Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 พฤศจิกายน 2548
เงินผิดกม.สะพัดหมื่นล้านร.พ.แหล่งฟอกเงิน-ปปง.คุมเข้ม "ตลาดหุ้น-ประกัน"             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

   
search resources

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
Economics
Law




ไทย กำลังเป็นแหล่งฟอกเงินปีละกว่า 10,000 ล้านบาท ปปง.พบช่องทางการฟอกเงินหลากหลายรูปแบบ นำไปลงทุนสร้างโรงพยาบาลที่นนทบุรี และต่างจังหวัด ฟอกเงินในวงการพระเครื่องและ ธุรกิจขายตรง ฯลฯ เตรียมออกฎคุมเข้มแหล่งฟอกเงินทั้งในตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจประกันภัยและโรงจำนำ จะต้องรายงานธุรกรรมธันวาคมนี้ ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ชี้โอกาสฟอกเงินจากการสั่งซื้อหุ้นจากต่างประเทศ เป็นไปได้สูง!

การฟอกเงินที่สกปรกให้เป็นเงินที่ขาวสะอาดโดยอาศัยช่องทางต่างๆในการฟอกเงิน ได้มีการประมาณการโดยแนวร่วมเฉพาะกิจด้านมาตรการการเงิน ( Financial Action Task Force หรือ FATF ) โดย มิเชล กองเดอชูส์ อดีตผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ว่าตัวเลขการฟอกเงินทั่วโลกอยู่ระหว่างร้อยละ 2 ถึงร้อยละ5 ของยอดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของทั่วโลก สูงถึงประมาณ 600,000 ล้านดอลลาร์ แม้จะคิดจากเพดานประมาณการขั้นต่ำสุด

ไทยแหล่งฟอกเงินปีละ 10,000 ล้านบาท

ปัญหาเงินนอกระบบมีผลกระทบต่อความมั่นคงของหลายประเทศ เพราะผู้ก่ออาชญากรรมได้นำเงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้น ไปใช้ประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปอีก อันเป็นปัจจัยที่ทำให้เครือข่ายอาชญากรรมขยายตัวต่อเนื่องไปอย่างมีมีที่สิ้นสุด ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละประเทศมากมาย เฉพาะประเทศไทยมีเงินนอกกฎหมายเข้ามาปีละประมาณ 5,000 - 10,000 ล้านบาท

สาเหตุที่ประเทศไทยมีเงินนอกกฏหมายและเครือข่ายค้ายาเสพติดจำนวนมากเนื่องมาจาก ประเทศเพื่อนบ้านคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พม่า และกัมพูชา ยังไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และแนวทางการปฏิบัติเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด อาชญากรผู้ค้ายาข้ามชาติ อย่างเด็ดขาด บางครั้งนักธุรกิจข้าราชการและนักการเมืองกลับมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่นกับอาชญากรผู้ค้ายา แล้วยังต่อสายสัมพันธ์มาถึงประเทศไทยด้วย

ความสัมพันธ์ทางด้านธุรกิจที่เด่นชัดคือกลุ่มผู้มีอิทธิพลฝั่งไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ลงทุนตั้งบ่อนคาสิโนตามตะเข็บแนวชายแดนไทย 3 จุดผ่อนปรนใหญ่ ทางเหนือเขต จ.เชียงราย ติดต่อสามเหลี่ยมทองคำ ทางใต้ จ.ระนองติดต่อคาสิโนเกาะสนประเทศพม่า สำหรับเขมรมีคาสิโนมากที่สุดที่ปอยเปต เขตติดต่อกับ อ.อรัญญประเทศ จ.ปราจีนบุรี และยังมีที่แนวชายแดนด้าน จ.ตราด อีกทั้งคาสิโนบางแห่งมีตู้เอทีเอ็มของธนาคารไทยไปตั้งเพื่อบริการอีกด้วย และเป็นที่ทราบกันว่ากลุ่มผู้มีอิทธิพลและพ่อค้ายาระดับโลกล้วนใช้สถานที่เหล่านี้เป็นแหล่งเจรจาการค้า การเงินนอกกฎหมาย แล้วหาทางทำธุรกิจเพื่อเปลี่ยนเงินให้ถูกต้องต่อไป

กรณีเงินนอกกฎหมายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวนั้น นอกจากความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดภายในประเทศแล้ว ยังเกี่ยวรวมไปถึง ความผิดด้าน การฉ้อโกงประชาชน การยักยอกต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การกรรณโชกทรัพย์ และการลักลอบหนีภาษีศุลกากรด้วย

ขณะที่ปปง.สามารถอายัดและยึดทรัพย์สินไว้มีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 3,000 ล้านบาทเท่านั้น นับตั้งแต่มี พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งเงินจำนวนมหาศาลได้ลงไปฝังตัวอยู่ในธุรกิจหลายประเภท อาทิ ธุรกิจบ้านจัดสรร โรงพยาบาล ค้ารถยนต์ ร้านค้าอัญมณี ค้าทอง การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ประกันชีวิต เครือข่ายธุรกิจขายตรง และการค้าพระเครื่องวัตถุโบราณต่างๆ

ออกกฎกระทรวงคุมตลาดหลักทรัพย์

พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กล่าวว่า ได้เตรียมประกาศ เรื่องข้อกำหนดให้หน่วยงานบางประเภท เช่น ร้านค้าอัญมณี ทองคำ สถานรับจำนำ อสังหาริมทรัพย์ ตัวแทนรับแลกเปลี่ยน และกิจการค้ารถยนต์ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินต้องรายงานการทำธุรกรรม ตามบทบัญญัติ เพราะธุรกิจดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกใช้เป็นแหล่งฟอกเงินของอาชญากร

กฎระเบียบดังกล่าวเป็นมาตรฐานสากลที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรต่อต้านอาชญากรรมระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องปฏิบัติตาม หากประเทศใดไม่ปฏิบัติจะถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือ และถูกมาตรการลงโทษด้วยการกีดกันทางการเงิน เช่น ห้ามโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อการดำเนินงานธุรกิจอย่างมาก เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่เคยถูกมาตรการลงโทษนี้แล้ว

"ปัจจุบันมีร้านค้าทองคำที่เข้าข่ายต้องรายงานธุรกรรมกว่า 6,000 แห่ง ส่วนร้านเพชร พลอย และอัญมณี มีอีกหลายพันแห่ง ระหว่างขั้นตอนการออกกฎหมายก็จะเร่งทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ปปง. ยังได้เตรียมออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ในเดือน ธ.ค. ให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกันภัย โรงจำนำ ต้องรายงานธุรกรรมต้องสงสัยด้วย" เลขาธิการ ปปง.กล่าว

ปปง.สร้างภาพ คลำผิดทาง แก้ที่ปลายเหตุ

ผู้ค้าทองเยาวราช กล่าวว่า การประกาศของปปง.เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ถ้าเปรียบเทียบกับเงินนอกกฎหมายจำนวนมหาศาลแล้ว ตลาดผู้ค้าทองก็เล็กนิดเดียว เพราะการทุ่มเม็ดเงินเพื่อซื้อทองวันละ 10-20 ล้านบาท ก็เกิดกระแสการเคลื่อนไหวทางการเงินแล้ว ถ้าจะตรวจสอบไม่น่ายาก ข้าราชการ นักการเมือง ที่ไม่เคยทำอาชีพอื่นพอเกษียณออกมามีเงินเก็บมากมาย

การซื้อเพชรทองอัญมณีต่างๆมีข้อดีที่การเก็บรักษาทำได้ง่าย ไม่ต้องเปลืองพื้นที่มากนัก แต่ก็มีปัญหายามที่ต้องการใช้เงิน เพราะการนำออกมาขายครั้งละจำนวนมหาศาลโดยไม่ถูกตรวจสอบทำได้ยาก การหยุดกระแสของเงินนอกกฎหมาย เพื่อไม่ให้ถูกจับได้ ก็คือหยุดการเคลื่อนไหวของเงิน เมื่อเงินตกมาถึงมือใครก็หยุดที่นั่น ทำห้องลับเก็บไว้ในบ้าน ยามเมื่อต้องการใช้เมื่อไรก็บรรทุกออกมาใช้ได้เลย

"ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งทุกระดับ ชาวบ้านรู้ว่าเงินสะพัดมากมายก่ายกอง แต่กระแสความเคลื่อนไหวของแบงก์ กลับนิ่งเงียบ เงินที่ออกมาจากเซฟเฮ้าส์ในบ้านของผู้มีอิทธิพล ส่วนใหญ่จะเตรียมไว้เพื่อสิ่งสำคัญเฉพาะกิจ ออกมาใช้เป็นครั้งคราวปลอดภัยกว่า มีเรื่องพูดกันเล่นๆว่า ในบ้านของนักการเมืองจะมีรถดับเพลิงเตรียมไว้ เผื่อไฟไหม้จะได้ดับได้ทันท่วงที"

ฟอกเงินผ่านการสั่งซื้อหุ้นจาก ตปท.

เมธี อันอดิเรกกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดลูกค้าบุคคล 8. บริษัทหลักทรัพย์ธนชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ใช้เงินสด ทุกรายการต้องตัดยอดเงินผ่านบัญชีแบงก์ เงินจะเข้าจะออกต้องผ่านบัญชีแบงก์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะเงินเข้าเกินวันละ 2 ล้าน แบงก์ต้องตรวจสอบและรายงานการทำธุรการเกี่ยวกับบัญชีนั้น ถ้าเป็นเงินจำนวนไม่มากอาจทำได้ แต่จำนวนเยอะคงทำได้ยาก ต้องผ่านระบบการตรวจสอบของแบงก์มาก่อน ตลาดหลักทรัพย์กว่า 30 บริษัทก็ปฏิบัติระเบียบเดียวกัน

เขาบอกว่า มีทางเป็นไปได้ที่การฟอกเงินจะมาจากการสั่งซื้อหุ้นจากต่างประเทศ เพราะถ้าเงินนอกกฏหมายสามารถผ่านขั้นตอนแล้วหิ้วนำไปฝากแบงค์ต่างประเทศ เมื่อสั่งซื้อผ่านแบงค์อย่างนี้ตลาดหลักทรัพย์จะตรวจสอบยาก ถ้าเป็นอย่างนี้จริง ปปง.จะหาทางป้องกันและตรวจสอบอย่างไร

"การฟอกเงินในตลาดหลักทรัพย์ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ถ้าเข้ามาแล้วออกมาสะอาดเลย การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แต่ละวันเป็นหมื่นล้านถ้าจะฟอกเงิน 500-600 ล้านก็เป็นตัวเลขที่นิดเดียว บริษัทเราส่วนใหญ่ดูแลนักลงทุนรายย่อยชาวไทย จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้"

อย่างไรก็ดีการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้นที่ผ่านมามีการลงทุนจากในประเทศมูลค่าการลงทุนประมาณ 80%ต่างประเทศ 20% ปัจจุบันส่วนต่างเริ่มแคบลงจนเกือบใกล้เคียงกัน

เมธี บอกต่อว่า การที่ปปง.ประกาศออกมา น่าจะมาจากข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงรีบชิงประกาศข่าวออกมาก่อน เพราะถ้าปล่อยให้คนอื่นรู้ก่อน ปปง.อาจเสียหน้าก็ได้ เช่นเดียวกับเรื่องของตลาดหลักทรัพย์ที่ซอฟแวร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รู้เรื่องการปั่นหุ้น ปรากฏว่าตลาดหลักทรัพย์รู้ทีหลัง ทำให้เสียหน้า เช่นเดียวกับ ปปง.คงได้แบะแสเรื่องนี้มาบ้าง จึงได้ประกาศเป็นข่าวเสียก่อน ส่วนการตรวจสอบทำไม่ได้ง่าย

หลายช่องทางเปลี่ยนเงินให้ขาวบริสุทธิ์

การฟอกเงินของกลุ่มอาชญากรรมนั้นมีกรรมวิธีที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น ยิ่งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองออกกฎหมายควบคุมล่าช้ากลุ่มคนเหล่านี้ยิ่งเสาะแสวงหาหนทางที่จะฟอกเงินเพิ่มขึ้น

แหล่งข่าวระดับสูงใน ปปง.เล่าถึงกรรมวิธีหลากหลายในการฟอกเงินว่า ที่ผ่านมามีการ ระดมเงินนอกสร้างโรงพยาบาล จากสายสืบสวนของปปง.ยังพบด้วยว่าโรงพยาบาลขนาดย่อมหลายแห่งในต่างจังหวัด จำนวนเงินลงทุนไม่เกิน 500 ล้านบาท มีผู้ถือหุ้นเป็นข้าราชการและนักการเมืองจากประเทศกัมพูชา เข้ามาถือหุ้นจำนวนไม่น้อย โดยกลุ่มทุนในประเทศไทยถือหุ้นน้อยกว่า

"ล่าสุดในเขต จ.นนทบุรี โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ประกาศระดมเงินทุนเพื่อก่อสร้างโรงพยาบาล โดยได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากสถาบันการเงิน แต่พอสร้างเสร็จแล้ว ประชุมผู้ถือหุ้นปรากฏว่าเป็นของนักการเมืองจากประเทศเพื่อนบ้านกว่าครึ่ง เหตุการณ์อย่างนี้ปปง.กำลังเฝ้าดูพฤติกรรมอยู่"

นอกจากนี้ยังมีการซ่อนเงินในกรมธรรม์ประกันชีวิต สำหรับสาเหตุที่บริษัทประกันถูกให้แจ้งการทำธุรการด้วยนั้น เนื่องมาจากห้วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านประกันได้คิดแบบการระดมเงินฝากในรูปแบบประกันชีวิต ให้ผลตอบแทนงดงาม 2 ปีจ่ายครั้ง หรือ 5 ปีต่อครั้ง โดยจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคาร ขณะนั้นเพดานดอกเบี้ยต่ำติดดิน ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม สามารถระดมเงินฝากได้หลายพันล้านบาท

"บางคนทำทุนประกันร้อยกว่าล้านบาท ส่งเบี้ยปีละกว่า 10 ล้านบาท ทั้งครอบครัวหลายฉบับส่งเบี้ยปีหนึ่งกว่า 20-30 ล้านบาท ตัวแทนขายประกันต่างเร่งยอดเพื่อหาลูกค้าที่มีเงินเย็น ทั้งๆที่ผู้ซื้อประกันไม่ใช่คนที่มีชื่อเสียง การค้าก็ไม่ใหญ่โต และส่วนใหญ่เป็นลูกค้าต่างจังหวัดทั้งสิ้น"

แม้แต่ธุรกิจขายตรงก็เจอฟอกเงิน

นายชวดล ตั้งจิตเกษม รองประธานกรรมการ บริษัทรอยัลเฮลธ์แคร์ จำกัด ผู้จำหน่ายโสมเกาหลีตังกุยจับ ในระบบการขายตรง เปิดเผยว่า ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ได้ตัดรหัสสมาชิกออก 30,000 รหัส พร้อมกับแจ้งความไว้ที่สน.พระประแดง และสน.โพรงมะเดื่อ จ.นครปฐมแล้ว เนื่องจากตรวจพบว่ามีแก๊งค์ฟอกเงินมาแอบแฝง โดยกว้านซื้อบัตรประชาชนใบละ 200 บาท เพื่อลงสมัครเป็นสมาชิกขายตรงโดยร่วมมือกับพนักงานสถาบันการเงินด้านบัตรเครดิตอีก 14 แห่ง มาลงทุนในธุรกิจโสมเกาหลีเพื่อหวังรายได้จากค่าคอมมิชชั่น และสินค้าเอาไปขายในราคาถูกอีกต่อหนึ่ง ซึ่งเงินที่ได้กลับมาจะถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ โดยอาศัยธุรกิจขายตรงหลายบริษัทเป็นฐานการฟอกเงิน

"ก่อนหน้านี้แปลกใจที่มีสินค้าบริษัทไปขายในท้องตลาดในราคาที่ถูกกว่าบริษัทมาก สมาชิกขายไม่ได้ จึงได้ส่งทีมงานไปตรวจสอบ พบว่ามีขบวนการฟอกเงินเข้ามาใช้ระบบขายตรงของบริษัทฯ ด้วยการกว้านซื้อบัตรประชาชนและมาซื้อใบสมัครสมาชิกไปครั้งละหลายเล่ม เราชะล่าใจเห็นว่าทำถูกต้องตามกฎบริษัทก็ถือว่าดำเนินธุรกิจถูกต้อง"

มาตรฐานปปง.ยึดทรัพย์ได้ปีละกว่า 2,000 ล้านบาท


สายสืบจากปปง.รายงานว่า การสืบสวน สอบสวนและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2543 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 สำนักงาน ปปง. ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดทั้งสิ้น 246 คดี สำหรับมูลค่าทรัพย์สินที่ยึดและอายัดไว้มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,328.47 ล้านบาท


ด้านการเก็บรักษาทรัพย์สินตามที่คณะกรรมการธุรกรรม ได้มีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมได้มีคำสั่งยึดหรืออายัดไว้ สำนักงาน ปปง. ได้ขายทอดตลาดไปจำนวนทั้งสิ้น 21 ครั้ง เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 172.59 ล้านบาท และได้จัดเก็บรักษาทรัพย์สินไว้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 มีรวมมูลค่าทั้งสิ้น 1,371.39 ล้านบาท


การปฏิบัติงานของปปง.น่าจะยึดทรัพย์ได้มากกว่าปีละ 2,000 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกระแสเงินนอกกฎหมายภายในประเทศ เนื่องมาจากต้องระมัดระวังตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ม.37 ม.48 ม.49 เรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการมีทรัพย์สิน และการติดต่อสื่อสาร และการฟอกเงินเป็นกฎหมายใหม่ ยังไม่มีบรรทัดฐานโดยเฉพาะการตีความตามปัญหาข้อกฎหมายของศาลสูง ปัญหาการสืบพยานที่ล่าช้าและหลักฐานต้องชัดเจน บางครั้งไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงิน ในการตรวจสอบอาชญากรรมทางการเงิน อีกทั้งพนักงานปปง.ก็ยังไม่เข้าใจวิธีการปฏิบัติในการอายัดทรัพย์ เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความล่าช้าและขาดประสิทธิภาพ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us