Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 ธันวาคม 2545
จี้เลิกสัญญา6พันล. ทศท.เสียเปรียบชัด             
 


   
www resources

โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ทศท คอร์ปอเรชั่น




สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทศท คอร์ปอเรชั่น ยื่นหนังสือต่อ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทศท เลิกสัญญาเช่าโทรศัพท์นอกข่ายสาย WLL มูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท อ้างสัญญาเสียเปรียบ โดยเฉพาะประเด็นต้องติดตั้งอย่างน้อย 80% กล่าวหาสัญญาที่เซ็นสมัยอดีตผู้อำนวยการ ทศท. สุธรรม มลิลา ฝืนมติบอร์ด เอื้อ ประโยชน์เอกชนชัด

นายมิตร เจริญวัลย์ ประธาน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ. ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าสหภาพฯ ทำหนังสือถึงนาย สิทธิชัย ส่งพิริยะกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทศท คอร์ปอเรชั่น เพื่อให้ยกเลิกสัญญาเช่าระบบและอุปกรณ์ โครงการเช่าอุปกรณ์ให้บริการนอกข่ายสายพร้อมบำรุงรักษา (Wireless Local Loop-WLL) ซึ่งนายสุธรรม มลิลา อดีต ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ ปัจจุบันยังเป็นกรรมการบอร์ด ทศท.เป็นผู้ลงนามสัญญากับบริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) จากญี่ปุ่น สหภาพฯ อ้าง ทศท.เสียเปรียบ

สหภาพฯให้เหตุผลว่า ได้รับ การร้องเรียนจากสมาชิกที่ปฏิบัติงานในภูมิภาคว่า ระบบและอุปกรณ์ ดังกล่าว มีปัญหาเกี่ยวกับความถี่ ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้ ประกอบกับสัญญาเช่าระบบและอุปกรณ์เป็นสัญญาที่ทศท.เสียเปรียบ ประเด็นต่อไปนี้

1. ขณะนี้บริษัทยังไม่สามารถ ส่งมอบงาน เพื่อเปิดบริการประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัญหาระบบคลื่นความถี่ ใกล้เคียง กับโครงการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบท

2. ระบบและอุปกรณ์ดังกล่าว ขีดความสามารถส่งและรับได้เพียงระบบเสียงเท่านั้น ไม่สามารถส่งและรับระบบข้อมูล หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

3. เนื่องจากระบบและอุปกรณ์ดังกล่าว ทศท. เช่าเพื่อให้บริการโทรศัพท์นอกข่ายสาย ซึ่ง เป็นพื้นที่นอกเขตเมือง ทศท. ต้องจ่ายค่าเช่าให้เอกชนอัตราเลขหมายละ 685 บาท ขณะที่รายได้ เฉลี่ยต่อเลขหมายเดือนละไม่ถึง 600 บาท ทำให้ค่าเช่าไม่คุ้มทุน

4. การกำหนดจำนวนเลขหมายรวมทั้งระบบ ต้องเปิดบริการไม่น้อยกว่า 80% ของเลขหมายในสัญญา 12 โซนๆ ละ 20,000 เลขหมาย ทศท. จึงจะมีสิทธิบอกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงสัญญาได้ ไม่ทราบว่า ทศท. ระบุในเงื่อนไขก่อน การประมูลหรือไม่ อย่างไร เพราะทศท. เสียเปรียบ ตามสัญญาข้อ 4

สัญญาข้อ 4 ระบุว่า ระยะเวลาการเช่ากำหนด 36 เดือน นับจากวันที่ระบบและอุปกรณ์ ต่างๆ ผ่านการตรวจรับ และเปิดให้บริการเลขหมายนั้น แก่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ ระหว่างอายุสัญญา ทศท. มีสิทธิจะให้ผู้เช่า เพิ่มหรือลดจำนวนระบบและอุปกรณ์ ตามรายละเอียดในสัญญาได้ โดยไม่ต้องบอกเลิก หรือเปลี่ยนแปลง สัญญา ตราบใดที่จำนวนเลขหมายรวมทั้งระบบ ที่เปิดให้บริการ ยังคงไม่น้อยกว่า 80% ของจำนวน เลขหมายในสัญญา"

ฝืนมติบอร์ด ทศท.

แหล่งข่าวคณะกรรมการ ทศท. กล่าวว่าประเด็นนี้ "แปลไทยเป็นไทย หมายความว่า ทศท.ถูกสัญญาบังคับให้ต้องจ่ายเช่าอุปกรณ์จากเอกชนอย่างน้อย 80% ของจำนวนเลขหมาย ซึ่งถือว่าผิดจากมติบอร์ดทศท. ชุดเดิมที่เคยอนุมัติ บอร์ดไม่เคยระบุว่า ต้องจ่ายค่าเช่าอย่างน้อย 80% แต่อนุมัติในหลักการ สิ่งที่นายสุธรรม ทำสัญญากับเอกชน ถือว่าไม่ทำตามที่บอร์ดอนุมัติ ทำให้ ทศท.เสียหาย"

นายมิตรกล่าวว่าประเด็นที่ 5 เป็นประการ สำคัญ คือสัญญาดังกล่าว ทศท. ใช้งบทำการโดยการเช่า แทนการใช้งบลงทุนและสัญญาเช่าดังกล่าว ช่วงนั้น ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากหากเป็นการซื้อหรือเช่าอุปกรณ์จากต่างประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีคมนาคมก่อน

ย้อนปูม WLL ค่า 6 พันล้านบาทฉาว

โครงการ WLL มูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท เกิดขึ้นสมัยนายสมบัติ อุทัยสาง เป็นประธานคณะกรรมการ ทศท. แต่ไม่สามารถทำสำเร็จ เพราะตอนเสนอโครงการ ใช้คำว่า "ให้เช่าโครงข่าย" ซึ่งตามกฎหมาย มีแต่ทศท. มีอำนาจและ สิทธิวางโครงข่ายเท่านั้น เอกชนไม่สามารถสร้างโครงข่ายได้

พอถึงยุคนายศุภชัย พิศิษฐวานิช เป็นประธานคณะกรรมการ ทศท. โครงการนี้จึงถูกปัดฝุ่นใหม่ โดยใช้คำว่า "ให้เช่าอุปกรณ์" ทั้งๆ ที่เป็นการทำงานเชื่อมโยงจุดต่อจุดเหมือนกันทุกอย่าง

โครงการ Wireless Local Loop (WLL) มูลค่าสูงถึง 6,000 ล้านบาท เป็นการต่อสู้ระหว่าง ซัปพลายเออร์ 2 ชาติระหว่างสิงคโปร์กับญี่ปุ่น ผ่านสายสัมพันธ์การเมืองยุคอดีตพรรคความหวังใหม่คุมกระทรวงคมนาคม ก่อนหน้านี้ ที่ดัน กิจการร่วมค้า เจ เอ็ม ที บี จากสิงคโปร์เต็มที่ กับอดีตผู้อำนวยการ ทศท. ที่ถือข้างมิตซูบิชิของ ญี่ปุ่น

แหล่งข่าวกล่าวว่า ตามข้อเสนอ 6 โซนที่สิงคโปร์เสนอผ่านกิจการร่วมค้า เจ เอ็ม ที บี เสนอ 6 โซน ได้แก่ โซน1, 3, 5, 9, 11 และ 12 ใช้เทคโนโลยี DECT โดยเสนออุปกรณ์บริษัท B.BS Access สิงคโปร์ อัตราค่าเช่าถูกกว่าญี่ปุ่น สมควรจะได้ แต่กลับไม่ใช่เช่นนั้น ด้านฝ่ายที่ถือข้างญี่ปุ่น กลับมีอำนาจมากกว่า

นอกจากนี้ WLL เป็นโครงการที่มีความไม่ชอบมาพากลมาก เพราะหากเป็นโครงการที่ ทศท.ตั้งใจดำเนินการเอง มักตั้งเป็นงบลงทุน ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาจากสภาพัฒน์ แต่โครงการนี้ถูกชงจากด้านพ่อค้า ทำให้เป็นงบทำการลักษณะค่าเช่า เพื่อให้อยู่ในอำนาจคณะกรรมการ และผู้บริหาร ทศท.สามารถจัดการได้

อย่างไรก็ตาม การที่ ทศท.จะใช้วิธีการเช่าอัตรา 685 บาท แม้จะเป็นเทคโนโลยีทันสมัย เหมาะกับยุคการแข่งขันเสรี แต่ผู้อำนวยการเขต โทรศัพท์ภูมิภาคทั้ง 20 เขต กลับไม่คิดเช่นนั้น เพราะรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายที่ผู้บริหาร ทศท. มักอ้างว่า สูงกว่า 700 บาท แม้กระทั่งเคยอ้างสูงถึงเลขหมายละ 10,000 กว่าบาท

แหล่งข่าว ทศท. กล่าวอีกว่าตอนที่ น.พ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ตรวจเยี่ยม ทศท. เมื่อถึงประเด็นถามรายได้ต่อเลขหมาย แทนที่ นายสิทธิชัย ส่งพิริยะกิจ กรรมการผู้จัดการ ใหญ่ ทศท. คอร์ปอเรชั่นจะเป็นคนตอบ แต่กลับ เป็นนายสุธรรม ในฐานะกรรมการ ทศท. รีบตอบตัวเลขหมื่นกว่าบาททันที ชนิดที่นายสิทธิชัย ไม่ทันจะอ้าปาก เพราะเกรงว่า หากนายสิทธิชัยตอบตัวเลขจริงต่ำกว่านั้น โครงการนี้จะยิ่งลำบาก

นอกจากค่าเช่าแพงกว่ารายได้ที่จะได้รับ ซึ่งหากนำมาให้บริการ จะสะท้อนการเมินประสิทธิภาพการทำธุรกิจ และการบริหารงาน ที่ ไร้สมรรถภาพ ยังมีเรื่องการกำหนด 12 โซน ดูเหมือนไม่น่าจะมีเหตุผลรองรับ เพราะปัจจุบัน ทศท. แบ่งโทรศัพท์ภูมิภาคตามพื้นที่เป็น 20 เขต

"ครั้งที่บอร์ดยุคนายสมบัติพิจารณาเรื่องนี้ มีรองผู้อำนวยการท่านหนึ่งบอกว่า หากรายได้ที่ ทศท.จะได้ ต่ำกว่าค่าเช่าที่ต้องจ่ายให้บริษัท ก็ไม่น่าจะทำ แต่เมื่อมาถึงบอร์ดนายศุภชัย ทำให้รายได้ต่อเลขหมาย ทศท.เพิ่มขึ้นถึง 700 บาท หรือมากกว่านั้น เพื่อให้ดูสมเหตุสมผล" แหล่งข่าวกล่าว" ยุ่นเชิญเที่ยวญี่ปุ่น

แหล่งข่าวระบุว่า ช่วงธ.ค.นี้ บริษัท มิตซูบิชิ เตรียมเชิญผู้บริหารระดับสูงในภูมิภาคไปญี่ปุ่น โดยอ้างว่า จะพาไปดูเทคโนโลยี ออกค่าใช้จ่ายให้เบ็ดเสร็จ แต่แหล่งข่าวกล่าวว่าความจริง ต้องถือว่าเป็นเงิน ทศท.หรือเงินภาษีอากรของชาติ เพราะราคาค่าเช่า บวกค่าใช้จ่ายทำนองนี้เข้าไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us