Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 พฤศจิกายน 2548
สุวิทย์ คุณกิตติ กุมทัพเพอร์แวร์ เล็งเป็นผู้นำธุรกิจขายตรงใน 5 ปี             
 


   
search resources

Plastics
สุวิทย์ คุณกิตติ




สุวิทย์ คุณกิตติ เข้าดูแลทัพเพอร์แวร์ใช้เม็ดเงินลงทุน 100 ล้าน ปั้นทัปเปอร์แวร์ เป็นผู้นำธุรกิจขายตรง หวังห้าปีระดมทุนสร้างโรงงานผลิต พร้อมแตกไลน์สินค้า เจาะกลุ่มคนระดับกลาง-สูง กระจาย สินค้าไปทั่วห้างสรรพสินค้าเพิ่มช่องทางการจำหน่าย

หลังหยุดพักทางการเมืองชั่วคราวเพราะปัญหาทางสุขภาพ สุวิทย์ คุณกิตติ เจ้าของไอเดีย กองทุนหมู่บ้านของพรรคไทยรักไทย ได้ผันตัวเองจากนักการเมืองพาครอบครัวก้าวเข้ามาลงทุนเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทัปเปอร์แวร์ เพียงรายเดียวในประเทศไทย จาก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นการลงทุนในนามบริษัท เอสเค อินเตอร์กรุ๊ป 2005 กัด

การเข้ามาครั้งนี้ สุวิทย์ คุณกิตติ ประธานกรรมการ บริษัท เอสเค อินเตอร์กรุ๊ป 2005 มองว่าธุรกิจทัปเปอร์แวร์ยังมีช่องว่างให้ทำกำไรได้อีกมาก เพราะด้วยคุณภาพของผลิตภัณฑ์และความเชื่อมั่นในตราสินค้าของทัพเพอร์แวร์ที่มีมาอย่างยาวนาน เขาคาดว่าการเข้ามาครั้งนี้ภายในสามปีคาดว่าจะพาทัปเปอร์แวร์มีรายได้เข้ามา 1,000 ล้านบาท

" จุดแข็งของทัพเพอร์แวร์คือตราสินค้า แต่จุดอ่อนคือระบบการขายตรง พอได้เข้ามาก็จะบริหารจัดการให้จุดอ่อนลดลงไปให้ได้ และต้องเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อให้จุดแข็งเด่นขึ้นมาให้ได้"

ใช้ตราทัพเพอร์แวร์ต่อยอด

สุวิทย์ บอกว่า ได้ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาธุรกิจนี้ให้มีกำไรถึงพันล้านบาทภายในห้าปี โดยเริ่มแรกกำไรที่จะเกิดขึ้นนั้นจะมาจากการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้ตราสินค้าทัปเปอร์แวร์ โดยในแผนธุรกิจที่วางไว้นั้น ในปี พ.ศ. 2549 นั้นจะยังคงเน้นที่ผลิตภัณฑ์ทัพเพอร์แวร์ 50% และเครื่องใช้ในครัวเรือน คาดว่าในปี 2549 จากการรุกสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนมากยิ่งขึ้น เช่น หม้อสแตนเลสเคลือบ 10 ชั้นที่เป็นจุดเด่นของทัปเปอร์แวร์ และมีการทำการตลาดเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น จะทำให้บริษัทมีกำไร ณ สิ้นปี 200 ล้านบาท และคาดว่าอีกสามปี หรือในปี 2552 ทัปเปอร์แวร์จะมีกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 500 ล้านบาท จากการที่มีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากเดิมจากบริษัททัปเปอร์แวร์ในอเมริกา

เพิ่มสินค้าตามสหรัฐฯ

ในปี 2554 บริษัทจะมีกำไรเข้ามา เป็นหนึ่ง 1,000 ล้านบาท จากการเพิ่มปริมาณและประเภทสินค้าสุขภาพและเครื่องสำอาง เนื่องจากบริษัทแม่ทัปเปอร์แวร์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เข้าไปซื้อกิจการบริษัท ซาร่า ลี ซึ่งเป็นบริษัทสินค้าเพื่อสุขภาพและ บริษัท นูทรี ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องสำอาง ซึ่งจะเข้ามาเป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัท เพราะแม้แต่บริษัทแม่ที่สหรัฐอเมริกาเอง ยังคาดการณ์ว่าการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ จะทำให้การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทเพิ่มขึ้น 38% ดังนั้น สุวิทย์จึงคาดว่า การเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่จะทำให้รายได้ของทัปเปอร์แวร์เพิ่มขึ้น

ผลิตภัณฑ์ของซาราลี ประเภทผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและเครื่องดื่ม จะเข้ามาในตลาดก่อนจากนั้นเครื่องสำอางนูทรีจะตามมา โดยในอนาคต สัดส่วนของทัปเปอร์แวร์จะลดลงไปจะแบ่งให้ ผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งสองประเภท แต่ทั้งนี้ยังอยู่ในขั้นตองการวิจัยหาข้อมูลว่าสัดส่วนที่แน่นอนจะเป็นเช่นไร โดยเฉพาะ สินค้าประเภทเครื่องสำอาง

เพิ่มช่องทางขายสินค้า

นอกจากนั้น สุวิทย์มองว่า ฐานลูกค้าเดิมของทัปเปอร์แวร์นั้นอยู่เฉพาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางลงไป เพราะเป็นธุรกิจขายตรง แต่ทางบริษัทได้ทำการสำรวจตลาดแล้วพบว่า ยังมีความต้องการสินค้าทัปเปอร์แวร์ในกลุ่มลูกค้าชั้นกลางบวก ไปถึงสูงอยู่อีกมาก เพียงแต่ยังขาดสถานที่ในการซื้อ เนื่องจากระบบทัปเปอร์แวร์ทั้งหมดเป็นระบบขายตรง

ดังนั้น กลยุทธ์ที่สุวิทย์นำมาปรับจุดอ่อนก็คือ ให้สินค้าง่ายต่อการซื้อหามากที่สุด โดยจะมี KIOS ของทัปเปอร์แวร์เองตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ เพื่อง่ายในการซื้อหา นอกจากนั้นจะกระจายศูนย์ทัปเปอร์แวร์ไปตามจังหวัดต่างๆให้ครบ 76 จังหวัด โดยคาดว่าในปีแรกจะเริ่มจัดตั้งศูนย์ทัปเปอร์แวร์ตามหัวเมืองใหญ่ตามภาคต่างๆเป็นการชิมลาง แต่อย่างไรก็ตามจะยังคงระบบการขายตรงไว้เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม

เล็งเข้าตลาดหุ้น

สิ่งที่สุวิทย์มองในการไกลก็คือ การระดมทุนเข้าตลาดหุ้น เพราะปัจจุบัน ฐานการผลิตในเอเชียของทัปเปอร์แวร์อยู่ที่มาเลเซีย การสร้างโรงงานในประเทศจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายบริษัทได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม การตั้งโรงงานในเมืองไทยก็มีปัญหาในเรื่องการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานอเมริกา เพราะครั้งหนึ่ง ทัปเปอร์แวร์ สหรัฐอเมริกาเคยอยากมาตั้งโรงงานผลิตในไทย แต่เกิดปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้า การลงทุนสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐานจึงมีความจำเป็น

"อนาคตถ้าได้ยอดอย่างที่คาดไว้ ก็อาจจะพิจารณาเอาบริษัทเข้าในตลาดหุ้น คาดว่าอย่างน้อยทัปเปอร์แวร์จะเข้ามาติด หนึ่ง ใน 3 บริษัทขายตรงที่มียอดขายมากที่สุด"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us