บีอีซีเทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ธุรกิจบันเทิงในเครือข่ายของ บีอีซีเวิลด์ ผู้รับสัมปทานโทรทัศน์ช่อง
3 นับเป็นผู้ให้บริการอีกรายที่นำอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ ในรูปแบบของการเพิ่มความสะดวก
การเข้าสู่อินเตอร์เน็ตของบีอีซี เทโร เป็นการลงขันร่วมทุนกับกลุ่มสามารถคอร์ปอเรชั่น
จัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า ไทยทิกเก็ตมาสเตอร์ มีสัดส่วนการร่วมทุน
60:40 ทำธุรกิจรับจองบัตรคอนเสิร์ต การแสดงต่างๆ และอาจรวมไปถึงตั๋วภาพยนตร์
ด้วยเงินลงทุนขั้นต้น 10 ล้านบาท ที่ใช้เป็นค่าอุปกรณ์ต่างๆ ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์
"ผมต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นประจำ ที่เมืองนอกเขามีบริษัท ทิกเก็ต มาสเตอร์
ขายตั๋วออนไลน์ เราก็เลยมานั่งคุยกันกับคุณธวัชชัย วิไลลักษณ์ ของสามารถ
ซึ่งเขาก็เคยทำระบบขายตั๋วออนไลน์ ในงานเอเชียนเกมส์อยู่แล้ว ก็เลยมาร่วมมือกัน"
ไบรอัน แอล มาร์กา กรรมการผู้จัดการ บริษัทบีอีซี เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
เล่าถึง ที่มา
การร่วมทุนของทั้งสอง จึงเป็นการใช้จุดแข็งของทั้งสองร่วมกัน เพราะกลุ่มสามารถในเวลานี้กำลังเบนเข็มไป
ที่ธุรกิจอินเตอร์เน็ต การร่วมทุนกับบีอีซีเทโร เป็นส่วนหนึ่งของแผนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ
ส่วนบีอีซีเทโร จะได้ใช้ประโยชน์ จากบริษัทร่วมทุนแห่งนี้โดยตรง อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการจองตั๋วคอนเสิร์ตง่ายขึ้นจากเดิม
ที่ต้องไปซื้อบัตร ที่เคาน์เตอร์ขายตั๋วตามจุดต่างๆ โดยไม่รู้ว่าจะได้นั่งบริเวณใด
รูปแบบของบริการนี้ จะแบ่งออก เป็น 2 กรณี ในกรณี ที่ลูกค้ามีคอมพิวเตอร์
เป็นการให้บริการจองตั๋วทางอินเตอร์เน็ต ให้ลูกค้าสามารถจองตั๋วออนไลน์ทางเว็บไซต์
thaiticketmaster.com ลูกค้าจะเลือก ที่นั่งตาม ที่ต้องการจากหน้าจอคอมพิวเตอร์
แต่บริการนี้ยังไม่สามารถให้บริการครบวงจร ทำได้แค่จองตั๋ว เพราะลูกค้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าบัตรคอนเสิร์ตได้
ลูกค้ายังต้องเดินทางไปชำระเงิน ที่จุดบริการของไทยทิกเก็ตมาสเตอร์ ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
6 แห่ง และร้านของดิจิตอลโฟน ของกลุ่มสามารถ 4 แห่ง
"ในแง่ของระบบการชำระเงินทางอินเตอร์เน็ต ต้องรอไปก่อน เพราะเมืองไทยเองยังไม่พร้อม
ระบบยังไม่ปลอดภัย และการสั่งซื้ออาจมีปัญหา เราต้องทำแค่การจองตั๋วไปก่อน"
ไบรอัน กล่าว
ส่วน ที่สอง ในกรณี ที่ลูกค้าไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือไม่ได้ต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ต
จะต้องไปจองบัตร ที่จุดบริการดังกล่าว โดยสามารถเลือกจอง ที่นั่งได้เหมือนกับคนที่จองผ่านเว็บไซต์
เพราะจุดบริการทั้ง 10 แห่ง จะติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ และมีเครื่องพรินเตอร์ในการออกตั๋ว
ไบรอันบอกว่า บริการนี้นอกจากจะให้บริการแก่บีอีซีเทโร ซึ่งเป็นลูกค้าหลักแล้ว
ยังเปิดให้บริการลูกค้าอื่นๆ ที่จะมาใช้บริการตั๋วออนไลน์ โดยจะคิด ค่าบริการในอัตรา
8% ของยอดขายบัตร
จะว่าไปแล้ว นอกเหนือจากความสะดวก ที่จะให้กับลูกค้าในการจองตั๋วคอนเสิร์ตแล้ว
สิ่งที่บีอีซีเทโรจะได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากการลงทุนในครั้งนี้ ก็คือ
การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้จากการขายตั๋วออนไลน์ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของการวางแผนตลาด
และการส่งเสริมการขายอีกต่อหนึ่ง
"เราจะรู้ข้อมูลแต่ละวันเลยว่า เวลานี้เราขายไปได้เท่าไหร่แล้ว อย่างกรณีของ
คอนเสิร์ต ดิสนีย์ออนไอซ์ ตั๋วราคา 200 บาท เราจะรู้ทันทีว่า ยอดขายแต่ละวันเป็นยังไง
ช่วงไหนขายได้น้อย เราก็จะได้มีการทำโปรโมชั่น หรือทำกิจกรรมเสริมการขาย
เพื่อกระตุ้นยอดขาย ซึ่งแต่เดิมเราจะทำไม่ได้เลย เพราะกว่าจะรู้ว่าขายได้เท่าไหร่ก็ต้องรอเช็กจากยอดขายตั๋ว
ที่ขายได้ทั้งหมดก่อน" ไบรอันเล่า
ขณะเดียวกัน บีอีซีเทโรจะอาศัย เว็บไซต์ thaiticketmaster.com เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์
เป็นเครื่องมือทางการตลาด เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ในการจัดกิจกรรมการตลาดร่วมกับลูกค้า
ข้อมูลในเว็บไซต์นี้ จะมาจากฐาน ธุรกิจของบีอีซีเทโร ที่มีตั้งแต่การสร้างภาพยนตร์
ผลิตละคร เกมส์โชว์ เพลง และคอนเสิร์ต รวมถึงกีฬา ที่บีอีซีเทโร เป็นผู้สนับสนุนทีมฟุตบอลไทย
"ข้อมูลเราใส่เกมส์โชว์ กีฬา เรา ใส่หมด มีทั้งภาพ ทั้ง chat room เรา ให้ข้อมูล
เราทำเป็น portal site เป็นเว็บเอ็นเตอร์เทนเ มนต์ครบวงจรสำหรับ รวมข้อมูลของบีอีซีเทโรทั้งหมด"
ยังรวมไปถึงกรณี ที่บีอีซีเทโร สร้างภาพยนตร์เรื่องใหม่ออกมา บริษัท ขายตั๋วออนไลน์แห่งนี้
จะรับขายบัตรให้กับโรงภาพยนตร์ต่างๆ ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ จะมีระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์อยู่แล้ว
ดังนั้น จะสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายของไทยทิกเก็ตมาสเตอร์ได้ทันที
ในอนาคต การขายตั๋วออนไลน์ นอกจากจะจองได้จากเครื่องพีซีแล้ว การจองผ่านโทรศัพท์มือถือ
ด้วยเทคโนโลยีของ wap ที่เป็นแอพพลิเคชั่น ที่กำลังอยู่ระหว่างพัฒนา จากฟากของสามารถคอร์ปอเรชั่น
ที่กำลังมุ่งเน้นในเรื่องของธุรกิจอินเตอร์เน็ต
และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงระหว่างอินเตอร์เน็ต กับธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์
ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเลือกใช้ประโยชน์ในจุดใด