สุริยะ" เวิร์กจัดสั่งรื้อสัญญาเซ็นทรัลเช่าที่ดินรถไฟ ชี้สุดเสียเปรียบ
แถมเซ็นทรัลยังต่อเติมดัดแปลงอาคารหาประโยชน์แต่กลับไม่แบ่งรายได้ให้การรถไฟฯ
ชี้ผิดสัญญาชัดเจน สั่งรถไฟแจ้งเซ็นทรัลทราบ ด้านเซ็นทรัลพัฒนา เป็นงง !!
ขออนุญาต ก่อสร้างทุกครั้งทำไมยังถูกกล่าวหา พร้อมชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดหากยังข้องใจ
ส่วน การต่อสัญญากับการรถไฟฯคิดแพงเท่าไรก็สู้ เพราะสร้างโครงการนี้มากับมือจนกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รถไฟต้องตรวจสอบสัญญาเช่าที่ดินรถไฟของ
บริษัทเซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา ของตระกูล จิราธิวัฒน์ เพื่อก่อสร้างเป็นอาคารศูนย์การค้าและที่จอดรถ
ซึ่งปัจจุบัน คือ ที่ตั้งห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า และโรงแรมเซ็นทรัลโซ-ฟิเทล
เนื่องจากพบว่ามีการกระทำที่ขัดต่อเงื่อนไขสัญญา ซึ่งฝ่ายกฎหมายตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนพิจารณายกเลิกสัญญาและยึด
เงินประกัน และอาคารสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินทั้งหมด
โดยเซ็นทรัลทำสัญญาเช่าที่ดินรถไฟ จำนวน 47.22 ไร่ ระยะ เวลาสัมปทาน 30
ปี ซึ่งสัญญาจะสิ้นสุดในปี 2551 และหลังจากนั้นจะต้องโอนมอบสิ่งปลูกสร้าง
อาคาร ครุภัณฑ์ ทุกอย่างให้กับ ร.ฟ.ท. แต่ ทางเซ็นทรัลได้ทำหนังสือขอต่อสัญญาเช่าที่ดิน
โดยส่อเจตนาที่ไม่ถูกต้อง เพราะจะต้องเช่าสินทรัพย์ทั้งหมดด้วย เพราะถือเป็นกรรม-สิทธิ์ของ
ร.ฟ.ท. ด้วย โดยจ่ายค่าเช่าให้รถไฟปีละ 3 ล้านบาท และปรับค่าเช่าเพิ่มทุกปีในปี
46 จะต้อง จ่ายค่าเช่าให้รถไฟประมาณ 8,350,000 บาท
ซึ่งในสัญญาระบุชัดเจนว่า หากเซ็นทรัลต้องการดัดแปลงพื้นที่ เพื่อหาประโยชน์เพิ่ม
จะต้องขออนุญาตรถไฟก่อน เพื่อเจรจาเรื่องการแบ่งรายได้ให้รถไฟจากพื้นที่ที่ดัดแปลงและมีรายได้
แต่จากการตรวจสอบพบว่า เซ็นทรัล ได้มีการ ดัดแปลงพื้นที่บางส่วนและมีการจัดเก็บผลประโยชน์เพิ่ม
6 รายการ จากที่มีการขออนุมัติ 2 รายการ สำหรับ 6 รายการได้แก่ 1.ดัด แปลงพื้นที่บริเวณ
ที่จอดรถบริเวณ ชั้น 1 ของอาคารจอดรถให้เอกชนทำคาร์แคร์ 2. ดัดแปลงพื้นที่ใต้
ดินห้างสรรพสินค้าจากเดิมเป็นที่จอดรถเป็นร้าน ค้าย่อยกว่า 100 ร้านค้า และเปิดซูเปอร์มาร์เก็ต
ท็อปส์ 3.ดัดแปลงลานจอดรถบริเวณชั้น 5 เป็นโรงจอดรถมีหลังคา โดยอ้างว่าลูกค้าจอดรถแล้ว
ร้อน แต่ในความเป็นจริง ดัดแปลงเป็นศูนย์ขายสินค้าลดราคา
4. ดัดแปลงพื้นที่บริเวณศูนย์การค้า ชั้น 6 เป็น โรงหนังแบบครบวงจร 5.ดัดแปลงพื้นที่ใต้ดินบริเวณอาคารจอดรถ
เป็นโรงเรียนกวดวิชา และ 6. ดัดแปลงพื้นที่ทางเดินบริเวณหน้าห้างออก ไปป้ายรถเมล์ทางถนนพหลโยธิน
สวนหย่อม เป็น พื้นที่ค้าขายจำนวน 45 ล็อก และมีการจัดเก็บค่า เช่ากับผู้ค้า
ซึ่งจากสัญญาเดิมบริเวณพื้นที่ดังกล่าวจะต้องทำเป็นสวนหย่อม
จากการดัดแปลงดังกล่าวทางเซ็นทรัลไม่ มีการขออนุญาตจากรถไฟ ซึ่งเป็นคู่สัญญาโดย
ตรง และในสัญญาก็ระบุว่าหากมีการดัดแปลงอาคารต้องขออนุญาตจากรถไฟ
"การแก้ไขดัดแปลงสิ่งปลูกสร้างอาคารที่ดิน ของรถไฟ โดยเฉพาะเซ็นทรัลนั้นตามสัญญาระบุชัดเจนว่าการดัดแปลงต้องได้รับอนุญาตจาก
บอร์ดการรถไฟฯ ถึงจะเปลี่ยนแปลงได้ และหาก จงใจฝ่าฝืน การรถไฟฯสามารถยึดอาคารทั้งหมด
มาเป็นของรัฐได้ ตามข้อสัญญาที่ 16 ซึ่งการขอเปลี่ยนแปลงแบบนั้นในส่วนนี้
เซ็นทรัลขอเปลี่ยน แปลงเพียง 2 รายการคือ อาคารจอดรถ และ อาคารสรรพสินค้า
ซึ่งในเรื่องนี้ในวันจันทร์ที่ 16 ธ.ค. 2545 ได้สั่งการให้รถไฟทำหนังสือถึง
เซ็นทรัล ถึงข้อเท็จจริงทั้งหมดของการเพิ่มพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต และให้เซ็นทรัลชี้แจงกลับมาว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไรบ้าง"
นายสุริยะกล่าว
เปิดสัญญาผิดยกเลิกสถานีเดียว
นายสุริยะ กล่าวว่า เงื่อนไขสัญญาเซ็นทรัลข้อ 10 ระบุว่าหากผู้เช่าต้องการดัดแปลงต่อเติมอาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ
ที่ผิดจาก แปลนก่อสร้างที่ผู้ให้เช่าอนุมัติไว้ ผู้เช่าต้องขออนุมัติจากผู้ให้เช่าก่อนที่จะดำเนินการ
และข้อ 16 ระบุว่า หากผู้เช่าผิดเงื่อนไขและผู้ให้เช่าเตือนไปแล้วผู้เช่ายังดำเนินการ
ผู้ให้เช่าสามารถเลิกสัญญาได้และให้ถืออาคารและอุปกรณ์ ระบบควบคุมความเย็น
ระบบโทรศัพท์ ระบบบำบัดน้ำเสีย ของตกแต่ง ครุภัณฑ์ ที่ใช้ในที่ดินตกเป็น
กรรมสิทธิ์ของผู้เช่าได้
อย่างไรก็ตาม อาคารในที่ดินดังกล่าวประเมินแล้วจะมีมูลค่าประมาณ 7-8 หมื่นล้านบาทอย่างไรก็ตาม
การดำเนินการและเจรจาใดจะต้องยึดสัญญาเป็นหลัก และยึดรายได้ที่เป็นธรรมแก่รถไฟ
เซ็นทรัลมั่นใจทำถูกสัญญา
จากการสอบถามไปยังบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัล
พลาซ่า ลาดพร้าว แหล่งข่าว ชี้แจงกับ"ผู้จัดการรายวัน"ว่า การที่นายสุริยะออกมาพูดเรื่องการรื้อสัญญาเช่าที่ดินของกลุ่มเซ็นทรัลที่ทำกับการรถไฟฯในครั้งนี้
น่าจะเป็นเรื่องทาง การเมือง ที่เชื่อว่าต้องการจะโละบอร์ดการรถไฟฯ มากกว่า
ส่วนการตั้งข้อกล่าวหากับบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินกับการรถไฟฯ
ว่า ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้ขออนุญาตจากการรถไฟฯ ผิดถึง 6 รายการนั้น บริษัทยืนยันว่า
การก่อสร้าง ทุกครั้ง ทางเซ็นทรัลพัฒนา ได้ขออนุญาตก่อสร้าง จากทางกรุงเทพมหานคร
และสำนักงานเขต อย่าง ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งต้องทำตามสัญญากับทางการรถไฟฯอย่างเคร่งครัด
ซึ่งทางบริษัทก็มี เอกสารการขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกรายรวมทั้งการรถไฟฯด้วย
และบริษัทพร้อม ที่จะชี้แจงให้ทราบ
"ในการต่อเติมอาคารนั้น บริษัทเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งหากบริษัทไม่ได้รับอนุญาตจาก
ผู้เกี่ยวข้องจะไม่สามารถก่อสร้างได้เลย ซึ่งเราไม่ คิดที่จะทำอะไรขัดต่อกฎหมายอยู่แล้ว
เพราะมันไม่คุ้มกับเงินที่ลงทุนไปกับโครงการนี้จำนวนมหาศาล จนทำให้ศูนย์การค้าแห่งนี้กลายเป็นศูนย์การค้ายอดนิยม"
ส่วนเรื่องการต่อสัญญาเช่าที่ดินจากการรถไฟฯนั้น บริษัทก็ยังเจรจาอย่างต่อเนื่อง
และอยากให้สรุปผลโดยเร็วที่สุด เพราะบริษัทจะต้อง นำมาใช้ในการวางแผนงานในภาพรวมต่อไป
ซึ่งทราบดีว่าในการต่อสัญญาใหม่อาจต้องจ่ายผลตอบแทนให้แก่การรถไฟฯ สูงกว่าปัจจุบันที่เป็นสัญญาที่ทำไว้กว่า
20 ปี บริษัทก็ต้องยอม เพราะกลุ่มเซ็นทรัลจะไม่มีวันปล่อยให้สัญญาเช่าที่ดินแปลงนี้หลุดมือไปอย่างแน่นอน
"ที่ดินผืนนี้กลุ่มเซ็นทรัลได้เข้ามาพัฒนาตั้งแต่เป็นทุ่งบางกะปิ จนขณะนี้กลายเป็นทำเลทองที่ดี
ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และเป็นศูนย์ การค้าที่สร้างรายได้ให้แก่เซ็นทรัลพัฒนาในอันดับต้นๆ
เพราะฉะนั้นก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่ ต่อสัญญา หรือว่าจะยอมให้ถูกยกเลิกสัญญาได้ง่ายๆ"
อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา ยังได้เสนอตัวเพื่อขอพัฒนาที่ดินบริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัล
พลาซ่า ลาดพร้าว เพื่อพัฒนาพื้นที่ทางเชื่อมจากรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าสู่ศูนย์การค้า
กับทางรฟม.ไปแล้ว แต่ขณะนี้ทางรฟม. ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะให้เอกชนเข้ามา
บริหารพื้นที่ หรือจะบริหารพื้นที่เอง
ซึ่งการเสนอตัวเข้าบริหารพื้นที่ใต้ดิน ในส่วนเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินนั้น
เป็นเพราะกลุ่มเซ็นทรัลต้องการพัฒนาทางเดินให้มีความสวยงาม ต้องการคัดเลือกร้านค้าที่จะเข้ามา
ขายสินค้าบริเวณทางเชื่อมใต้ดินให้เหมาะสมกับผู้ที่จะสัญจรไปมาในย่านนี้
และไม่ตรงกับสินค้าที่จำหน่ายในห้าง รวมทั้งต้องการดูแลเรื่อง ระบบความปลอดภัยทั้งของลูกค้าและผู้เข้ามาใช้บริการในพื้นที่นี้ด้วย