Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 พฤศจิกายน 2548
ชง 4 ข้อ ลดภาษีสิ่งพิมพ์             
 


   
search resources

Printing & Publishing
สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย




สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ยื่นเรื่องรัฐพิจารณา ลดภาษีเหลือ 0% ในส่วนของซีดีที่มากับหนังสือ และฟิล์มนำเข้าจากต่างประเทศ หวังลดต้นทุนสู้กับสิงคโปร์

นายธนะชัย สันติชัยกูล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางภาครัฐมีนโยบายที่จะปรับโครงสร้างอัตราภาษีสิ่งพิมพ์ใหม่ ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ของไทยมีการขยายตัวอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสมาคมฯเองยังมีความเห็นว่าสิ่งที่ภาครัฐพิจารณานั้นยังไม่ครอบคลุม

ทั้งนี้ สมาคมฯ ได้เสนอปัญหาต่างๆ ที่ภาครัฐอาจจะยังไม่ได้พิจารณาหลายประเด็นคือ 1. เรื่องแผ่นซีดีที่ติดมากับหนังสือ ซึ่งทางกรมศุลกากรตีความว่าจะต้องแยกออกมาจากตัวหนังสือ จึงคิดเก็บภาษีอีก 30% สมาคมฯ เสนอให้ยกเลิกเป็น 0% 2.การผลิตสิ่งพิมพ์ในไทย บางครั้งจะใช้ฟิล์มที่ส่งมาจากต่างประเทศในการพิมพ์ต้นฉบับ ซึ่งทางกรมศุลกากร คิดเก็บภาษีฟิล์มส่วนนี้ 30% สมาคมฯ เสนอให้ยกเลิกเป็น 0%

3.ขอให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ทั้งหมดเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เป็น 0% ไม่ใช่ 7% เพราะทุกวันนี้ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้ ต้นทุนต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งสำนักพิมพ์ไม่สามารถขอคืนภาษีได้ ทำให้ต้องมีต้นทุนสูงจึงไปบวกรวมกับราคาขายหนังสือ 4. การนำเข้านิตยสารต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในไทย ควรจะมีการลดภาษีนำเข้าลงบ้าง

ประเด็นที่สมาคมฯ เสนอไปนั้น ล้วนแต่เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ในไทยอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันนี้ ในต่างประเทศโดยเฉพาะในเอเชียเช่นที่ ฮ่องกง สิงคโปร์ ภาษีเหล่านี้เขาเลิกไปหมดแล้ว ทำให้เขามีความได้เปรียบกว่าในประเทศไทยมาก ดังนั้นการที่สมาคมฯ มีแผนที่จะผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งหนังสือก็จะลำบาก ถ้ายังมีอุปสรรคจากปัจจัยดังกล่าว

นายธนะชัยกล่าวว่า หากปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไขตามที่สมาคมฯ เสนอไปนั้น จะเป็นผลดีอย่างมากต่ออุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ในไทย เพราะจะทำให้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางของสิ่งพิมพ์ได้ และสามารถต่อสู้กับสิงคโปร์ได้ อีกทั้งจะทำให้มีงานจากต่างประเทศเข้ามาพิมพ์ในไทยมากขึ้น

นอกจากนั้นแล้ว ในฐานะที่เป็นนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสืออาเชียน ซึ่งรวบรวมสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเชียนทั้งหมด 7 ประเทศ ประกอบด้วยไทย เวียดนาม ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มีแผนที่จะจัดงานบุ๊คเอ็กซ์โปในกรุงเทพฯ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งใหญ่เพื่อจะยกระดับของงานให้สู้กับระดับโลกได้ ซึ่งปัจจุบันนี้งานยิ่งใหญ่คือที่บุ๊คแฟร์ที่เยอรมัน ส่วนในเอเชียคือจีนกับญี่ปุ่นขณะเดียวกัน ยังมีแผนที่จะเชิญอีก 3 ประเทศ เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมฯ ด้วยคือ บรูไน เขมร พม่า

ปัจจุบันตลาดหนังสือโดยเฉพาะพ็อคเก็ตบุ๊คในไทยมีการเติบโตค่อนข้างดี มีปริมาณการออกเล่มใหม่ๆมากกว่า 10-20 เล่มต่อวัน อีกทั้งการอ่านหนังสือของคนไทยมีเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่อ่านประมาณครึ่งชั่วโมงกว่าต่อวัน เพิ่มเป็น 1 ชั่วโมงกว่าต่อวัน

อย่างไรก็ตามขณะนี้ทางสมาคมฯ มีแนวคิดที่จะทำการเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อทำการสำรวจดัชนีการอ่านของคนไทยเองเป็นครั้งแรก โดยนำเอาฐานข้อมูลจากสมาชิกฯและการจัดจำหน่าย และจากการสอบถามความเห็นเพื่อตัวเลขที่ใช้ในการอ้างอิง เนื่องจากที่ผ่านมาทางสำนักงานสถิติแห่งชาติมีฐานข้อมูลในการจัดเก็บไม่สมบูรณ์ ซึ่งสมาคมฯ จะเริ่มในเดือนหน้านี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us