตอบสนองความต้อง การครบทุกด้านในตลาดโซลูชั่นพกพารวมทั้งที่เป็นเครื่องเวิร์กสเตชั่น
ด้านช่องทางการจำหน่าย เอชพีได้มีการปรับโครงสร้างอย่างชัดเจน โดยกลุ่มเพอร์ซันแนล
ซิสเต็มส์ จะดูแลตัวแทนจำหน่ายค้าส่งและตัวแทนจำหน่ายค้าปลีกสำหรับองค์กรธุรกิจ
ซึ่งปัจจุบันเอชพีได้แต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายค้าส่งทั้งหมด 5 รายได้แก่ ดิจิแลนด์(ประเทศไทย),เดอะ
แวลู ซิสเต็มส์,เทค แปซิฟิก (ประเทศไทย),นิวซิสเต็มส์ คอนซัลแตนท์และเอสไอเอส
ดิสทริบิวชั่น
พร้อมกันนี้ได้แต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายสำหรับตลาดองค์กรอีก 7 รายคือพารา
แอดวานซ์ อินโฟเทค,ซีดีจี ไมโครซิสเต็มส์,ล็อกซเล่ย์, เมโทรซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น,โมเดิร์นฟอร์ม
อินทริเกรชั่น เซอร์วิสเซ็ส,ริโก้(ประเทศไทย)และเอสวีโอเอ