Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 พฤศจิกายน 2548
ชินแซทฯเปิดแผนไทยคม 5 ลุยทีวีดาวเทียมรองรับกสช.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ชินแซทเทลไลท์

   
search resources

ชินแซทเทลไลท์, บมจ.
Telecommunications




เปิดแผนไทยคม 5 รุกธุรกิจแพร่ภาพทีวีดาวเทียมรองรับไลเซนส์ใหม่ของ กสช. ส่วนไอพีสตาร์โชคดีหลายต่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนอุปกรณ์ภาคพื้นดินถูกลง ดาวเทียมมีอายุการใช้งานนานขึ้น และปลอดดาวเทียมคู่แข่งอย่างน้อย 3 ปี ส่วนผลประกอบการไตรมาส 3 มีรายได้ รวมจากการขายและบริการ 1,398 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 145 ล้านบาท

นายปฐมภพ สุวรรณศิริ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักการตลาด บริษัท ชินแซทเทลไลท์ กล่าวว่าดาวเทียมไทยคม 5 ที่จะถูกยิงขึ้นห้วงอวกาศภายในกลางปีหน้า มีแผนไว้รองรับบริการด้านการกระจายสัญญาณภาพ หรือ Video Business ซึ่งปัจจุบันตลาดยังมีการเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะช่องสัญญาณเคยูแบนด์ของไทยคม 5 ทั้งหมด 14 ทรานสปอนเดอร์ บริษัท ยูบีซี ได้มีสัญญาเช่าแล้ว 7 ทรานสปอนเดอร์ ซึ่ง 1 ทรานสปอนเดอร์จะสามารถให้บริการช่องทีวีได้ 12 ช่อง ส่วนที่เหลืออีก 7 ทรานสปอนเดอร์จะรองรับการให้บริการในประเทศไทย 4 ทรานสปอนเดอร์ และอีก 3 ทรานสปอนเดอร์ที่เหลือจะรองรับประเทศในอินโดจีน

"ปัจจุบันจำนวนช่องเปย์ทีวีบนดาวเทียมของ ประเทศเราต่ำกว่ามาตรฐานมาก ซึ่งการมี กสช. จะทำให้ตลาดมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก จากการให้ไลเซนส์ใหม่"

เดิมชินแซทฯคาดว่าหลังจากที่ดาวเทียมไทย คม 4 หรือไอพีสตาร์เริ่มให้บริการ ดาวเทียมไทยคมที่ให้บริการในปัจจุบันจะทรงตัวหรือลดความสำคัญลง แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ โดยเฉพาะบริการด้าน แพร่ภาพ หรือ Broadcast กลับเติบโตขึ้นมาก โดยเฉพาะตลาดใหม่ๆ ในประเทศปากีสถาน ซึ่งมีการใช้งานมากกว่า 10 ช่องสัญญาณ ซึ่งกลยุทธ์ของการทำตลาดไทยคม ในภาวะที่มีการไหลลงของค่าเช่าช่องสัญญาณเคยูแบนด์ คือการขายแบบเทิร์นคีย์ ลูกค้ามีเฉพาะคอนเทนต์หรือเนื้อหา หลังจากนั้นชินแซทฯจะพร้อมให้บริการทั้งการอัปลิงก์ ดาวน์ลิงก์ เช่าช่องสัญญาณ มีสตูดิโอพร้อมบริการ ซึ่งการขายแบบนี้จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องแข่งขัน ด้านราคากับดาวเทียมดวงอื่น

"เราจะยึดคอนเซ็ปต์ฮอตเบิร์ด หรือการทำ ให้มีช่องทีวีจำนวนมากบนดาวเทียมไทยคม ไม่ว่าจะเป็นจีน ไทย อินโดจีน ปากีสถาน บังกลาเทศ หรือเนปาล เพื่อทำให้ไทยคมได้รับความนิยมและมีช่องให้มากที่สุดในเอเชีย"

สำหรับไอพีสตาร์นั้นจะเริ่มให้บริการ 5 ประเทศจากทั้งหมด 14 ประเทศภายในปีนี้ เริ่มจาก ไทย ปลายเดือน ต.ค., เวียดนาม ต้นเดือนพ.ย. ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ภายในสัปดาห์นี้ และพม่าภายในสิ้นปี ซึ่งการสร้างรายได้ของไอพีสตาร์ไม่ได้ อยู่ที่การขายวงจรหรือแบนด์วิดท์อย่างเดียว แต่อุปกรณ์ปลายทางหรือเทอร์มินอลจะเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญ ประมาณว่าไอพีสตาร์จะรองรับ การใช้งานประมาณ 4-5 ล้านราย หรือ 4-5 ล้านเทอร์มินอล ปัจจุบันเทอร์มินอลราคาชุดละ 1 พันเหรียญ หมายถึงหากมีการใช้งานไอพีสตาร์เต็มความสามารถ ชินแซทฯก็จะมีรายได้จากการขายเทอร์มินอล 4-5 พันล้านเหรียญ

ปัจจุบันไอพีสตาร์ขายเทอร์มินอลไปแล้วประมาณ 3 หมื่นชุด และทีโอทีมีแผนที่จะซื้ออีก 1 หมื่นชุด แต่หากดูจากสัญญาการเป็น USO หากคิดเป็นการให้บริการในลักษณะรีเทลบิซิเนส ทีโอทีจะต้องซื้อเทอร์มินอลประมาณ 1.5 แสนชุด ซึ่งคิดเป็น 50% ของคาปาซิตี้ในประเทศไทย

นอกจากนี้ ไอพีสตาร์อยู่ระหว่างทบทวนการตัดค่าเสื่อมราคา หลังจากที่พบว่าเชื้อเพลิงที่เดิมคาดว่าจะทำให้ดาวเทียมมีอายุการใช้งาน 12 ปี เพิ่มขึ้นกลายเป็น 16 ปี ทำให้หลังจากที่บริษัท ทีโอที รับมอบไอพีสตาร์ในฐานะผู้ให้บริการหลัก หรือ NSO (National Service Provider) ก็จะทำให้การตัดค่าเสื่อมยืดเวลาออกไปอีก 4 ปีจากมูลค่าดาวเทียม 400 ล้านเหรียญ ซึ่งจะทำให้ผลประกอบการไอพีสตาร์ดีกว่าที่คาดไว้ นอกจากนี้ ในส่วนของชิปที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในอุปกรณ์ภาคพื้นดินไอพีสตาร์ ยังมีการปรับลดราคาลงซึ่งส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตถูกลง ซึ่งทั้งหมดถือเป็นข่าวดีของไอพีสตาร์

ด้านการแข่งขันถึงแม้ไทยคมจะมีคู่แข่งหลาย ราย และประเทศไทยถือว่าเปิดเสรีดาวเทียมตั้งแต่ปี 1999 องค์กรไหนอยากใช้ดาวเทียมดวงไหนก็สามารถเลือกใช้ได้ ซึ่งถือว่าไม่มีผลกระทบต่อชินแซทฯที่ถือว่าตลาดหลักอยู่ต่างประเทศ ในขณะที่ไอพีสตาร์ถือว่าไม่มีคู่แข่งจากเทคโนโลยีที่แตกต่างจากดาวเทียมดวงอื่นในภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นหากใครต้องการสร้างดาวเทียมเหมือน ไอพีสตาร์ที่เป็น Broadband Satellite จะต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี ก็หมาย ถึงไอพีสตาร์กินตลาด ไปเรียบร้อยและมีความแข็งแกร่งมากแล้ว
ด้านนายธนฑิต เจริญจันทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนการเงินและการบัญชี ชินแซทฯกล่าวถึงผลประกอบการไตรมาส 3 ว่าชินแซทฯ มีรายได้จากการให้เช่าช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคมเป็นเงินทั้งสิ้น 641 ล้านบาท และบริการไอพีสตาร์ 231 ล้านบาท ซึ่งไตรมาสที่ 3/2548 นี้รายได้จากไอพี สตาร์เพิ่มขึ้น 183 ล้านบาท หรือ 381.3% จาก 48 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ส่วนรายได้ จากธุรกิจอินเทอร์เน็ตในไตรมาสที่ 3/2548 มีจำนวน 15 ล้านบาท ลดลงจาก 18 ล้านบาทในไตรมาสที่ 3/2547 และไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน

ในไตรมาสที่ 3/2548 รายได้จากธุรกิจในกัมพูชาและลาวเพิ่มขึ้น 30% เป็น 511 ล้านบาท จาก 393 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่อง จากมีจำนวนผู้ใช้บริการในระบบพรีเพดเพิ่มขึ้นอย่างมากในทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ ซึ่งชินแซทฯถือหุ้นจำนวน 40% ได้จ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 จำนวน 93 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us