Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 พฤศจิกายน 2548
ทิศทางอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ปี 49             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Banking and Finance




การพิจารณาขนาดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในปี 2549 จะอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำสุดของเงินฝากแต่ละประเภท และอัตราดอกเบี้ย MLR ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง (ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์) นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คำนึงถึงปัจจัยหลักๆ ได้แก่ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ขนาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตลอดจนพฤติกรรมและกลไกการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในอดีตที่ผ่านมา

โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญคือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งอัตราผลตอบแทนที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น อัตราผลตอบแทนในตลาดเงิน และอัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนในหลักทรัพย์ จะต้องไม่ส่งผลกระทบให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปี 2549 ด้อยลงกว่าตัวเลขประมาณการของปี 2548 ไม่เช่นนั้น ธนาคารพาณิชย์อาจชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อประคับประคองความต้องการสินเชื่อจากภาคเอกชน และรักษาความสามารถในการสร้างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้จำแนกขนาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2549 ออกเป็น 2 กรณี คือ

กรณีแรก: เศรษฐกิจขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 5% และสินเชื่อดีของธนาคารพาณิชย์ไทยขยายตัวในปี 2549 ได้ไม่ต่ำกว่าที่ทำได้ในปี 2548

โดยในปี 2548 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า สินเชื่อดี (Performing Loans) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย จะเติบโตประมาณ 2.8 แสนล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อน 6.6% ขณะที่ปี 2549 นั้น แม้ว่าการขยายสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยคงจะได้รับปัจจัยบวกจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยโดยธปท.ที่โน้มเอียงไปที่ระดับไม่ต่ำกว่า 5% แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขาขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการสินเชื่อภาคเอกชนและภาคครัวเรือน และอาจทำให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มความระมัดระวังในการขยายสินเชื่อมากขึ้น ท่ามกลางความเสี่ยงจากหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น

"ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงประเมินในลักษณะที่อนุรักษ์นิยมว่า สินเชื่อดีของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย อาจเพิ่มขึ้นในมูลค่าที่ใกล้เคียงกับที่ทำได้ในปีนี้ หรือคิดเป็นการขยายตัวประมาณ 6.2%"

จากสมมติฐานดังกล่าวและการคาดการณ์ว่าธปท.จะเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่คงจะถูกกดดันให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่อไป และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ต่างชาติที่คงจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน

เมื่อพิจารณาถึงเงื่อนไขด้านแนวโน้มรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ เพื่อประเมินขีดความสามารถในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ไทยพบว่า สินเชื่อดีที่ยังคงเติบโต จะเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อฐานะรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปี 2549 ขณะที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.และธนาคารกลางสหรัฐฯ คงจะช่วยทำให้อัตราผลตอบแทนแท้จริงจากสินทรัพย์สุทธิตลาดเงิน

ส่วนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่สอดคล้องกัน ซึ่งรายได้ดอกเบี้ยต่างๆ ดังกล่าว คงจะช่วยทำให้ธนาคารพาณิชย์ไทยมีความสามารถเพียงพอที่จะรองรับต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 1 ปี มาที่ 3.5% และ 4.25% ในช่วงสิ้นปี 2549 จาก 2.25% และ 3.0% ตามลำดับในช่วงสิ้นปี 2548

สำหรับอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์นั้น อาจได้รับการปรับขึ้นในระหว่างปี 2549 ด้วยขนาด 0.50% มาอยู่ที่ 1.25% ในช่วงสิ้นปี 2549 ได้ โดยที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR อาจขยับขึ้นมาที่ระดับ 8.0% (ซึ่งยังไม่เกิน Nominal GDP ที่น่าจะมีค่าไม่ต่ำกว่า 8% ในปีหน้า) เพื่อที่จะรักษาระดับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิได้ไม่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของปีนี้ที่ประมาณ 1.82 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะสามารถรักษารายได้ดอกเบี้ยสุทธิไม่ให้ต่ำไปกว่าของปีนี้ได้ แต่การรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Spread) อาจเผชิญความยากลำบากมากกว่า เนื่องจากฐานเงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีขนาดใหญ่กว่าฐานสินเชื่อ ทำให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทย มีโอกาสลดต่ำลง โดยเฉพาะเมื่อมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝาก-เงินกู้ทุกประเภทในขนาดเท่าๆ กัน

นอกจากนี้ ในสินเชื่อบางกลุ่ม เช่น เอ็นพีแอล สินเชื่อที่ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ นั้น อัตราผลตอบแทนแท้จริงที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับ อาจไม่ปรับขึ้นตามสัดส่วนเดียวกันกับอัตราดอกเบี้ย MLR ที่ธนาคารพาณิชย์ได้ประกาศปรับขึ้นไปอีกด้วย ขณะที่ภาวะการแข่งขันด้านการขยายสินเชื่อที่มีความรุนแรงขึ้น ย่อมจะทำให้การแข่งขันด้านราคาระหว่างธนาคารพาณิชย์ ทวีความรุนแรงมากขึ้นอีก

กรณีที่ 2: เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าคาด โดยขยายตัวเพียง 4% และการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลงจากปี 2548

กรณีที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ปัญหาราคาน้ำมัน การกลับมาของไข้หวัดนก ฯลฯ จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น ธนาคารพาณิชย์ไทยอาจไม่สามารถรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินให้กู้ยืมที่ปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทางการในช่วงครึ่งแรกของปีได้ เนื่องจากอาจพบว่าการขยายสินเชื่อดีชะลอตัวลงอย่างมาก (โดยสมมติให้เหลือเพียงครึ่งเดียวของในกรณีแรก) จนมีผลกระทบต่อการรักษาความสามารถในการสร้างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิในภาพรวม

ขณะเดียวกัน การชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาจทำให้ธปท.พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปี (อันเป็นจังหวะที่อัตราเงินเฟ้อคงจะปรับตัวลดลงต่ำกว่าช่วงครึ่งปีแรก ตามการเปรียบเทียบกับฐานที่สูงของปี 2548) มาที่ 4.5% ในเดือนธันวาคม 2549 ซึ่งน่าจะเพียงพอในการรักษาเป้าหมายเสถียรภาพเงินเฟ้อไว้ได้ อนึ่ง การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังกล่าว อาจส่งผลตามมาให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมลงในช่วงครึ่งหลังของปีเช่นกัน

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงคาดว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 1 ปี อาจขยับขึ้นได้เพียง 0.25-0.50% จากสิ้นปี 2548 มาที่ประมาณ 2.50% และ 3.50% ตามลำดับในช่วงสิ้นปี 2549 ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ อาจขยับขึ้นได้ 0.25% ในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนที่อาจถูกปรับลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง จนมาอยู่ที่ระดับเดียวกันกับของปี 2548 ที่ 0.75% สำหรับอัตราดอกเบี้ย MLR นั้น คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.25% จากสิ้นปี 2548 มาที่ 7.0%

ที่มา : บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us