Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 พฤศจิกายน 2548
ทัพกลุ่มทุนต่างชาติบุกไทย เล็งกวาดตลาดอสังหาฯระดับบน             
 


   
search resources

มานพ พงศทัต
Real Estate




*นักวิชาการชี้จุดเปลี่ยนอสังหาฯเข้าสู่ยุคการแข่งขันระดับสากล
*ระบุแนวโน้มกลุ่มทุนข้ามชาติรุกตลาดอสังหาฯไทยปลายสมัยรัฐบาลทักษิณ2
*กลุ่มทุนสิงคโปร์-จีน-ฮ่องกง จีบนักลงทุนท้องถิ่น หวังกินรวบจัดสรรแนวสูงเจาะกลุ่มไฮ เอนด์ ย่านซีบีดี

นักวิชาการชี้ตลาดอสังหาฯ ไทยเข้าสู่ยุคการแข่งขันแบบอินเตอร์ฯ ในปลายรัฐบาลทักษิณ2 ระบุแนวโน้มนักลงทุนต่างชาติแห่งรุกตลาดอสังหาฯ ในไทย “สิงคโปร์-จีน-ฮ่องกง”ดึงอสังหาฯ รายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ร่วมทุนผุดโครงการเจาะตลาดระดับบน คาดตลาดคอนโดมิเนียมระดับไฮ-เอ็นด์ กลางกรุงแข่งเดือด หลังกลุ่มทุนข้ามชาติขนเงินดิ้นหาแหล่งลงทุนใหม่ในต่างแดน เล็งไทยทำเลทองนำร่องปูฐานขยายตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาวะวิกฤตฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในช่วงปี39-41 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นช่องว่างทางการตลาดที่เป็นการเปิดโอกาสทองให้กับกลุ่มนักลงทุนต่างชาติขยายการลงทุนเข้ามาในไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการลงทุนในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก และกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ

โดยพบว่าหลังภาวะธุรกิจอสังหาฯ ล่มสลายกลุ่มทุนต่างชาติจากแถบอเมริกาและยุโรปขยายการลงทุนเข้ามาในไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในลักษณะของกลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่เข้ามาลงทุนร่วมกับผู้ประกอบการอสังหาฯ รายใหญ่ของไทยในลักษณะการร่วมทุนในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการเข้าเทคโอเวอร์กิจการ การเข้าไปถือครองหุ้น และความร่วมมือกับผู้ประกอบการท้องถิ่นในลักษณะของการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์

มานพ พงศทัต อาจารย์ประจำภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่รู้จักกันดีในฐานะ “เสาหลักอสังหาฯ” กล่าวว่า ภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ ในอนาคตจะเข้าสู่ยุคแห่งการขายของแข่งกัน ซึ่งหมายความว่าภาพรวมการแข่งขันของธุรกิจอสังหาฯ ในอนาคตมีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น แต่รูปแบบการแข่งขันจะเปลี่ยนแปลงไปโดยเข้าสู่การแข่งขันในระดับสากลมากขึ้น จากเดิมซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการจัดสรรในท้องถิ่นด้วยกันเอง

การแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไปเกิดจากผู้ประกอบการท้องถิ่นต้องแข่งขันกับกลุ่มนักลงทุนข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนธุรกิจอสังหาฯ ในไทย โดยเฉพาะกลุ่มทุนจากประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน ที่ขยายการลงทุนเข้ามาในไทยอย่างต่อเนื่อง ด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ลงทุนในประเทศที่เหลืออยู่น้อย ในขณะที่เม็ดเงินสำหรับขยายการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

“ประเทศไทย”จึงเป็นแหล่งลงทุนแห่งใหม่ที่เหมาะสมและมีศักยภาพที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะมีศักยภาพทั้งด้านทำเลที่ตั้ง การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุน ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการลงทุนในไทยได้ไม่ใช่น้อย

โดยคาดว่าในช่วงปลายของสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 ธุรกิจอสังหาฯ จะเข้าสู่ยุคอินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเกิดจากผู้ประกอบการจัดสรรท้องถิ่นรายใหญ่ๆ ร่วมลงทุนกับกลุ่มทุนข้ามชาติ ซึ่งมีเป้าหมายรุกตลาดที่อยู่อาศัยระดับไฮ เอนด์ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงานให้เช่าในย่านใจกลางเมือง

“ขณะนี้เริ่มมองเห็นกลุ่มนักลงทุนจากสิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน ขยายการลงทุนเข้ามาในไทยแล้ว ซึ่งเป็นการเข้ามาลงทุนทั้งในทางตรงและทางอ้อม โดยในส่วนของอาคารสำนักงานให้เช่าที่เป็นการลงทุนของต่างชาติในกทม.ขณะนี้มีพื้นที่รวมถึง 1.8 แสนตร.ม. ซึ่งมีสัดส่วนการเช่าพื้นที่แล้ว 90%”

ทุนสิงคโปร์นำร่องรุกตลาด

กลุ่มทุนข้ามชาติที่เข้ามาสร้างความฮือฮาให้กับธุรกิจอสังหาฯ ในไทยมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมาหนีไม่พ้นกลุ่มทุนจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งทยอยเข้ามาลงทุนในไทยแล้วอย่างน้อย 4 กลุ่ม เช่น กลุ่มแคปปิตอลแลนด์ กลุ่มเคปเปลแลนด์ กลุ่มเซ็นเตอร์พอยท์ และกลุ่มโฮเต็ล พร็อพเพอร์ตี้

โดยกลุ่มแคปปิตอลแลนด์ถือว่าเป็นกลุ่มทุนข้ามชาติที่น่าจับตามองมากที่สุด ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นกลุ่มทุนที่มีศักยภาพและมีสายป่ายการลงทุนที่ค่อนข้างยาว เพราะมีรัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในเครือเตมาเส็ค โฮลดิ้ง โดยเลือกลงทุนร่วมกับบริษัท ที.ซี.ซี.แลนด์ จำกัด ของเจ้าพ่อน้ำเมา เจริญ สิริวัฒนภักดี ภายใต้บริษัท ที.ซี.ซี.แคปปิตอล แลนด์ จำกัด ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อลงทุนอสังหาฯ ในไทย โดยเริ่มจากการนำทรัพย์ของ ที.ซี.ซี.ฯ มาพัฒนาโครงการทั้งในแนวราบและแนวสูง

“ที.ซี.ซี.แคปปิตอล แลนด์” เปิดฉากการรุกตลาดอสังหาฯ ในไทยประมาณไตรมาส3 ปี 46 ด้วยทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท โดยมี ที.ซี.ซี.ฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สัดส่วน 60% ที่เหลือ 40% เป็นของ แคปปิตอล แลนด์ โดยเปิดตัวโครงการ “แอทธินี เรสซิเด้นท์” คอนโดมิเนียมหรู จำนวน 219 ยูนิต ย่านถนนวิทยุด้านข้างโรงแรมพลาซ่า แอทธินี ด้วยราคาขายเฉลี่ยกว่า 1 แสนบาทต่อตร.ม.

ตามด้วยโครงการวิลล่า ราชครู ซึ่งเป็นคอนโดมิเนียมสูง 8 ชั้น 70 ยูนิต มูลค่าโครงการ 280 ล้านบาท ในซอยราชครู ก่อนที่จะเปิดการขายโครงการบ้านเดี่ยว บนพื้นที่ 77 ไร่ในซอยมัยลาภ ซึ่งมีกำหนดเปิดการขายในเดือน ธ.ค.นี้

“เคปเปลแลนด์-เฟร์เชอร์”แจ้งเกิดอสังหาฯในไทย

นอกจากนี้ยังมีคู่แข่งอย่างกลุ่มเคปเปลแลนด์ เข้ามาลงทุนร่วมกับ บมจ.ไฟวสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ ของกลุ่มกฤษดามหานคร โดยดำเนินธุรกิจภายใต้ บมจ. เคปเปลไทย พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการถือหุ้นโดยกลุ่มทุนจากสิงคโปร์ 49% และไทย 51% เน้นพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบเป็นหลัก โดยเริ่มต้นด้วยโครงการวิลล่า อะคาเดียว ศรีนครินทร์ บ้านเดี่ยว 5.2-9.7 ล้านบาทต่อยูนิต จำนวน 367 ยูนิต บนพื้นที่ 99 ไร่ มูลค่าโครงการรวม 2,500-3,000 ล้านบาท

ในขณะที่กลุ่มเซ็นเตอร์พอยท์ พร็อพเพอร์ตี้ ในเครือเฟร์เชอร์ แอนด์ทีฟ เจ้าของเบียร์ไทเกอร์ ไฮเนเก้นท์ และเครื่องดื่มซาร์สี่ ประกาศร่วมลงทุนกับ บริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน จำกัด ในเครือพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จัดตั้ง บริษัท ริเวอร์ไซด์ โฮม ดีเวลลอปเม้นท์ ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายรุกตลาดอสังหาฯ ในไทยด้วยการนำศักยภาพของกลุ่มเฟร์เชอร์ฯที่มีความแข็งแกร่งด้านการเงินและความเชี่ยวชาญในตลาดอสังหาฯ แนวสูงมาผสมผสานกับจุดแข็งของ กรุงเทพบ้านฯ ที่มีความแข็งแกร่งด้านอสังหาฯแนวราบและแลนด์แบงก์ โดยเริ่มลงทุนในโครงการคอนโดมิเนียมหรู ย่านพระราม3 ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บนเนื้อที่ 10 ไร่ จำนวน 400 ยูนิต มูลค่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเฟสแรกของการลงทุนก่อนนำที่ดินที่เหลือลงทุนพัฒนาโครงแรมระดับ 6 ดาว เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ และช้อปปิ้งมอลล์ มูลค่าโครงการกว่า 10,000 ล้านบาท

ทุนต่างชาติลุยเดี่ยวจัดสรรกลางกรุง

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มซิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์(ซีดีแอล) ในเครือ HONG LEONG Group ซึ่งติดอันดับ 1 ใน 3 กลุ่มทุนยักษ์จากสิงคโปร์ขยายการลงทุนอสังหาฯ ในไทย ทั้งในรูปแบบร่วมลงทุนกับเจ้าของที่ดิน ซื้อที่ดินเปล่ามาพัฒนาเอง รวมทั้งการเข้าซื้ออาคารร้างมาทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จและเปิดการขายต่อ โดยได้ลงทุนในไทยแล้วกว่า 20,000 ล้านบาท

ในขณะที่กลุ่มโฮเต็ล พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสิงคโปร์ เจ้าของโรงแรมฮาร์ดร็อค คาเฟ่ พัทยา,ฮาร์ดร็อค คาเฟ่ กรุงเทพ,โรงแรมเมอร์ริเดียน ภูเก็ต และโรงแรมเมโทรโพลิแทรน สาทร ซึ่งเข้ามาลงทุนพัฒนาธุรกิจอสังหาฯ ในไทย โดยเน้นการลงทุนในย่านใจกลางเมือง เจาะฐานลูกค้าระดับไฮ เอนด์ ภายใต้ชื่อ “เดอะ เม็ท” บนที่ดินเดิมของสำนักงานยูซิส สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้มาจากการประมูล โดยระบุว่าการลงทุนดังกล่าวมีมูลค่าการลงทุนไม่ถึง 10% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดที่กลุ่มโฮเต็ล พร็อพเพอร์ตี้ได้ขยายการลงทุนในต่างประเทศ

นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม เอชโฮม ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มนักลงทุนจากสิงคโปร์ กลุ่มฟาร์อีสต์ กรุ๊ป จากฮ่องกง และกลุ่มฟอร์จูน ออยล์ จากอังกฤษ ผุดโครงการไฮด์ พาร์ค วิภาวดี บริเวณแยกหลักสี่ ด้วยมูลค่าโครงการ 4,000 ล้านบาท

“KMC”ดึงรัฐบาลจีนลุยสุวรรณภูมิเซ็นเตอร์

การลงทุนครั้งยิ่งใหญ่ของจีนในไทยเห็นจะเป็นการลงนามในบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู)ระหว่างกลุ่มกฤษดามหานครกับคณะผู้แทนเขตการปกครองใหม่ซิวเจียง ซีอาน ของจีน ในสัดส่วน 50:50 เพื่อพัฒนาสวนสนุกภายในโครงการเมืองใหม่สุวรรณภูมิเซ็นเตอร์ บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ จากพื้นที่รวม 4,600 ไร่ ซึ่งกฤษดามหานครจะลงทุนที่ดินและเงินทุนบางส่วน ในขณะที่รัฐบาลจีนจะให้การสนับสนุนด้านการเงิน และเทคโนโลยีในการพัฒนาสวนสนุกให้เป็นเสมือนดีสนีย์แลนด์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us