Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 พฤศจิกายน 2548
"ประสาร"คาดดบ.กู้ปี 49 แตะ 8.5%             
 


   
search resources

ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
Interest Rate




"ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" คาดดอกเบี้ยเงินกู้เอ็มแอลอาร์ แตะ 8.5% กลางปี 2549 ก่อนจะเริ่มนิ่งในช่วงครึ่งปีหลัง ขณะที่ดอกเบี้ยออมทรัพย์ เตรียมขยับในไตรมาส 2 - 3 พร้อมปรับแผนการดำเนินธุรกิจแบงก์กสิกรไทยใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยกู้เอสเอ็มอี ขณะที่ลูกค้ารายใหญ่ ตั้งเป้าขยายตัวอีก 10%

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปี 2549 ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) จะปรับขึ้นอีก 1 - 2% จนถึงกลางปี 2549 หรือเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ 6.5% เป็น 8.5% และจะเริ่มทรงตัวในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว และราคาน้ำมันเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น

"หากดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ ปรับตัวแรงเกิน 8.5% อาจจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ และทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวได้"

ขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ภาระการผ่อนชำระเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อพาณิชยกรรมที่เป็นสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารต้นทุนดอกเบี้ยของลูกค้าแต่ละราย

ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก คาดว่าช่วงไตรมาส 2 - 3 ของปี 2549 จะเริ่มมีการขยับอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ หลังจากที่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำเริ่มขยับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 ของปี 2548

ปรับโครงสร้างลูกค้าเอสเอ็มอีใหม่

สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2549 นั้น นายประสาร กล่าวว่า ธนาคารกำลังปรับโครงสร้างสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ใหม่ โดยจะมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ซึ่งจะแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มลูกค้าขนาดกลาง ที่มียอดขาย 50-400 ล้านบาทต่อปี กลุ่มลูกค้าขนาดเล็กมียอดขายอยู่ที่ 10-50 ล้านบาท และกลุ่มลูกค้าขนาดจิ๋วมียอดขายอยู่ที่ ต่ำกว่า 10 ล้านบาท

"การปรับโครงสร้างครั้งนี้จะทำให้การประสานงานระหว่างธนาคารกับลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น และจะทำให้กลุ่มลูกค้าเดิมที่อยู่ในกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ปรับลดลงจากที่มีอยู่ประมาณกว่า 2 แสนล้านบาท เหลือ 1 แสนกว่าล้านบาท เนื่องจากเดิมลูกค้าเอสเอ็มอีที่มียอดขาย 50-400 ล้านบาท ธนาคารจะจัดเป็นกลุ่มลูกค้าสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อรายย่อย"

เปลี่ยนเกณฑ์ตั้งสำรองฯเข้มขึ้น

ส่วนนโยบายการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญนั้น นายประสาร กล่าวว่า ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ธนาคารได้ปรับเปลี่ยนวิธีการตั้งสำรองฯ ใหม่ โดยพิจารณาจากโอกาสความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกค้าเป็นรายกรณี จากเดิมที่จะตั้งสำรองฯ ตามจำนวนการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะสะท้อนสภาพความเป็นจริงของลูกหนี้ได้ดียิ่งขึ้น

"วิธีการตั้งสำรองฯ ใหม่ จะทำให้ฐานะของธนาคารมีความแข็งแกร่ง โดยปัจจุบันธนาคารจะตั้งสำรองฯ ตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คือ 1% ของการปล่อยสินเชื่อ แต่แบบใหม่จะตั้งสำรองฯ มากกว่า 1% โดยลูกค้าที่เราเน้นจะเป็นกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ ทำให้ธนาคารตั้งตั้งสำรองฯ เพิ่มมากขึ้น โดยไตรมาส 3 มีการตั้งสำรองฯ สูงถึง 1,200 ล้านบาท จากปกติตั้งสำรองฯ ไตรมาสละประมาณ 200-300 ล้านบาท" นายประสาร กล่าว

ด้านแผนการขยายสินเชื่อกลุ่มลูกค้ารายใหญ่นั้น นายบุญทักษ์ หวังเจริญ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ปี 2549 ธนาคารมีนโยบายขยายสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าขยายตัวไว้ประมาณ 1-2 เท่าของจีดีพี หรือประมาณ 10% ของพอร์ตสินเชื่อรายใหญ่ที่สิ้นปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 200,000 ล้านบาท ทำให้สิ้นปี 2549 พอร์ตสินเชื่อรายใหญ่จะอยู่ที่ 210,000 - 220,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกที่ผ่านมา พอร์ตสินเชื่อรายใหญ่ของธนาคารขยายตัวประมาณ 8% และคาดว่าในอีก 2 เดือนที่เหลือจะสามารถขยายสินเชื่อได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ที่ 10-12% หรือประมาณ 20,000 - 30,000 ล้านบาท

พัฒนาบริการเสริมรายได้ค่าฟี

นายบุญทักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคเอกชนแล้ว ธนาคารยังมีแผนการระดมทุนด้วยวิธีการอื่นๆ ที่หลากหลายให้กับลูกค้าด้วย โดยธนาคารได้จัดทีมวานิธนกิจที่สามารถทำแผนให้ลูกค้าแต่ละรายเลือกระดมทุนตามความเหมาะสมของการใช้เงิน ซึ่งอาจจะผสมการระดมทุนออกตราสารหรือการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์

"ทิศทางดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น ก่อนจะเริ่มนิ่งในกลางปีหน้า ทำให้การกู้เงินจากธนาคารเป็นแหล่งระดมทุนที่ง่ายและเหมาะสมที่สุด เพราะสภาพคล่องยังมีอยู่มาก รวมทั้งมีกำหนดของระยะเวลากู้เงินระดับปานกลาง 5-7 ปี เพราะธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากในระยะสั้นๆ แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มนิ่ง จะทำให้ลูกค้าหันไปสนใจระดมทุนจากตลาดตราสารหนี้มากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง"

พร้อมกันนี้ ธนาคารยังมีแผนพัฒนาบริการ Cash Management เพื่อให้บริการแก่ลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมของลูกค้ารายใหญ่เป็น 40-50% ของลูกค้ารายใหญ่ภายใน 4-5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 30% โดยธนาคารจะขยายบริการให้เครดิตแก่ลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าของลูกค้าธนาคาร จากเดิมลูกค้าธนาคารจะเป็นผู้ให้เครดิตกับลูกค้าที่มีคำสั่งซื้อเอง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าธนาคารลดความเสี่ยงและได้รับเงินทันที ขณะที่ธนาคารเองจะได้รับค่าธรรมเนียมจากการให้บริการดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มให้บริการได้ภายในปีหน้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us