Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 พฤศจิกายน 2548
ส่งสัญญาณผู้ประกอบการ ไทย-อิตาลีส่อแววรุ่ง รัฐรุกคืบสร้างพันธมิตร             
 


   
search resources

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
SMEs




นับเป็นความพยายามที่จะส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สำหรับรัฐบาลซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำคณะได้เดินทางไปประเทศอิตาลี และลงนามบันทึกความเข้าใจ ที่กรุงโรม เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2544
จึงเป็นจุดเริ่มให้เกิดการสานต่อความสัมพันธ์ระหว่างกันโดยการตั้งคณะทำงานไทย-อิตาลีด้านความร่วมมือเอสเอ็มอี ครั้งที่1 นำมาสู่การพบปะกันที่กรุงเทพฯ โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการจัดการประชุม 1th Thai-Italian Working Group on SMEs Cooperation and Thai-Italian Business Forum ในวันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2548

ประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ 2 กิจกรรม คือ 1.การประชุมคณะทำงานเพื่อยกร่างแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้าน SMEs ระหว่างไทยกับอิตาลี และ2.การจับคู่ทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนของสองประเทศ

สำหรับคณะผู้แทนไทย นำโดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุม ส่วนคณะผู้แทนอิตาลี นำโดย อดอลโฟ อูร์โซ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอิตาลี

ไทยเตรียมก้าวต่อไป

ทั้งนี้ ดร.สมคิด กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญที่จะก่อให้เกิดผลด้านการค้าและการลงทุนกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของทั้งสองประเทศมากขึ้น เพราะอิตาลีต้องการขยายมาสู่ภูมิภาคเอเชีย โดยใช้ไทยเป็นยุทธศาสตร์

ขณะที่รัฐบาลไทยต้องการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาในรูปแบบ คลัสเตอร์ ซึ่งประเทศอิตาลีประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง โดยเฉพาะการพัฒนาเป็น Industrial Cluster ซึ่งอิตาลีมีความรู้ในอุตสาหกรรมหลายสาขา และใช้ Value Creation สร้างมูลค่าให้สินค้าได้สูง

ดังนั้น ทำให้ไทยมีเป้าหมายจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดในส่วนนี้ และต้องการสร้าง Modern Cluster โดยเฉพาะใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาหารซึ่งไทยมีโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก และกลุ่มแฟชั่นในโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น

นอกจากนี้ ในด้านยานยนต์ในเดือนธันวาคมปีนี้ไทยจะผลิตรถยนต์ 1 ล้านคัน ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และทำให้ไทยก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์ในอันดับที่ 14 ของโลก จากเดิมอยู่ในอันดับที่ 15 ตามที่ไทยได้ประกาศไว้เมื่อ 4 ปีก่อนว่าจะเป็น Moter Hub of Asia

ทั้งนี้ มองว่าใน 3 ปีข้างหน้า ไทยจะเป็นฮับในด้านอาหารแปรรูป แฟชั่น และอิเล็คทรอนิกส์ โดยจะใช้การทำเป็นคลัสเตอร์แบบเดียวกับที่ทำกับรถยนต์ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นพันธมิตรกับอิตาลีในการสร้างคลัสเตอร์ โดยสำนักงานส่งเสริมการลงทุนของไทย (BOI) จะศึกษาและสร้างประโยชน์จูงใจ (incentive) ให้เกิดการสร้างคลัสเตอร์ทั้งสาม

ดร.อุตตม สาวนายน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งสองฝ่ายจะมีการศึกษาว่าจะทำคลัสเตอร์ซึ่งอิตาลีมีถึง 200 คลัสเตอร์ ร่วมกันได้อย่างไร ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ประกอบไปด้วยผู้แทนรัฐและเอกชนที่มีทั้งเครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิสาหกิจ ไปเรียนรู้และนำมาถ่ายทอดประสบการณ์และโนว์ฮาว

โดยอิตาลีให้ไทยส่งผู้ประกอบการที่พร้อมไปเรียนรู้การทำคลัสเตอร์ที่อิตาลีในลักษณะการจับคู่กัน ซึ่งไทยจะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อเขียนแผนการดำเนินงานให้เสร็จภายใน 2 เดือนข้างหน้า และจะเดินทางไปประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 ที่อิตาลีประมาณเดือนมีนาคมปีหน้า ส่วนการที่ประเทศจีนมีความสนใจในด้านคลัสเตอร์ซึ่งจะร่วมมือกับอิตาลีด้วยนั้น น่าจะเป็นผลดีกับประเทศไทย เพราะจะทำให้เกิดการเพิ่มพันธมิตรจาก 2 ฝ่าย เป็น 3 ฝ่าย แต่ขึ้นอยู่กับเอกชนด้วยว่าจะร่วมมือกัน และอาศัยการกรุยทางของรัฐได้มากน้อยแค่ไหน

คลัสเตอร์ยุทธศาสตร์หลัก

ทางด้าน อดอลโฟ อูร์โซ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอิตาลี เปิดเผยว่า การประชุมร่วมกันในครั้งนี้เป็นการเปิดประตูให้ผู้ประกอบการไทยและอิตาลีที่จะร่วมลงทุนระหว่างกัน และจะทำให้เห็นว่าการค้าจะสะดวกขึ้นได้อย่างไรบ้าง ทั้งด้านกฎหมาย การเงิน และข้อมูลข่าวสารต่างๆ เช่น การวิจัย วิเคราะห์ การตลาด เพื่อให้รู้ว่าคู่ค้าที่เหมาะสมคือใครและพัฒนาสู่การค้า โดยทางอิตาลีมีสถาบันเพื่อการค้าต่างประเทศ (ICE หรืออิเช่) มีสาขา 104 แห่ง ใน 80 ประเทศทั่วโลก ทำงานร่วมกับสถาบันอื่นๆ เพื่อเชื่อมโยงการค้า

โดยคณะทำงานไทยและอิตาลีที่ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก ได้ประสานงานกันแล้วที่จะทำให้การค้าระหว่างไทยและอิตาลีเพิ่มมูลค่ามากขึ้น เนื่องจากทั้งสองประเทศมีหลายอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอที่เริ่มมาจากอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และหน่วยการผลิตอื่นๆ เช่น เสื้อผ้า แฟชั่น ของประดับตกแต่งบ้าน อาหารและการท่องเที่ยว ซึ่งมองว่าอิตาลีสามารถเป็นฐานให้ไทยในการเปิดประตูการค้าสู่ยุโรปและแถบเมดิเตอร์เรเนี่ยน ขณะที่ไทยสามารถเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การพูดคุยกับดร.สมคิด ได้วางแนวทางร่วมกันว่าจะสร้างนิคมอุตสาหกรรมในไทยโดยใช้รูปแบบของอิตาลี ซึ่งผู้ประกอบการไทยและอิตาลีจะร่วมมือกัน โดยในเบื้องต้นจะมุ่งไปที่ 2 กลุ่ม คือ แฟชั่น และอาหาร

โดยยกรูปแบบนิคมอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จในอิตาลีมาถ่ายทอดให้ไทย ซึ่งจะมีการศึกษาว่าจะช่วยอะไรได้บ้าง ขณะที่ไทยศึกษาด้านกฎหมาย ส่วนแผนดำเนินการจะมีการเสนอในฤดูใบไม้ผลิปีหน้า เมื่อไทยไปเยือนอิตาลี ซึ่งจะมีการเตรียมแพ๊กเกจที่น่าสนใจของไทย และแจ้งข่าว เพื่อดึงดูดบริษัทคลัสเตอร์ในอิตาลี

สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอิตาลีประมาณ 3 หมื่นบริษัท ได้ย้ายฐานการผลิตไปยุโรปตะวันออกแล้ว เช่น 1.3 หมื่นบริษัทในโรมาเนีย โครเอเชีย 4 พันบริษัท ตูนีเซีย 1 พันบริษัท ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างงานในประเทศนั้นมากมาย ซึ่งไทยและอิตาลีต้องใช้ความพยายามและเวลาร่วมกันในการดำเนินการเพราะไทยมีชื่อเสียงด้านการผลิตเช่นกัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอิตาลี เปิดเผยถึงรายละเอียดของโมเดลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอิตาลีที่เรียกว่า Industrial Cluster ว่า ที่อิตาลีมีประมาณ 200 คลัสเตอร์ โดยเฉพาะภาคกลางขึ้นไปทางเหนือของประเทศ บางแห่งเก่าแก่มาก ตั้งแต่สมัยเรนาซอง และอยู่เป็นแหล่ง โดยเฉพาะเมืองเล็กๆ ที่มีศูนย์กลางเล็กๆ ของเมือง

โมเดลฯ ประกอบไปด้วยบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม บางคลัสเตอร์อาจจะรวมกันเป็นร้อยๆ บริษัท บางบริษัทมีพนักงานแค่ 5-10 คน แต่ทุกบริษัทเน้นการทำงานหนัก อาจจะเป็นศูนย์ผลิตโดยตรงหรือสาขา เช่น สาขาทดลองทางวิทยาศาสตร์ทำวิจัย ส่งให้อีกสาขาผลิต ทั้งร่วมมือและแข่งกันเอง ปกติคลัสเตอร์จะตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยและร่วมมือกัน มีธนาคารท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือ บางครั้งเป็นธนาคารสหกรณ์ สร้างเป็นสมาคมร่วมมือกับหอการค้า เป็นคลัสเตอร์ที่ทำการผลิต ที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดคือด้านการตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ แฟชั่น รองเท้า แว่นตา เครื่องประดับอัญมณี อาหาร และเครื่องจักรกลบางสาขา เช่น ในแคว้นมาเก้ มีบริษัทแม่ Meloni ทำด้านสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน มีบริษัทเล็กๆ ร่วมมือ

เมื่อ 10 ปีก่อน คลัสเตอร์ของอิตาลีขยายไปที่ประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน ยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก บางประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน และตอนนี้ขยายไปทำในรัสเซีย และบราซิล สำหรับในไทย ทั้งทักษะของคนงาน ความมั่นคงทางการเมือง ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และความเหมือนกับอิตาลีในหลายเรื่อง ทำให้ไทยสามารถนำโมเดลนี้มาใช้ได้ เช่น อุตสาหกรรมของไทยเริ่มจากบริษัทเล็กๆ เช่นเดียวกับอิตาลี รวมทั้งการเปิดเสรีทางการค้าของไทยกับเพื่อนบ้าน ทำให้ขยายการค้ากว้างขึ้น

อีกทั้ง เพื่อการแข่งขันกับบริษัทจีน ซึ่งอิตาลีมองว่าอันตรายสำหรับบริษัทของอิตาลีที่มีขนาดเล็กและกลาง ไม่แข็ง ไม่ใหญ่พอ จะมีปัญหามาก เช่น อาจจะถูกลอกเลียนแบบ ขณะที่รัฐบาลไทยพยายามดูแลเรื่องนี้ แต่จริงๆ แล้วคลัสเตอร์ของอิตาลีเน้นที่ 2 สาขาหลัก คือ 1.ด้านสิ่งทอ เสื้อผ้า แฟชั่น และ2.ด้านอาหารจากผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งที่ผ่านมามีความสำเร็จต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น ในยุโรปกลางและคาบสมุทรบอลข่าน รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่ง หรือประเทศที่มีค่าแรงไม่สูง ด้านสิ่งทอและรองเท้า ได้ผลดี

นอกจากนี้สถาบันการเงินที่มีผลต่อโมเดลคลัสเตอร์ มีทั้งสำนักงานพาณิชย์อิตาเลี่ยนที่มีอยู่ในประเทศไทยด้วย จะหาคู่ค้าที่เหมาะสม ส่งเสริม และให้ข้อมูลการค้าได้ ส่วนซีเมส (SIEMEST) สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจของอิตาลีในต่างประเทศ ช่วยเหลือด้านการเงินและการลงทุน เข้าไปถือหุ้นหรือร่วมลงทุนได้ 25-49% และซาเช่ (SACE) เป็นหน่วยงานกึ่งรัฐบาล ทำหน้าที่ช่วยผู้ส่งออกและค้าขายกับต่างประเทศ และช่วยบริษัทไทยที่ค้าขายกับอิตาลี แม้ว่าหลายประเทศสนใจเอสเอ็มอี แต่อิตาลีมีโมเดลเข้มแข็ง และก้าวไปสู่สากล เป็น “บริษัทขนาดกระเป๋า” ที่สินค้าและการตลาดดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไทย

ลุย Roadmap-เซ็น MOU

จากการประชุมคณะทำงานไทย-อิตาลีด้านเอสเอ็มอี มีผู้แทนไทย ได้แก่ จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ,ดร.อุตตม สาวนายน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ,จิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสสว. และผู้แทนจากบีโอไอ กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ส่วนผู้แทนอิตาลี ได้แก่ H.E.Umberto Vattani ประธานสำนักงานพาณิชย์อิตาลี (Italian Trade Commission1) , Mr.Leonardo Ferragamo รองประธานสภาอุตสาหกรรมอิตาลี (Confindustria) และ H.E.Ignazio Di Pace เอกอัครราชฑูตอิตาลี ประจำประเทศไทย สรุปว่า

ฝ่ายไทยเสนอ Roadmap พัฒนาความร่วมมือด้าน SMEs 2 ระดับ คือ1.แนวทางภาพรวม การจัดให้มีหน่วยบริการคำปรึกษาและแก้ปัญหาการค้าการลงทุน ความร่วมมือพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การสร้างตรสินค้า จัดหน่วยงานกลางสร้างความสัมพันธ์ และตั้งคณะทำงานสู่การปฏิบัติ

และ2.ระดับสาขา เป้าหมายพัฒนาร่วมกัน 6 สาขา แฟชั่น อาหาร ยานยนตร์ เฟอร์นิเจอร์ ท่องเที่ยว-สปา และสิ่งแวดล้อมกับพลังงานทดแทน โดยส่วนใหญ่อิตาลีเห็นด้วยและชื่นชมแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างภาษี การลดอุปสรรคการค้า และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยจะมีการจัดประชุมร่วมกันทุกปี ซึ่งครั้งที่ 2 อิตาลีจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงโรม ในปี 2549

รวมทั้งเน้น 4 มาตรการ คือ พัฒนาคลัสเตอร์ โดยมีสสว.เป็นแกนหลัก ด้านการค้าการลงทุน ด้านจุลภาค 6 สาขา และพัฒนากลไกความร่วมมือทั้งสองฝ่าย ส่วนการจับคู่ธุรกิจ มีบริษัท วีสยาม จำกัด ธุรกิจอัญมณี 1 ราย มีโอกาสร่วมลงทุน โดยมีนักธุรกิจอิตาลี 5 รายร่วมเจรจา ส่วนอีกคู่คือ บริษัท อิตาลี 3DW Moulds Sri ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรือ ร่วมกับไทย คือบริษัท Star Marine Engineering จำกัด

ส่วนการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU)มี 5 คู่ ได้แก่ 1.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กับสถาบันเพื่อการค้าต่างประเทศของอิตาลี (ICE) 2. BOI กับ SIMEST 3. ICE กับ สถาบันอาหารของไทย 4. หอการค้าอิตาลี , บริษัท ส่งเสริมการค้าเอสเอ็มอี จำกัด , บริษัท อุตสาหกรรมขนมไทย จำกัด และศูนย์ทดลองเพื่อการพัฒนาอาหารและการเกษตร เพื่อส่งเสริมสินค้า OTOP และSMEs และ5. บริษัท ซารากรุ๊ป จำกัด กับ MDA เพื่อพัฒนาธุรกิจการให้คำปรึกษาของอิตาลี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us