|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ฟินันซ่าประกาศบุกต่างประเทศ ตั้งเป้าภายใน 3 ปี เพิ่มสัดส่วนการลงทุนเป็น 50% จากช่วงก่อนหน้าลงทุนเพียง 15% เผยใช้บริษัทฟินันซ่าที่จดทะเบียนในสิงคโปร์ ตั้งกองทุนร่วมลงทุนประเทศเกิดใหม่ เผยปัจจุบันบริหารพอร์ตกองทุนต่างประเทศ 4 กองทุน เม็ดเงินบริหารเฉียด 1 หมื่นล้านบาท พร้อมดึง "ดร.โกร่ง"นั่งประธานกรรมการ หวังกู้ภาพลักษณ์
นายวรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในปี 2549 ว่า นโยบายการลงทุนของบริษัทให้ความสำคัญกับการระมัดระวังการลงทุน เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจค่อนข้างอ่อนไหว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ และแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวน และที่สำคัญประเทศไทยเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้จากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
สำหรับพอร์ตการลงทุนของบริษัทในปัจจุบันมี 4 กองทุนต่างประเทศที่บริหารมีมูลค่า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 9,500 ล้านบาท ประกอบด้วย กองทุนสยามอินเวสท์เมนท์ฟันด์ สาม มูลค่ากองทุนประมาณ 75-100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กองทุนเวียดนาม อิควิตี้ฟันด์ มูลค่ากองทุนประมาณ 18.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กองทุนเดอะเอเชี่ยน เด็ท ฟันด์ มูลค่ากองทุนประมาณ 178-250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกองทุนฟินันซ่า โกลบอล แอล โลเคชั่น ฟันด์ มูลค่ากองทุนประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นายวรสิทธิ์ กล่าวว่า ผลการบริหารจัดการกองทุนของกลุ่มฟินันซ่าให้ผลตอบแทนโดดเด่นมาโดยตลอด และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งใน และต่างประเทศ โดยกองทุนเดอะเอเชี่ยน เด็ท ฟันด์ ได้กลายเป็นกองทุนประเภทเฮดจ์ฟันด์ที่มีผลงานยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนสูงสุดถึง 26% ในปี 2547 ปัจจุบันมีมูลค่าการลงทุนรวม 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2548) และมีความสามารถเพิ่มทุนได้ถึง 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากความสำเร็จที่ผ่านมาทำให้ได้รับรางวัลใหญ่ประเภทกองทุนเฮดจ์ฟันด์ (ประเทศสิงคโปร์) ดีเด่น และกองทุนประเภท Distressed Fund ดีเด่นแห่งเอเชีย จากงาน Asian Masters of Hedge Fund Awards จัดขึ้นในประเทศสิงคโปร์เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
โดยกองทุนเดอะเอเชี่ยน เด็ท ฟันด์ จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2546 โดยความร่วมมือของ ฟินันซ่า บริษัท Japan Asia Investment จำกัด (JAIC) มีมูลค่ากองทุนเริ่มต้น 22.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นกองทุนเปิดที่มีเป้าหมายการลงทุนในตราสารหนี้และสิทธิเรียกร้อง ภายในประเทศแถบเอเชียนอกเหนือไปจากประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ มุ่งเจาะกลุ่มหนี้สินที่มีสภาพคล่องสูง และมีหลักประกัน รวมไปถึงการลงทุนระยะยาวในบริษัทที่สามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้และมีสภาพในการระดมทุน
นายวรสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ บริษัทได้นำเสนอกองทุนใหม่ High Yield Debt Fund ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทุน เดอะเอเชี่ยน เด็ท ฟันด์ ที่ลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูง ในตลาดเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น และมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในหนี้ด้อยคุณภาพ Distressed Fund
ส่วนกองทุน สยามอินเวสเมนท์ฟันด์ สาม ได้จัดตั้งกองทุนเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งได้ระดมเงินทุนงวดแรกไปแล้วเป็นมูลค่า 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวงเงินกองทุนที่กำหนด 75-100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยกองทุนนี้จะเน้นลงทุนไปที่การขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจงในประเทศไทย ตั้งเป้าผลตอบแทนการลงทุน 25% ต่อ ซึ่งกองทุนนี้เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นต่อเนื่องจากกองทุน สยามอินเวสเมนท์ฟันด์ สอง หลังจากกองทุนดังกล่าวประสบความสำเร็จ โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีเม็ดเงินลงทุนใน 8 บริษัทกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
"แผนการดำเนินงานของเราในช่วง 3 ปีข้างหน้า เราจะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น โดยคาดว่าจะเพิ่มการลงทุนในสัดส่วน 50% ของมูลค่าทรัพย์สินในการบริหารจัดการ โดยปัจจุบันนี้พอร์ตการลงทุนในต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วนเพียง 15% เท่านั้น โดยเราจะใช้บริษัทฟินันซ่า ที่จดทะเบียนในสิงคโปร์เป็นฐานในการลงทุน ซึ่งการบริหารจัดการขึ้นตรงกับบอร์ดในประเทศไทยเป็นหลัก เนื่องจากเราถือหุ้น 100%" นายวรสิทธิ์กล่าว
สำหรับมูลค่าทรัพย์สินของบริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการประมาณ 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินทุนจำนวน 3,000 ล้านบาท และหนี้สินจำนวน 7,000 ล้านบาท
นายวรสิทธิ์ กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ในช่วง 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากประเมินว่า การลงทุนเฉพาะในประเทศไทยถือว่ามีความเสี่ยงสูง และผลการดำเนินงานของบริษัทขึ้นอยู่กับแนวโน้มการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งหากตลาดหลักทรัพย์ไม่ดี ผลการดำเนินงานจะปรับตัวลดลงตาม และแนวโน้มรายได้จากธุรกิจวานิชธนกิจก็จะปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกัน โดยปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของบริษัทมาจากธุรกิจนายหน้า 40% วานิชธนกิจ 25% ธุรกิจกองทุนและบริหารกองทุน 25% และกำไรที่เกิดขึ้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจกองทุนและการบริหารกองทุน
"แม้เราจะไม่รับอนุญาตให้สามารถจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ได้ แต่เราเชื่อมั่นว่าด้วยความที่เรามีความเชี่ยวชาญด้านการทำธุรกิจในต่างประเทศ จุดนี้จะเป็นการสร้างความแตกต่าง และในช่วงที่ผ่านมาพบว่า มีลูกค้าบางกลุ่มที่ต้องการคำปรึกษาจริงๆ เข้ามาขอคำแนะนำปรึกษาการลงทุนหรือร่วมลงทุนกับเรา เรื่องนี้ต้องให้เวลาเป็นเครื่องตัดสิน"นายวรสิทธิ์กล่าว
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทยังมีมติแต่งตั้งนายวีรพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้ามาทำหน้าที่ประธานกรรมการบริษัท
|
|
|
|
|