RPC ประกาศรุกธุรกิจทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเตรียมศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงกลั่นขนาด 1.5-2 หมื่นบาร์เรลที่ไทยและเวียดนาม ซึ่งใช้น้ำมันดิบและคอนเดนเสท เรสสิดิวเป็นวัตถุดิบ ลั่นจะเข้าไปใช้สิทธิซื้อหุ้น 50% ในสยามกัลฟ์ปิโตรเคมีคัลภายใน 1 ปีหลังโรงงานเดิน เครื่องฉลุยลดความเสี่ยงด้านวัตถุดิบหมด มั่นใจปีนี้รายได้ทะลุเป้า 1,300 ล้านบาท และเตรียมกู้เงินเพิ่มรองรับการขยายงาน
นายศุภพงศ์ กฤษณกาญจน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) (RPC) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้และวัตถุดิบในการตั้งโรงกลั่นในไทยอีก 2 แห่งที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ขนาด กำลังการผลิต 1.5-2 หมื่นบาร์เรล/วัน โดยจะใช้เงินลงทุนแห่งละ 1 พันล้านบาท คาดว่าจะได้ข้อสรุปเบื้องต้นในปี 2549
"โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจากับบริษัทปุ๋ยเอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน) และผู้ประกอบการรายหนึ่งที่สนใจจะร่วมกันทำโรงกลั่นขนาดกลาง ซึ่ง NFC มีที่ดินยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็อยากใช้ที่ดินนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปปีหน้า"นายศุภพงศ์กล่าว
นอกจากนี้ RPC ยังมีแผนจะเข้าไปถือหุ้นในบริษัท สยามกัลฟ์ ปิโตรเคมีคัล จำกัด (SGPC) จำนวน 50%ของหุ้นทั้งหมด หลังจากที่สยามกัลฟ์ฯสามารถเดินเครื่องจักรได้ดี ทำให้ RPC มีวัตถุดิบเพียงพอที่จะป้อนโรงกลั่น ทำให้ความเสี่ยงด้านวัตถุดิบที่รับจาก บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC)หมดไป โดย SGPC จะเริ่มเปิดดำเนินการผลิตในวันที่ 10 ธันวาคมศกนี้ และจะเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตได้กลางปี 2549
ส่วนเงินลงทุนที่ใช้ในการเข้าไปถือหุ้นใน SGPC นั้น กำลังพิจารณา วงเงินอยู่ เนื่องจากจะต้องชำระค่าหุ้นตามสัดส่วน 50% และค่าใช้จ่ายอื่นๆในโครงการที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ ซึ่งตัวเลขที่ชัดเจนยังไม่สรุป
"SGPC สามารถป้อนวัถตุดิบใน RPC ได้ 5,000-17,000 บาร์เรล/วัน ขึ้นอยู่กับใช้น้ำมันดิบหรือคอนเดนเสท เป็นวัตถุดิบ ซึ่งเดิมเราออกแบบโรงกลั่น SGPC เพื่อป้อนวัตถุดิบให้เรา ทำให้ไม่มีความเสี่ยงจากการซื้อคอนเดนเสท เรสสิดิว จากATC ที่จะหมด อายุสัญญาซื้อขายในอีก 7 ปีข้างหน้า"
ก่อนหน้านี้ RPC ได้เข้าไปถือหุ้นใน SGPC 50% แต่เนื่องจาก SGPC ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้าง ได้ซึ่งจะมีแผนผลกระทบต่อการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯของ RPC ดังนั้น จึงได้ตัดสินใจขายหุ้นดังกล่าวทั้งหมด โดยมีเงื่อนไขว่า RPC มีสิทธิที่จะซื้อหุ้น SGPC สัดส่วน 50% ภายใน 1 ปีนับจากโรงงาน SGPC เริ่มเปิดดำเนินการ และรับซื้อคอนเดนเสท เรสสิดิวจาก SGPC จำนวน 5,000 บาร์เรล/วัน ซึ่งจะทำให้ RPC สามารถเดินเครื่องโรงกลั่นได้เต็มกำลังการผลิตที่ 1.7 หมื่นบาร์เรล/วันได้ จากปัจจุบันที่เดินเครื่องโรงกลั่นเพียง 1.1-1.2 หมื่นบาร์เรล/ วัน
หากบริษัทตัดสินใจเข้าไปลงทุน สร้างโรงกลั่นเพิ่มเติมและถือหุ้นใน SGPC จะทำให้ RPC เป็นผู้ผลิตปิโตรเลียมและปิโตรเคมีขนาดกำลังการผลิต 1 แสนบาร์เรล/วัน จากปัจจุบันที่มีกำลังกลั่นน้ำมัน 1.7 หมื่น บาร์เรล/วัน สำหรับแหล่งเงินทุนนั้นไม่มีปัญหา เนื่องจากบริษัทฯมีภาระหนี้ อยู่ประมาณ 125 ล้านบาท และคาดว่าปีหน้าจะชำระคืนหนี้ทั้งหมด จึงมีความสามารถในการกู้เงินกว่า 3 พันล้านบาท ปัจจุบัน RPC มีทรัพย์สิน 3,500 ล้านบาทและมีทุน 1,300 ล้านบาท โรงกลั่นในเวียดนามเดินเริ่มผลิตปี 49
สำหรับความคืบหน้าโครงการโรงกลั่นขนาดเล็กในเวียดนามนั้น (VTN-P) ขนาดกำลังการกลั่น 2,000 บาร์เรล/วัน จะเริ่มดำเนินการได้ต้นปี 2549 หลังจากต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ บางตัวที่มีปัญหา คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 30-40 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อ โครงการก่อสร้างโรงกลั่นนำร่องประสบความสำเร็จด้วยดี บริษัทก็มีแผนจะสร้างโรงกลั่นขนาดใหญ่ 2 หมื่น บาร์เรลในเวียดนามเพิ่มเติมอีก โดยน้ำมันที่ผลิตได้จะเน้นจำหน่ายในเวียดนาม และส่งออกไปยังกัมพูชา
นายศุภพงศ์ กล่าวต่อไปว่า ในปีหน้า บริษัทฯมีนโยบายที่จะเน้นธุรกิจ เทรดดิ้งเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีรายได้จากเทรดดิ้งประมาณ 800-1,000 ล้านบาท โดยจะขยายเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าจากปัจจุบัน รวมทั้งยังให้ความสำคัญในการบุกตลาดค้าปลีกน้ำมันภายใต้แบรนด์ "PURE" ซึ่งปีนี้จะมีปั๊มน้ำมันเพิ่มเป็น 30 แห่ง โดยจะเปิด ปั๊มน้ำมันเพียวแห่งแรกในกรุงเทพฯที่ หน้าหมู่บ้านสัมมากร สุขาภิบาล 3 ใน วันที่ 26 พฤศจิกายนนี้
นายสุมิตร ชาญเมธี กรรมการบริหาร RPC กล่าวว่าการรุกตลาดค้าปลีกครั้งนี้ถือว่าเป็นการทำที่สวนกระแส เพราะมีแต่ผู้ประกอบการจะถอนตัวออกไป เนื่องจากที่ผ่านมา การ ลงทุนค้าปลีกน้ำมันของไทยเป็นการลงทุนที่เกินตัว และราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นทำให้ต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ค่าการตลาดค่อนข้างต่ำ
อย่างไรก็ตาม RPC ตั้งเป้าที่จะเพิ่มสถานีบริการน้ำมันให้ครบ 100แห่ง ภายในปี 2550 โดยตั้งงบประมาณในการทำธุรกิจค้าปลีกในปีหน้า 75 ล้านบาท เพื่อขยายปั๊มเพิ่มอีก 30 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเข้าไปปรับปรุงปั๊มน้ำมันที่มีอยู่เดิม โดยเน้น ร่วมธุรกิจกับเจ้าของปั๊มเดิม ทำให้ใช้เงินลงทุนต่อปั๊มเพียง 2-2.5 ล้านบาท และในปีถัดไปจะใช้ทุนอีก 100 ล้านบาท เพื่อขายสาขาเพิ่มเป็น 100 แห่งตามเป้าหมายด้วย
สำหรับผลการดำเนินงานกำไรสุทธิไตรมาส 3 ปีนี้มี 125.95 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มี 169.61 ล้านบาท ขณะที่งวด 9 เดือนบริษัทมีกำไรสุทธิ 398.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มี 367.50 ล้านบาท อันเป็นผลจากบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นจากงวดเดียว กันของปี 47 ถึง 44% กล่าวคือมีรายได้ 10,276 ล้านบาท หรือกำไรเพิ่ม 2,949 ล้านบาท จากยอดขายทั้งในประเทศและที่ส่งออกจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
โดยเป็นผลดีจากราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้น และการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ต้นทุนต่ำลง อีกทั้งเพิ่ม ช่องทางการจำหน่ายสินค้า จากการเพิ่ม สถานีบริการน้ำมันเพียวในครึ่งปีหลัง 6 แห่ง และมั่นใจว่าปีนี้จะโกยรายได้ทะลุ 1,300 ล้านบาท จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ยังไม่ปรับลด
|