Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 ธันวาคม 2545
"ท็อปส์"รุกค้าปลีกปี46 หาพันธมิตรขยายธุรกิจ             
 


   
search resources

Royal Ahold
TOPS Supermarket




ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต เปิดแนวรุกปี 2546 ทุ่มงบกว่า 300 ล้านบาท เปิดสาขาใหม่ 6 แห่ง ปรับปรุงสาขาเดิม 10-15 แห่ง พร้อม หาบริการรูปแบบใหม่เข้ามาเสริม เผยเตรียมหาพันธมิตรเพิ่มเพื่อขยายธุรกิจค้าส่ง รองรับการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกที่ร้านค้ารายย่อยต้องการบริหารสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายแรนดี้ กัตเตอรี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีอาร์ซี เอโฮลด์ จำกัด ผู้บริหารท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต เปิดเผยถึงทิศทางการขายธุรกิจของท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ในปี 2546 ว่า บริษัทจะใช้งบประมาณ 300 ล้านบาท สำหรับขยายสาขาใหม่เพิ่มอีก 6 แห่ง และปรับปรุงสาขาเดิม 10-15 แห่ง โดยปัจจุบันท็อปส์ มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 49 แห่ง

สำหรับ 6 สาขาใหม่ที่จะเปิดเพิ่มขึ้นนี้ คาดว่าจะเปิดในรูปแบบ มาร์เกต เพลส บาย ท็อปส์ ประมาณ 1-2 สาขา ส่วนที่เหลือจะเป็นท็อปส์ ซูเปอร์ มาร์เก็ต ในรูปแบบปกติ โดยสาขาที่มีพื้นที่แล้ว ได้แก่ ถนนนางลิ้นจี่ ที่เปิด ในโครงการของสยามฟิวเจอร์ ในรูปแบบของคอมมูนิตี้มอลล์ หรือศูนย์การ ค้าชุมชน อีกสาขาหนึ่งจะอยู่ในโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า ภูเก็ต ของกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา ส่วนอีก 4 สาขา อยู่ระหว่าง การเจรจา โดยจะเปิดในศูนย์การค้าชุมชนเป็นหลัก

ด้านสาขาเดิมที่จะเข้าไปปรับปรุงนั้น ก็เพื่อให้ทันสมัยรวมทั้งการเพิ่มจำนวนสินค้าให้ตรงกับความ ต้องการของลูกค้ามากขึ้น เช่น การเพิ่มพื้นที่ให้กับพันธมิตร อย่างร้านบู๊ทส์ เข้ามาเปิดในสาขาที่ยังไม่มี เป็นต้นโดยส่วนของการปรับปรุงสาขาใหม่นั้นจะปรับ ภาพลักษณ์ใหม่ของมาร์เก็ตเพลส บาย ท็อปส์เพื่อให้ มีภาพลักษณ์ที่แตกต่างจากท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตด้วย

"การปรับภาพลักษณ์ของมาร์เก็ตเพลส เนื่อง จากลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าจะคาดหวังว่าจะได้อะไรใหม่ๆ ที่แตกต่างจากท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต โดยเฉพาะสินค้าที่จะต้องมีคุณภาพดีกว่าที่อื่น ซึ่งทำให้ราคาสินค้าของมาร์เก็ตเพลส สูงกว่าในท็อปส์ด้วย"

นอกจากการขยายสาขาแล้ว ท็อปส์ ยังได้พิจารณาถึงสาขาที่มีผลประกอบการไม่ดี โดยได้เตรียมปิดสาขาเดิม 3 แห่ง เนื่องจากเป็นสาขาที่มีค้า ปลีกรายใหญ่มาเปิดให้บริการอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทำให้การแข่งขันรุนแรงมาก ประกอบกับผู้บริโภคที่อยู่ในพื้นที่เหล่านั้น ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักของท็อปส์ ที่ท็อปส์จะเน้นกลุ่มชนชั้นกลางขึ้นไป ส่งผลให้ผลประกอบการของทั้ง 3 สาขา ไม่เป็นไปตามเป้า หมาย จึงได้ตัดสินใจปิดกิจการ

นายแรนดี้ กล่าวอีกว่า นอกจากการขยายสาขา และการมอบบริการที่ดี คัดเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ ใหม่สด มีให้เลือกอย่างหลากหลาย รวมทั้งการจัดทำ สินค้าซูเปอร์ถูก เพื่อจำหน่ายในราคาถูกอย่างสม่ำ เสมอตลอดไปแล้ว ท็อปส์ มีโครงการที่จะนำเสนอบริการในรูปแบบใหม่ ที่ยังไม่มีใครเคยทำมาก่อนเข้า มาให้บริการแก่ลูกค้าของท็อปส์ในปีหน้า โดยการเพิ่มบริการใหม่ๆ เข้ามานั้น มาจากการสำรวจความต้องการของลูกค้า ซึ่งพบว่าผู้เข้ามาซื้อสินค้าในท็อปส์ ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นายแรนดี้ กล่าวแต่เพียงว่า บริการใหม่ที่จะนำเสนอนี้ นอกจากเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้อง การแล้ว ยังเป็นการนำจุดแข็งของรอยัล เอโฮลด์ ที่มีเครือข่ายอยู่ในประเทศต่างๆ สามารถนำข้อมูลที่ได้ มาพัฒนาเพื่อสร้างบริการที่ดีให้แก่ลูกค้าได้

"ท็อปส์ พยายามนำเสนอรูปแบบของบริการที่ใหม่ๆ ซึ่งในสาขาใหม่อย่างเช่น ที่ทองหล่อ หรือเซ็นทรัล พระราม 2 จะมีจุดเด่นที่การนำเสนอสินค้า เพื่อสุขภาพและความงาม ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบของท็อปส์ที่แตกต่างจากสาขาอื่นๆ"

สำหรับบริการใหม่ที่ท็อปส์เพิ่มเข้ามาในสาขาใหม่ คือ มุมขายสินค้าของพันธมิตร เช่น สินค้าของ พีแอนด์จี ภายใต้ชื่อ Relex Renew Revive ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ที่เอโฮลด์ในสหรัฐอเมริกาพัฒนาขึ้นมาร่วมกับพีแอนด์จี และเริ่มนำมาใช้ในเอโฮลด์ในเอเซีย โดยจะเป็นพื้นที่จำหน่ายสินค้าประเภท บอดี้แคร์ เฮล์ธแคร์ สกินแคร์ และแฮร์แคร์ เพื่อเป็นทาง เลือกในการซื้อสินค้ากลุ่มดังกล่าวให้กับผู้บริโภค หาพันธมิตรใหม่

นายแรนดี้ ได้กล่าวถึงการหาพันธมิตรทาง การค้าใหม่เข้ามาเสริมว่าในปัจจุบันท็อปส์มีพันธมิตร อยู่ 2 ราย คือ บริษัท คอนอโค จำกัด ผู้บริหารสถานี บริการน้ำมันเจท ส่วนพันธมิตรอีกรายหนึ่งคือเอสโซ่ โดยท็อปส์ จะเข้าไปจัดส่งสินค้าในร้านคอนวีเนียน สโตร์ของทั้งสองปั๊มน้ำมัน รวม 320 ร้านทั่วประเทศ ซึ่งไม่รวมถึงปั๊มเอสโซ่ที่เป็นแฟรนไชส์ ส่งผลให้ท็อปส์สามารถลดต้นทุนด้านการจัดการ และยังมีราย ได้เพิ่มจากการรับบริหารสินค้าด้วย

ทั้งนี้ ท็อปส์ ยังได้เจรจากับพันธมิตรรายอื่น รวมทั้งร้านค้ารายย่อย ในการเข้าไปจัดส่งสินค้าให้อีก ด้วย เนื่องจากเห็นว่าการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งการบริหารสินค้าที่มีประสิทธิ ภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำ จะทำให้สามารถทำธุรกิจอยู่ได้ในภาวะเช่นนี้ โดยการขยายธุรกิจด้านการบริหารสินค้าของท็อปส์นี้ถือเป็นการรุกธุรกิจค้าส่ง ที่เชื่อว่าท็อปส์ยังมีโอกาสที่จะขยายงานด้านนี้ได้อีกมาก ผลประกอบการเติบโต 25-28%

สำหรับผลการดำเนินงานของท็อปส์ ซูเปอร์มาร์ เก็ตนั้น นายแรนดี้ กล่าวว่าในปีนี้ท็อปส์ มีอัตราการ เติบโตด้านยอดขาย 25-28% ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตของสาขาเดิม รวมทั้งการขยายสาขาใหม่ ซึ่งตั้งแต่เดือนธ.ค.2544-ธ.ค. 2545 ท็อปส์ ขยายสาขาไปแล้ว 10 สาขา รวมทั้งการเข้าไปบริหารสินค้าให้แก่ร้านคอนวีเนียนสโตร์ในปั๊มเจท และเอสโซ่ ด้วย ซึ่งหากพิจารณาถึงผลประกอบการในช่วง 3 ไตรมาส แรกของปี 2545 พบว่าท็อปส์ สามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดจากตลาดรวมได้ถึง 1% ในขณะที่ตลาดค้า ปลีกโดยรวมมีอัตราการเติบโตที่ 3-5% เท่านั้น

ทั้งนี้ นายแรนดี้ ให้ความเห็นถึงตลาดรวมของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยว่า การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกตลอด 3 ปีที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากการขยายตัวของค้าปลีกในกลุ่ม ของดิสเคานต์สโตร์ หรือไฮเปอร์มาร์เก็ต ที่นอก จากจะแข่งกันขยายสาขาจำนวนมากแล้ว ยังใช้กล ยุทธ์ขายสินค้าราคาถูก ส่งผลให้ท็อปส์จำเป็นต้องลด ต้นทุนด้านบริหารจัดการ เพื่อทำราคาสินค้าให้ถูกลง ด้วย ซึ่งผลจากการลดราคาสินค้าด้วยการจัดทำสินค้า "ซูเปอร์ถูก" ทำให้กำไรของท็อปส์ลดลง 1.2-1.5% และคาดว่าในปี 2546 ผลกำไรน่าจะใกล้เคียงกับปีนี้

อย่างไรก็ตามผลประกอบการโดยรวมของท็อปส์ ก็ยังนับว่าดีกว่ากลุ่มธุรกิจประเภทดิสเคานต์สโตร์ ซึ่งจากตัวเลขการสำรวจของบริษัทวิจัยแห่งหนึ่ง พบว่า ภาพรวมของดิสเคานต์สโตร์ไม่เติบโตมากนัก โดยเฉพาะผลกำไรที่ไม่น่าจะมีมาก แม้ว่าจะมีหลายรายเปิดสาขาใหม่จำนวนมากก็ตาม โดยดิสเคานต์สโตร์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น เป็นของบิ๊กซี ใน ขณะที่คาร์ฟูร์ มีส่วนแบ่งการตลาดเท่าเดิม ส่วนเทสโก้ โลตัส มีส่วนแบ่งการตลาดที่ลดลง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us